กรมอนามัย จับมือ กรมควบคุมมลพิษและภาคีเครือข่าย ลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรม ตามพันธกรณีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท

 

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  ที่เซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ  พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย น.ส.ปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ รศ.ทพ.ประทีป พันธุมวนิช องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย  รศ.ทพญ.นิรดา ธเนศวร ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  และ ทพ.กฤษฎา ทิรานนท์ สมาคมทันตแพทย์เอกชนแห่งประเทศไทย แถลงข่าวความร่วมมือ "โครงการเร่งรัดการดำเนินงานลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรมและเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท"

ลดการใช้วัสดุอุดฟันอะมัลกัมที่ใช้ในทางทันตกรรม 5 มาตรการ

พญ.อัจฉรากล่าวว่า ประเทศไทยเข้าร่วม "อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท" ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2560 อนุสัญญานี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากญี่ปุ่นพบผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากจากสารปรอท ทำให้เกิดโรคมินามาตะ ซึ่งสารปรอทมีทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงวัสดุอุดฟันอะมัลกัมที่ใช้ในทางทันตกรรมก็มีสารปรอทอยู่ ซึ่งบทบัญญัติสำคัญหนึ่งของอนุสัญญาฯ คือ ดำเนินมาตรการลดการใช้อะมัลกัมทางทัตกรรม 2 มาตรการหรือมากกว่า จากที่มีทั้งหมด 9 มาตรการ ปัจจุบันประเทศไทยด้วยความร่วมมือของกรมอนามัยและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการลดการใช้อะมัลกัมแล้ว 5 มาตรการ ได้แก่

 

มาตรการที่ 1

กำหนดวัตถุประสงค์ระดับชาติเพื่อป้องกันฟันผุ และสนับสนุนการสร้างทันตสุขภาพที่ดี เพื่อลดความต้องการบูรณะฟัน ผ่านโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพทุกกลุ่มวัย

 

มาตรการที่ 3

ส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือกที่ไม่มีปรอทในการบูรณะฟัน ที่มีความคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพทางคลินิก เช่น บูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART

 

มาตรการที่ 5

สนับสนุนองค์กรทางวิชาชีพด้านทันตกรรมและสถาบันการศึกษาด้านทันตกรรม เพื่อการศึษาและอบรมทันตแพทย์และนักศึกษาทัตแพทย์ในการใช้วัสดุทางเลือกที่ปราศจากปรอท

 

มาตรการที่ 8

จำกัดการใช้อะมัลกัมในรูปแบบแคปซูล โดย อย.ออกมาตรการที่มีผลทางกฎหมาย ในการยกเลิกการผลิต นำเข้า และส่งออกอะมัลกัมชนิดเม็ดในประเทศไทย

 

มาตรการที่ 9

สนับสนุนการใช้แนวปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมในสถานบริการทันตกรรม เพื่อลดการปล่อยสารปรอทลงสู่น้ำและดิน ผ่านการพัฒนาคู่มือการจัดการขยะติดเชื้อและขยะปนเปื้อนปรอทจากคลินิกทันตกรรม เพื่อเป้นแนวปฏิบัติให้ทันตบุคลากร

 

"จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศภาคีที่องค์การอนามัยโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เห็นถึงศักยภาพและเป็นประเทศต้นแบบเร่งรัดดำเนินการลดการใช้วัสดุอุดฟันอะมัลกัม และเพื่อเพื่อให้บรรลุอนุสัญญาฯ ปี 2567 สำนักทันตสาธารณสุขกำหนดกิจกรรมสำคัญ คือ 1.พัฒนามาตรการลดการใช้อะมัลกัมทุกกลุ่มวัย เน้นกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา 2.พัฒนากลไกจัดการขยะอะมัลกัมจากคลินิกทันตกรรม ร่วมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ได้แก่ อปท. และเอกชนที่รับกำจัดขยะอันตราย และ 3.พัฒนาคลินิกทันตกรรมต้นแบบลดการใช้อะมัลกัม ส่งเสริมการใช้วัสดุอุดฟันทางเลือก และจัดการขยะอัมัลกัมให้เหมาะสมกับสิ่งวแลด้ม จะช่วยลดการปนเปื้อนสารปรอททางสิ่งแวดล้อมจากงานทันตกรรมได้" พญ.อัจฉรากล่าว

น.ส.ปรีญาพรกล่าวว่า คณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ มีหลายหน่วยงานเข้าร่วม มีการดำเนินงานดังนี้ 1.พัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการผลิต นำเข้า และส่งออกปรอมและสารประกอบปรอท รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทและเพื่อห้ามมิให้บางกระบวนการผลิตมีการใช้ปรอทหรือสารประกอบปรอท รวมไปถึงการทำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้านและขนาดเล็ก  2.ปรับค่ามาตรฐานหรือเพิ่มมาตรการเพื่อควบคุมการปลดปล่อยปรอทสู่อากาศ และการปล่อยปรอทสู่ดินและน้ำ จากแหล่งกำเนิดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพื้นที่ปนเปื้อนปรอท  3.เสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถภาาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถจัดการปรอทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการจัดประชุมชี้แจงและสัมมนา และ 4.เผยแพร่ข้อมูลด้านเทคนิควิชาการที่เกี่ยวข้อง

 

รศ.ทพ.ประทีปกล่าวว่า ตั้งแต่เข้าร่วมอนุสัยญามินามาตะฯ องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งเราคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้งรัฐและเอกชนรวม 18 แห่ง จึงดำเนินการตามมาตรการที่ 5 ในการใช้วัสดุทางเลือกที่ปราศจากปรอท ร่วมกับทันตแพทยสภาในการยกเลิกการสอบการบูรณะฟันด้วยวัสดุอุดฟันอะมัลกัม และยกเลิกการสอบขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก หัวข้อการบูรณะฟันน้ำนมด้วยวัสดุอุดฟันอะมัลกัม ในฐานะภาคการศึกษายินดีสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุอนุสัยญาฯ ด้วยการส่งเสริมศึกษาวิจัยพัฒนาวัสดุทางเลือกที่ปราศจากปรอทในการบูรณะฟันและผลักดันการใช้วัสดุทดแทน เผยแพร่หลักสูตร

 

ทันตแพทยสมาคมฯ เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ผลกระทบของการใช้อะมัลกัม

รศ.ทพญ.นิรดา กล่าวว่า ทันตแพทยสมาคมฯ จัดทำข้อสรุปทางวิชาการเรื่องผลกระทบของการใช้อะมัลกัมที่มีผลต่อสุขภาพและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุทางเลือก เมื่อปี 2562 และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของทันตแพทยสมาคมฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ทันตแพทย์และประชาชน เกี่ยวกับการใช้วัสดุอะมัลกัมในการบูรณะฟัน ที่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อสุขภาพหรือผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ทางร่างกายต่อผู้ป่วยและทันตบุคลากร ทันตแพทยสมาคมฯ จะเป็นหน่วยงานกลางส่งเสริมความรู้และวิทยาการด้านทันตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย วิจัยด้านทันตแพทยศษสตร์ เกี่ยวกับวัสดุทางเลือกที่ปราศจากสารปรอท ส่งเสริมพัฒนาการประกอบวิชาชีพทางทันตแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ทันตแพทย์หันใช้วัสดุสีเหมือนฟันแทนอะมัลกัม

ทพ.กฤษฎากล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนให้ความสำคัญบูรณะฟันเพื่อความสวยงามมากขึ้น ความต้องการใช้อะมัลกัมบูรณะฟันลดลง และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้านทันตกรรม วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันได้รับการพัฒนาความแข็งแรงมาอย่างต่อเนื่องตลอด 60 ปีที่มีการค้นพบวัสดุชนิดนี้และราคาไม่แตกต่างจากอะมัลกัมมากนัก ส่งผลให้ทันตแพทย์พิจารณาบูรณะฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันแทนอะมัลกัมมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องใช้การอุดฟันด้วยอะมัลกัม เช่น ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณะฟัน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการเกิดฟันผุสูง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมน้ำลายระหว่างบูรณะฟัน หรือผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาทันตกรรม สมาคมทันตแพทย์เอกชนฯ พร้อมสนับสนุนโครงการนี้ในการสื่อสารทันตแพทย์เอกชนให้ตระหนักผลกระทบสารปรอทในสัดุอุดฟันอะมัลกัม สนับสนุนให้ลดการใช้วัดุอุดฟันอะมัลกัมให้น้อยที่สุดหรือจำเป็นเท่านั้น พร้อมคัดแยกกากอะมัลกัมจากการบูรณะฟันตามแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อและขยะปนเปื้อนปรอทจากคลินิกทันตกรราม เพื่อลดการปนเปื้อนในดินและน้ำ จะส่งผลดีต่อระบบนิเวศต่อไป

สารปรอทในอะมัลกัม ผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

ถามว่าสารปรอทในอะมัลกัมจะมีผลกระทบเฉพาะในขั้นตอนใดของการทำทันตกรรม รศ.ทพ.ประทีปกล่าวว่า มี 3 ขั้นตอน คือ 1.ตอนผสม ถ้าเป็นอะมัลกัมที่ไม่ใช่แคปซูล ทำให้ปรอทระเหิดอยู่ในอากาศ ตอนนั้นจะอันตรายต่อทันแพทย์ ผู้ช่วยและคนไข้  2.เมื่อใช้ไปแล้ว พออยากจะรื้อออก มีความร้อนในการรื้อจะมีปรอทระเหิดออกมาได้ และ 3.ที่อันตรายกว่านั้นมีการพบในบางประเทศ คือ พบว่าอะมัลกัมในฟันคนที่เสียชีวิตแล้วไปเผาทำให้สารปรอทในอะมัลกัมระเหิดในอากาศได้ จึงพยายามลดการใช้อะมัลกัม

 

พญ.อัจฉรากล่าวว่า ถ้าอยู่ในแคปซูลที่ทันตแพทย์ใช้อยู่ไม่อันตราย แต่เมื่อไรที่มีการทำลายหรือกำจัดเป็นของเสีย จะเป็นขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีการกำจัดให้ดี แต่การกำจัดอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ประชาชนมั่นใจหรือปลอดภัยได้ แต่ต้องลดการใช้ ซึ่งทุกวันนี้มีการใช้น้อยลงเพราะมีวัสดุอื่นมาทดแทน

 

ถามย้ำว่าคนไข้จะได้รับอันตรายจากสารปรอทในวัสดุอุดฟันอะมัลกัมด้วยหรือไม่  รศ.ทพ.ประทีปกล่าวว่า สารปรอทในอะมัลกัมจากอุดฟันไม่ได้ออกมา ยกเว้นการรื้อถึงจะมีปรอทออกมา ดังนั้น คนที่มีอะมัลกัมอุดฟันอยู่ไม่จำเป็นต้องรื้อออก แต่รายใหม่ที่ฟันผุไม่จำเป็นต้องอุดฟันด้วยอะมัลกัม สามารถใช้วัสดุทดแทนได้

 

ถามว่ายังมีกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้อะมัลกัม รศ.ทพ.ประทีป กล่าวว่า อะมัลกัมเป็นวัดุที่แข็งมาก ไม่กลัวน้ำลายเวลาอุดฟัน จะไม่เสียง่าย สมัยก่อนเชื่อว่าวัสดุที่มีอยู่บางตัวไม่สามารถใช้ได้ แต่ปัจจุบันมีการวิจัยพัฒนามากขึ้น ในประเทศไทยก็มีการทำในโรงเรียนทันตแพทย์หลายแห่ง ก็สามารถพัฒนาวัสดุที่อุดฟันขณะมีน้ำลายมากก็ทำได้เหมือนกัน มีวัสดุทดแทนที่ใกล้เคียงอะมัลกัมมากขึ้น แต่ไม่ปล่อยสารปรอทในสิ่งแวดล้อมก้จะปลอดภัยมากขึ้น

 

ปัจจุบันใช้วัสดุอะมัลกัมน้อยลง

 

ถามว่าปัจจุบันยังมีการใช้วัสดุอะมัลกัมมากน้อยแค่ไหน  รศ.ทพ.ประทีปกล่าวว่า ทุกวันนี้มีการใช้น้อยลงมากแล้ว คนรุ่นใหม่จะไม่เจออะมัลกัมเท่าไร อย่างเอกนก็ไม่ใช้เลย ส่วนราชการบางแห่งหาว่าอะมัลกัมถูกกว่าวัสดุทางเลือก เลยซื้ออย่างถูกมาทำ ซึ่งไม่ควรเอาเรื่องเงินมาเป็นหลักการ ซึ่งปัจจุบันวัสดุทดแทนก็อยู่ในสิทธิเบิกจ่ายก็ควรจะต้องเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทน แต่หากเทียบแล้วการอุดด้วยอะมัลกัมทำง่ายกว่า วัสดุทางเลือกทำให้ดีจะยากกว่า ทางคณะทันตแพทย์ทั้งหมดก็ไม่ให้สอนหรือสอบเรื่องวัสดุอะมัลกัม