ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

9 หน่วยงาน ชูการขับเคลื่อนใช้ “รถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น” เน้นบริการเชิงรุก โดยเฉพาะผู้สูงวัย-กลุ่มเปราะบางพื้นที่ห่างไกล หวังเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น พร้อมหนุนการเพิ่มบุคลากรทันตแพทย์ในระดับท้องถิ่น ทั้งสังกัดสธ. และ อบจ.

เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 67 ผศ.ทพ.ดร.สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา กล่าวภายในงานเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น ร่วมกับอีก 9 หน่วยงาน ว่า เป็นโอกาสดีที่ได้มาร่วมโครงการเดียวกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการลงนามข้อตกลงครั้งนี้ เพื่อพัฒนาการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่นมีความสำคัญคือการพัฒนาบริการทันตกรรมโดยลดทันตกรรมเคลื่อนที่ ถ้ามองถึงเรื่องคลินิกทันตกรรมทั่วไปดั้งเดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่กับที่ตั้งที่ใดคือที่นั่งไม่ว่าจะเป็นหากภาพลักษณ์หรือศูนย์คลินิกทันตกรรมผู้ป่วยต้องมีเวลาเข้ามาคลินิกเพื่อจะได้รับการบริการแต่ถ้ามองในเชิงรุก เราน่าจะเดินทางไปหาผู้ป่วย เพราะฉะนั้นคนที่ได้อานิสงส์มากที่สุดคือผู้ป่วยที่ไม่มีเวลาเพียงพอ ไม่สามารถมาหาทันตแพทย์ได้ คนเหล่านี้เป็นคนด้อยโอกาสเป็นผู้ป่วยพิเศษหรือเป็นผู้ป่วยเปราะบางที่เราควรจะให้ความเท่าเทียมในด้านการบริการทางด้านทันตกรรม"

ฉะนั้นจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไม่ได้โดยเฉพาะผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ป่วยเปราะบางที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพตัวเองได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่การพัฒนาระบบทันตกรรมเคลื่อนที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลและไม่สามารถไปถึง  จึงเป็นความสำคัญอันที่สองว่าขับเคลื่อนบริการทันตกรรมโดยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ในระดับท้องถิ่น คือมีมาตรมาตรฐานนวัตกรรมความรู้ทางวิชาการที่ช่วยเหลือ แต่จะทำให้เกิดจริงและดันให้สุดทาง จึงต้องมีองค์กรต่างๆไม่ว่าจะ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมองค์กรบริหารส่วนจังหวัด แห่งประเทศไทยสมาคมองค์การส่วนตำบลแห่งประเทศไทย อื่นๆ 

"เนื่องจากประเทศไทยมีประเด็นปัญหาว่าผลิตทันตแพทย์เท่าไหร่ส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ในขณะที่ประชาชนบางคนยังไม่ได้รับความเท่าเทียมในการให้บริการประกอบกับการที่น่ากลัวที่สุดคือ การเข้าถึงบริการของคนไทยต่ำมากจนเป็นเหตุให้ สปสช. หาทางช่วยว่าทำยังไงให้มีการเข้าถึงการบริการของทันตกรรม"

ด้านนพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า การพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น นับเป็นประเด็นสำคัญและเป็นเรื่องใหม่สำหรับท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ดังนั้น ความท้าทายของเรื่องนี้จึงมีหลายประเด็น เช่น ความพร้อมของท้องถิ่นทั้งงบประมาณและกำลังคนด้านทันตบุคลากร การสำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์ที่นับเป็นความท้าทายและโอกาสสำคัญในการส่งเสริมและให้อำนาจของท้องถิ่นได้มีบทบาทในการบริหารจัดการปัญหาสุขภาพของพื้นที่คือ นโยบายการถ่ายโอนภารกิจฯ รพ.สต. ให้ อบจ. โดยมีคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) มีหน้าที่และอำนาจกำหนดนโยบายกำกับดูแลและพัฒนางานด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอน

ตลอดจนให้มีการจัดตั้งสำนัก/กองสาธารณสุข พร้อมจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่และการจัดบริการสาธารณสุข ที่สอดคล้องกับปัญหาทางด้านสุขภาพและความต้องการของประชาชนส่วนทิศทางการทำงานของ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เราพร้อมทำหน้าที่สานพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกและเครื่องมือต่างๆ เช่น สมัชชาสุขภาพ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาและขับเคลื่อนบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นพ.สุเทพ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าการสร้างความร่วมมือของทุกหน่วยงฟานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ จะทำให้เกิดนโยบายหรือแนวทางต่างๆ ทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนบริการ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่นได้อย่างแท้จริงตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่ได้จัดทำร่วมกันในข้อตกลงความร่วมมือ เช่น เกิดงานวิจัยที่จะใช้ฐานข้อมูลในการออกแบบและพัฒนารถทันตกรรมเคลื่อนแบบไฟฟ้า เพื่อรองรับกลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ โดยเฉพาะคนผู้อายุ คนพิการ, เกิดแผนการดำเนินงานบริการ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ของแต่ละจังหวัด

ตลอดจนเกิดการสนับสนุนของส่วนกลาง เช่น ผลักดันสนับสนุนการเบิกจ่ายในการให้บริการภายใต้รถทันตกรรมเคลื่อนที่ของท้องถิ่นตามสิทธิประโยชน์ สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มคนเปราะบาง สุดท้ายแล้วการขับเคลื่อนงานร่วมกันจะทำให้เกิดการบูรณาการการพัฒนาและขับเคลื่อนงานบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น เพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม