“สมศักดิ์” มอบหมายงาน “เดชอิศม์” รมช.สาธารณสุข ดูแล 7 หน่วยงาน พร้อมต้องทำบัญชีสรุปสาระสำคัญนำเสนอรมว.สาธารณสุข เพื่อทราบทุก 30 วัน ยกเว้นกรณีเร่งด่วนให้รายงานทันที
หลังจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่ตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ คือ นายเดชอิศม์ ขาวทอง รมช.สาธารณสุข โดยได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา และให้สัมภาษณ์พร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ในใจเตรียมเดินหน้างานสาธารณสุขจำนวนมาก โดยเฉพาะการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ระหว่างนี้ขอรอการมอบหมายงานจากรมว.สาธารณสุขก่อนนั้น
(ข่าว : “เดชอิศม์” อ้อนขรก. หลังรับตำแหน่งรมช.สธ. ชี้เป็นคนน่ารัก ไม่น่ากลัว พร้อมเคลื่อนงาน รพ.สต.)
ล่าสุดวันที่ 16 กันยายน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1490/2567 เรื่องมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ใจความสำคัญ 1.มอบอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัต การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารรสุขจพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติครม. ให้รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในงานราชการของ กรม ส่วนราชการ หน่วยงานและองค์การมหาชน ในกำกับของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
1.กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2.กรมอนามัย
3.สถาบันพระบรมราชชนก(สบช.)
4.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)
5.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(สรพ.)
6.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน)
7.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ทั้งนี้ยกเว้นกรณีการนำเสนอรายชื่อบุคคล หรือคณะกรรมการใด เพื่อเสนอครม. เพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องตามที่กฎหมายของส่วนราชการนั้นๆ บัญญัติให้ต้องดำเนินการเพิ่มเสนอครม.
มอบอำนาจด้านรัฐสภา ตอบกระทู้
2.มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการด้านรัฐสภา เกี่ยวกับการตอบกระทู้ถาม ญัตติ การชี้แจงร่างพ.ร.บ. และการปฏิบัติราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข หรือที่ได้รับมอบหมาย
3.มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการพิจารณาดำเนินการด้านคดี ดังนี้
3.1 มอบอำนาจในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การดำเนินคดีแพ่ง อาญา และล้มละลาย การแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดี ตลอดจนดำเนินการในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ศาล และการบังคับคดี แล้วแต่กรณีจนเสร็จการ เช่น แจ้งความร้องทุกข์หรือถอนคำร้องทุกข์ การโต้แย้งสิทธิ การขับไล่ ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย ค่าดอกเบี้ย ค่าทนายความ การรับเงินใดๆทั้งในศาล นอกศาล หรือจากการบังคับคดี การยึดทรัพย์ การขออายัดทรัพย์ การร้องยึดทรัพย์ การจำหน่ายสิทธิ การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละข้อต่อสู้การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา
หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ในนามกระทรวงสาธารณสุข และในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาธารณสุข และการมอบอำนาจให้กระทำการใดๆ จนเสร็จการ ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้ถ้อยคำ การลงชื่อในเอกสาร การส่งให้หรือรับสิ่งของหรือเอกสาร
3.2 ดำเนินการด้านคดีปกครองในนามกระทรวงสาธารณสุข และในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
(1) ลงนามในใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลปกครอง
(2) ลงนามในใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดี ดำเนินการคดีปกครองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลปกครอง
(3) ลงนามในคำฟ้อง คำให้การ คำคัดค้านคำให้การ คำให้การเพิ่มเติม และคำชี้แจงในคดีปกครองและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลปกครอง
(4) ลงนามในคำอุทธรณ์ คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ และคำคัดค้านคำแก้อุทธรณ์ในคดีปกครองและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลปกครอง
ทั้งนี้ ให้ผู้ดำเนินการฟ้องคดีหรือในการดำเนินคดีปกครองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลปกครองดังกล่าว ดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทุกขั้นตอนจนเสร็จการ ทั้งในศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด และให้รวมถึงการจำหน่ายสิทธิ การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ และการสละข้อต่อสู้ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ในนามกระทรวงสาธารณสุข การบังคับคดี การรับเงินใดๆ ทั้งในศาลหรือจากการบังคับคดีด้วย
4. มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับด้านการบริหารบริหารในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งหรือคำสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์และตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่และที่เพิ่มเพิ่มเติม
อำนาจไม่ครอบคลุม ดังต่อไปนี้
5. การมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ไม่ครอบคลุมถึงกรณีดังต่อไปนี้
5.1 เรื่องที่เป็นนโยบาย
5.2 เรื่องที่กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
5.3 เรื่องที่ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้
5.4 เรื่องที่กำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐมตรีว่ากาการกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะ
5.5 เรื่องที่เป็นการเสนอนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
5.6 พิจารณาสั่งการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และขอความเป็นธรม
6. การมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ไม่เป็นการตัดอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่จะสั่งการใดๆ ด้วยตนเองตามอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฎหมายทุกฉบับ
7.เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ปฏิบัติราชการที่ได้รบมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ไปแล้ว ให้ทำบัญชีสรุปสาระสำคัญนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทราบทุก 30 วัน ยกเว้นกรณีเป็นเรื่องเร่งด่วนให้รายงานทันที
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
- 13407 views