รมว.สธ. รับมีปัญหาจริงเรื่องอัตรากำลังบุคลากร แจงสภาฯ เร่งผลิตนักฟื้นฟูสุขภาพ-นักกายภาพ รองรับการดูแลผู้ป่วยเอ็นซีดี-สูงอายุติดเตียง และป้องกันก่อนป่วย ย้ำ 30 บาทรักษาทุกโรค มีค่ากายภาพบำบัดให้ พร้อมเดินหน้า แก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร ความก้าวหน้าในสายงาน และผลักดันกฎหมายแยกตัวออกจาก กพ.
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 67 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม ช่วงกระทู้ถามทั่วไป นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ได้ตอบข้อซักถามต่อประเด็นอัตรากำลังข้าราชการนักกายภาพบำบัด รวมถึงการกระจายอัตรากำลัง เพื่อรองรรับการเข้าสู่สังคมสูงสัยและการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตั้งถามโดย นายธัญธร ธนินวัฒนาธร สส.กทม. พรรคประชาชน ว่าจากสภาพปัญหาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ป่วยติดเตียง ที่ทำให้ต้องใช้งบประมาณดูแลรักษาทางตรงมากถึง 1.3 แสนล้านบาทต่อปี และต้องดูแลทางอ้อมถึง 1.5 ล้านล้านบาท
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเวลาประมาณ 4 เดือนที่มารับตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ตนเข้าใจปัญหา โดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากร ขวัญและกำลังใจ ความเหนื่อยล้า และความก้าวหน้าในอาชีพสายงาน จึงเร่งแก้ไขปัญหาในระยะสั้น เช่น ในเรื่องของการแก้หนี้สิน การบรรจุข้าราชการเพิ่มเติม การเพิ่มอัตราชำนาญการพิเศษ รวมทั้งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างผลักดัน พรบ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุข ซึ่งในระเบียบของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ในกพ.มีข้าราชการประมาณ 1.7 ล้านคน แต่ลำดับ 1 มีข้าราชการสาธารณสุข 400,000 กว่าคนทั้งบุคลากรทางการแพทย์ อื่นๆ ไม่นับอสม.รวมเป็น 500,000 คน นอกจากนี้ยังผลักดันยุธศาสตร์กำลังคนบริการสาธารณสุขระยะ 10 ปี เข้าครม.เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2567 ปัจจุบันกำลังเร่งดำเนินการตามแผนงานที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพข้อมูลจากเอกสารยุธศาสตร์ปฏิรูปกำลังคน อย่างนักภาพบำบัดจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน 13,785 คน เป็นข้าราชการ 5,980 คน ภาคเอกชน 3,419 รายอาจารย์หน่วยงานอื่นๆอีก 4,365 ราย โรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด กลุ่มเวชศาสตร์ฟื้นฟูในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและกรมการแพทย์และสำนักงานแพทย์ กรุงเทพมหานคร ส่วนคลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเฉพาะทางศูนย์บริการสาธารณสุขกทม. และภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลสังกัดมหาลัย เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น โรงพยาบาลสวนสาธารณะนัครินทร์ กรอบอัตรากำลังราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างโรงพยาบาลตำแหน่งนักกายภาพบำบัดเปรียบเทียบกับที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติจริงกรอบอัตรากำลังรวม 6,056 อัตรา แต่ปฏิบัติงานจริงเพียง 3,196 คน คิดเป็น 50%
มีความจำเป็นที่ต้องมีนักกายภาพบำบัดที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย และ เตรียมพร้อมก่อนป่วย หลังจากตนเข้ารับตำแหน่งได้ผลักดันแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงาน โดยเฉพาะการปฏิรูปกำลังให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณานอกจากนั้นให้ส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้พบว่านักกายภาพบำบัด มีจำนวน 1.3 หมื่นคน จำนวนดังกล่าวพบว่ามีนักภายบำบัดดูแลประชาชน มากถึง 4,792 คน โดยเป้าหมาย 10 ปี นักกายภาพหนึ่งคนต้องดูแลคน 2,000 คน ดังนั้นต้องเร่งผลิตให้เพียงพอ คือ 1.9 หมื่นคนในระยะเวลาที่กำหนด แต่อาจจะไม่ทัน
“เรามีแผนที่จะต้องผลิตนักฟื้นฟูสุขภาพชุมชน อำเภอละ 1 คน เพื่อเป็นผู้ช่วยนักกายภาพชุมชน โดยใช้งบประมาณในส่วนกองทุกฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด ทั้งนี้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ตระหนักถึงปัญหาและสั่งการให้เร่งดูแล นอกนั้นในเดือนต.ค.นี้นายกฯจะลงพื้นที่เพื่อดูงานส่วนงานแคร์กีฟเวอร์เพื่อดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาดูงานผู้ป่วยเอ็นซีดี นอกจากนั้นแล้วยังมีนโยบายที่จะยกระดับ อสม. ในเรื่องดังกล่าวและให้ค่าตอบแทนเป็นขวัญกำลังใจ” นายสมศักดิ์ ชี้แจง
นายสมศักดิ์ ชี้แจงต่อว่า ในส่วนสำหรับค่ารักษาพยาบาลในสิทธิ สปสช. ตามโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่รองรับค่าบริการ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บไขสันหลัง บาดเจ็บทางสมอง และกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ สามารถรับค่าบริการกายภาพบำบัดครั้งละ 450 บาท ไม่เกิน 20 ครั้งต่อราย กรณีรับบริการที่บ้าน สปสช. จะจ่ายเพิ่มเติมตามเป็นจริงไม่เกิน 200 บาทต่อครั้ง สิทธิข้าราชการสามารถเบิกได้เช่นกัน นอกจากนั้นแล้วในโรงพยาบาลต้องมีศูนย์ฟื้นฟู ขณะเดียวกันในแต่ละภูมิภาคต้องมีโรงพยาบาลเฉพาะทาง โดยขณะนี้มีแล้ว 1 แห่ง ที่จ.ลำปาง ส่วนภูมิภาคอื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ
นายสมศักดิ์ ยังได้ตอบกระทู้ถามทั่วไปในประเด็น ปัญหาโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อสัดส่วนการใช้บริการของประชาชนในกทม. ซึ่งตั้งถามโดย นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม.พรรคประชาชน โดยย้ำถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุข และสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้บริการของประชาชน หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่แต่การดำเนินการดังกล่าวยอมรับว่าต้องใช้เวลา
- 399 views