เครือข่ายเภสัชกร ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ รมว.สาธารณสุข สส. ชี้แจงข้อเท็จจริง และขอคัดค้านการนำเสนอข้อมูลอภิปรายที่คลาดเคลื่อน ปมสส.เพื่อไทย อภิปรายกลางสภาฯ ระบุผลกระทบจากการใช้พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรมฯ ทำร้านยาปิดตัว ทั้งที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ขณะที่สมาคมร้านขายยา ออกแถลงการณ์เช่นกัน

 

ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงเภสัชกรรม โดยมีการแชร์กันในโซเชียลมีเดียว กรณีนายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครสวรรค์เขต 2 พรรคเพื่อไทย  กล่าวในการประชุมสภา ฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา  ถึงผลกระทบจากการใช้พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 ทำให้ร้านยาปิดตัวลง เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามให้เภสัชกรประจำร้านยาตลอดเวลา โดยระบุว่าได้รับหนังสือจากสมาคมร้านขายยา กระทั่งสมาคมฯ ออกแถลงการณ์ ขณะที่สภาเภสัชกรรมให้ข้อมูลกรณีสส.เพื่อไทย น่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวันที่ 26 กรกฎาคม ทางเภสัชกรที่เกี่ยวข้องได้ออกมาเคลื่อนไหวดังกล่าว ทั้งในส่วนของสภาเภสัชกรรม และสมาคมร้านขายยา รวมถึงกลุ่มมงคลนามเภสัชกรรมและเครือข่ายเภสัชกร

ทั้งนี้ กลุ่มมงคลนามเภสัชกรรมและเครือข่ายเภสัชกร ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร(ทำหน้าที่ประธานการประชุม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนและประชาชนชาวไทย ชี้แจงข้อเท็จจริง และขอคัดค้านการนำเสนอข้อมูลอภิปรายที่คลาดเคลื่อน

โดยระบุว่า จากข้อมูลปรากฎทางสื่อกรณีการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ระหว่างเวลา 09.44 – 09.47 น. ประเด็นการให้บริการร้านยาของเภสัชกรตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537

กลุ่มมงคลนามเภสัชกรรมและเครือข่ายเภสัชกร มีความห่วงใยการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน แก่สังคม สร้างความเข้าใจผิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในการรับบริการทางเภสัชกรรม  จึงทำจดหมายเปิดผนึก ขอชี้แจงข้อเท็จจริงและขอคัดค้านการนำเสนอข้อมูลอภิปรายที่คลาดเคลื่อนนี้ เพื่อธำรงไว้ซึ่งประโยชน์ต่อระบบยาและสาธารณสุขของประเทศไทยต่อไป รายละเอียด คือ

1.จำนวนร้านยาแผนปัจจุบัน หรือ ขย.1 มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและไม่ได้ปิดตัวลงเพราะเภสัชกรถอนตัว ด้วยเหตุกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรม โดยปรากฎข้อมุลจำนวนร้านยา ดังนี้

ปี 2565 มีร้านยาจำนวน 16,069 แห่ง

ปี 2566 มีร้านยาจำนวน 17,971 แห่ง

ปี 2567 มีร้านขาจำนวน 19,126 แห่ง

(ข้อมูลกองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

ดังนั้น ข้อกล่าวอ้าง เภสัชกรจำนวนมากถอนตัวไม่อยู่ร้านยา จนเป็นเหตุให้ร้านยาปิดตัวลงจำนวนมาก จึงไม่ตรงกับความจริง

2. ยาที่อ้างถึงดังกล่าวมีบริการในร้านยาแผนปัจจุบัน ( ขย.1) 19,126 แห่ง ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงยาที่อ้างได้ ไม่ตรงกับความจริง

3. ให้อบรมคนมาส่งมอบยาแทนเภสัชกร โดยผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล Telepharmacy

ซึ่งประเด็น Telephammcy นั้นประเทศทีให้บริการระบบเภสัชกรรมทางไกล Telepharmacy โดยหลักการ มีเงื่อนไขสำคัญ

- Retain Pharmacy services in communities that are located in remote medically

under-served area or rural communities (ขาดแคลนเภสัชกร)

- ให้บริการผ่าน computer, video and audio link โดยเภสัชกรทำหน้าที่ verifcation of

prescription, medication review and patient education/counselling และผ่ ส งมอบ

ยา คือ pharmacy technician ซึ่ งผ่าน training programs ของ pharmacy technician

school หรือ college ที่มีหน้าที่และเมื่อได้รับ pharmacy technician certification แล้ว ก็

ไปสอบรับ icense จึงจะทำงานได้ คนไข้ต้องรับยาที่ร้านยาในพื้นที่ห่างไกล (ขาดแคลน

เภสัชกร) กับตัว pharmacy technician

- จำกัดรายการยาบางประเภทไม่ให้ทำ Telepharmacy เช่น สิงคโปรให้ทำ Telepharmacy lu

ร้านยา เมื่อเภสัชกรไม่อยู่ ด้วยเหตุจำเป็นต่างๆ เช่น พักเที่ยง ตอนค่ำๆ ที่เภสัชกรกลับที่พัก

แล้ว วันหยุดสุดสัปดาห์หรือต้องไปประชุม ฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มเติม โดยเภสัชกรผู้

ให้บริการ Telepharmacy จะอยู่ร้านยาอีกแห่ง (ร้านต้องได้รับอนุญาตให้ทำ Telepharmacy

ถูกตรวจสอบโดย pharmacy auditors ทั้ง pre- and post-licensing audits) ซึ่งต้องมี

เภสัชกรทำงานไม่น้อยกว่า 35 ชัวโมงต่อสัปดาห์ ผู้ส่งมอบยา ต้องเป็น pharmacy technician

หรือ pre-recistration pharmacist (จบเภสัชศาสตร์ รอสอบรับใบประกอบวิชาชีพ)

 

กรณีประเทศไทย มีระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ซึ่งจะตรงกับ mail-order phannaciesของอเมริกา 

ที่ให้บริการทหารผ่านศึกผู้พิการและข้าราชการเกษียณผู้สูงอายุซึ่งเดินทางไม่สะดวก ดังนั้นการให้บริการ

เภสัชกรรมทางไกล Telepharmacy ของผู้อภิปรายจึงเข้าใจคลาดเคลื่อนตามหลักวิชาการสำหรับการ

ให้บริการที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้ป่วย

 

 

 

ขณะที่ก่อนหน้านี้ สมาคมร้านขายยา ได้ออกแถลงการณ์เช่นกัน (ข่าว :สมาคมร้านขายยา ออกแถลงการณ์โต้ 'สส.เพื่อไทย' เปิดข้อมูลทำเข้าใจคลาดเคลื่อนกลางประชุมสภา)

และสภาเภสัชกรรมก็ให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สังคมเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง

(ข่าว : สภาเภสัชกรรม แจงกรณี สส.เพื่อไทย อภิปรายประชุมสภา ปม “เภสัชกร” ประจำร้านขายยา)