สรพ.จับมือสวรส. จัดการประชุมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เปิดการประชุม “การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ” ในวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมสานใจ 1 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ
สำหรับการประชุมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพนี้ เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัย และบุคลากรด้านคุณภาพระบบบริการสุขภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ให้สามารถพัฒนาโจทย์และโครงร่างการวิจัยจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการวิจัยจนสำเร็จเป็นผลงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้
นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาเครือข่ายวิจัยระบบสุขภาพและนโยบาย รวมทั้งกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถการทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อสร้างและพัฒนา บูรณาการ เครือข่ายความร่วมมืองานวิจัยรวมทั้งกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปใช้ได้จริงและสามารถขยายผลได้ต่อไป
พญ.ปิยวรรณ ได้กล่าวว่า ระบบ “คุณภาพงานวิจัยกับการยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาล” เป็นการการทำงานวิจัยคือการทำสต๊อคของความรู้ (Stock Of Knowledge) ที่เป็นการทำอย่างเป็นระบบภายใต้ความเข้าใจและมีความคิดที่สร้างสรรค สิ่งที่ทำคัญการพัฒนางานวิจัยต้องตอบโจทย์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และต้องคำนึงถึงคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่าการพัฒนาระบบริการสุขภาพ หมายความว่า ระดับระบบบริการสุขภาพในภาพเล็กและเป็นภาพรวมทั้งหมดที่สามารถพัฒนายกระดับทำได้ดีกว่าในเรื่องของผลลัพท์ด้านสุขภาพ และสัมพันธ์กับมาตรฐานวิขาชีพ ซึ่งผลลัพท์ด้านสุขภาพจะมีมุมมองใน 2 ระดับ คือ มุมมองตามมาตรฐานวิชาชีพ และมุมมองของความต้องการ หรือมุมของผู้ใช้บริการ และยังได้กล่าวถึงการทำงานวิจัยในระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยที่มีการทำทำในปัจจุบันตอบโจทย์ใน 6 ประเด็นสำคัญด้านระบบบริการสุขภาพ คือ
ความปลอดภัยในระบบบริการที่จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้อย่างไร การหลีกเหลี่ยงการดูแลรักษาที่เกินความจำเป็น มีระบบบริการสุขภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การลดระยเวลารอคอยจะทำการเก็บการวิจัยอย่างไรหรือมี Intervention สำคัญอะไรที่จะช่วยในการลดระยะเวลาการรอคอยได้ การลดสิ่งที่ไม่เป็นที่เกิดขึ้นจากระบบริการได้อย่างไร และสิ่งที่สำคัญคือความไม่ปลอดภัยของผู้ใช้บริการ และสุดท้ายงานวิจัยจะต้องตอบสนองความต้องการและมีความเท่าเทียมกันได้หรือไม่ คุณภาพงานวิจัย หมายถึง ความน่าเชื่อถือ เป็นหลักฐานของงานวิจัยที่ได้รับการดำเนินการ งานวิจัยที่มีคุณภาพดีมักต้องมีวิธีการวิจัยที่ชัดเจน การสะท้อนความรู้เก่าและทบทวนวรรณกรรม ข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง การเผยแพร่และการส่งเสริมความรู้ และต้องมีความน่าเชื่อถือและการเข้าใจของผลการวิจัย และคุณภาพงานวิจัยกับการยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาล เป็นหนึ่งในกลไกยกระดับมาตรฐานระบบบริการสุขภาพคือ กระบวนการ Hospital Accreditation ที่เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเองได้ เพื่อการพัฒนายกระดับของสถานพยาบาลได้
นอกจากนี้ งานวิจัยที่สะท้อนการยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาลในปัจจุบัน จำเป็นต้องเป็นงานวิจัยที่มีความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความต้องการและประโยชน์ในสังคม และมีการนำผลวิจัยไปใช้จริงในการพัฒนาและปรับปรุงระบบบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ป่วย บุคลากรและประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยในการรับบริการในสถานพยาบาลและสามารถสะท้อนการดูและรักษาในระบบบริการได้ และงานวิจัยกับการพัฒนาระบบ Health care system ในประเทศไทยมีการพัฒนามาจาก Country Self-assessment on Patient Safety Situation มีการกำหนดยุทธศาสตร์เรื่องความปลอดภัยไว้ และพบจุดอ่อนของการรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยที่นำมาใช้ในการปรับระบบในส่วนกลาง และยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้ามาช่วยเรื่องการดูแลด้านความปลอดภัย จึงเกิดนโยบายด้านความปลอดภัย Patient and Personnel Safety และมีการพัฒนาระบบ NRLS ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะช่วยตอบได้ว่าประเทศไทยมีระบบบริการสุขภาพที่ดีที่มาจากลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ได้หรือไม่ และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการได้
จากข้อมูลการทำ Country Self-assessment พบว่า ถูกกำหนดไว้ใน Global Patient Safety Action Plan 2021–2030 กลยุทธ์ที่ 6 To strengthen capacity for and promote patient safety research ซึ่งสรพ.ได้มีการทำงานตามยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัย และมีการประเมินยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยระยะที่ 1 พ.ศ.2561-2564 และนึ่งในข้อเสนอในเรื่องของการรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่เน้นส่งเสริมให้มีการรายงานเข้ามาในระบบ และจะทำอย่างไรในการนำมาข้อมูลไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการทำพัฒนาเป็นงานวิจัยได้นั้น ในการนี้สรพ.จึงขอเชิญชวนให้ทุกคน มาร่วมกันพัฒนางานวิจัยด้านความปลอดภัย เพื่อผู้ป่วย บุคลากร และประชาชนเข้าถึง ระบบบริการสุขภาพที่ดี
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
- 183 views