บอร์ดสปสช. ตั้งอนุกรรมการฯ 12 ชุด สนับสนุน “การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ” ทั้งเรื่อง การบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล ขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข การบริหารจัดการกองทุน การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ฯลฯ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 67 ในคําสั่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ 16 /2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จํานวน 12 คณะ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประกอบกับข้อ 8 แห่งข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2549 ข้อ 6 แห่งระเบียบคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการตรวจสอบ พ.ศ. 2564 และมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 11(4)/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 และครั้งที่ 12(5)/2567 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไว้ ดังต่อไปนี้
สำหรับคณะทำงานนั้นจะแต่งตั้งตามบทบาทหน้าที่ โดยชุดที่ 1 คณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ประธานอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข 2. ประธานอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข 3. ประธานอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน 4. ประธานอนุกรรมการการจัดทำแผนการจัดจัดซื้อยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ 5. ประธานอนุกรรมการด้านกฎหมายและกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์ 6. ประธานอนุกรรมการการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8. ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยโรคเอดส์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรค 9. ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการโรคที่มีความสำคัญ 10. ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 11. ประธานอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างหลักประกันสุขภาพ 12. ประธานอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานระบบหลักการในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 13. ประธานอนุกรรมการสื่อสารและรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 14. เลขาธิการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติหรือรองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานรับประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย
ชุดที่ 2 คณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข โดยมี นายวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินงานระยะ 4 ปีของคณะอนุกรรมการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้เห็นชอบ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำข้อเสนอการพัฒนาประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขรวมทั้งยาและเวชภัณฑ์ที่ประชาชนยังมีปัญหาในการเข้าถึงบริการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการตามประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข เป็นต้น
ชุดที่ 3 คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน โดยมี นางมารนิดา ภู่เจริญ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบกับรายงานความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ตลอดจนบัญชีการเงินและทรัพย์สินของกองทุน รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและวิเคราะห์ปัญหาจัดทำข้อเสนอการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคงและความเป็นธรรม เป็นต้น
ชุดที่ 4 คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและกลั่นกรองกรณีอุทธรณ์ โดยมี นายสุวิทย์ ชูตระกูล เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งคณะทำงานมีหน้าที่พิจารณาแผนพัฒนากฎหมายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการหรือที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรวมทั้งกลั่นกรองและเสนอร่างกฎหมายที่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
ชุดที่ 5 คณะอนุกรรมการตรวจสอบ โดยมี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารเงินและการดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามที่กำหนดในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมายและระเบียบแบบแผนที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมีความโปร่งใสมีผู้รับผิดชอบและมีธรรมาภิบาล เป็นต้น
ชุดที่ 6 คณะอนุกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์แนวทางการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานหรือลูกจ้างและครอบครัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกำกับติดตามการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างและครอบครัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิบริการสาธารณสุขตามที่กำหนด เป็นต้น
ชุดที่ 7 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีนายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจในการจัดทำแผนและดำเนินงานระยะ 4 ปีของคณะอนุกรรมการให้สอดคล้องกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อเพิ่มการใช้และการเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกำกับติดตามการบริหารจัดการบริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกและการเข้าถึงบริการของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น
ชุดที่ 8 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค โดยมีนายนิมิตร เทียนอุดม เป็นประธานอนุกรรมการ มีอำนาจหน้าที่จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสร้างเสริมป้องกันและการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรค รวมถึงประสานความร่วมมือและบูรณาการการจัดระบบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และวัณโรคร่วมกับระบบประกันสุขภาพรัฐอื่น เป็นต้น
ชุดที่ 9 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและกำกับติดตามการเข้าถึงบริการโลกที่มีความสำคัญ โดยมี ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานอนุกรรมการ มีอำนาจหน้าที่กำกับติดตามการบริหารจัดการโรคหรือบริการที่มีความสำคัญและการเข้าถึงบริการของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งนี้โรคหรือบริการที่มีมีความสำคัญหมายความรวมถึงโลกหรือบริการที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศประชาชนเข้าถึงบริการน้อยหรือไม่ได้รับบริการตามความจำเป็นหรือมีค่าใช้จ่ายภาพรวมค่อนข้างสูง เป็นต้น
ชุดที่ 10 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสร้างหลักประกันสุขภาพ โดยมี รองศาสตราจารย์อภิญญา เวชยชัย เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดทำข้อเสนอในการสนับสนุนและขยายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนผู้มีส่วนได้เสียและภาคีเครือข่ายต่างๆรวมทั้งองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรในการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การคุ้มครองสิทธิ์ และการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการหรือกลุ่มเปราะบางต่างๆเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นต้น
ชุดที่ 11 คณะอนุกรรมการสื่อสารสังคมและรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการและผู้บริการ โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณรณชัย คงสกนธ์ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำข้อเสนอด้านการสื่อสารสังคมและการประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่ง เพื่อสร้างการรับรู้สิทธิ์และหน้าที่ของประชาชนผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นต้น
ชุดที่ 12 คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่เขต 13 กรุงเทพกรุงเทพมหานคร โดยมี นายวิชัย โชควิวัฒน์ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งอำนาจหน้าที่กำกับดูแลติดตามการบริหารกองทุนรวมทั้งการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการให้เป็นไปตามนโยบายหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด รวมทั้งจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนและเสนอเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาแก้ไขประกาศหรือกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในปีงบประมาณถัดไป เป็นต้น
คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอกสารประกอบ
- 40 views