จุดยุทธศาสตร์ของการแก้บัตรทองครั้งนี้ ควรยอมให้แก้กฎหมายเรื่องการใช้เงินเพื่อให้ รพ.หายใจได้ก่อน สิ่งที่ประชาชนต้องสู้คือ รักษาสมดุลสัดส่วนการอภิบาลระบบระหว่างภาคส่วนให้ได้
เรื่องร่วมจ่ายนั้นผมคิดว่าอาจต้องปล่อยให้เป็นไปตามนั้นไปก่อน เพราะเงินไม่พอจริงๆ ที่จะดูแลทุกอย่างทุกคน แต่ถึงอย่างไรเสีย มีโอกาสน้อยมากที่รัฐจะกล้ารังแกคนจนด้วยการให้ร่วมจ่ายหน้างาน...
ผมเดาว่าเค้าจะใช้หลายแบบร่วมกัน ตั้งแต่ระบบการ (บังคับ) ออม/ลงทุนเพื่อสุขภาพ ระบบประกัน (แบบเสริม) แห่งชาติ ระบบประกันคุณค่าบริการสุขภาพร่วมระหว่างรัฐและเหล่าบริษัทยา/เครื่องมือแพทย์ ตลอดจนคงจะพัฒนาแพ็คเกจมาตรฐานสำหรับทุกคนใน 3 กองทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนคนที่เสียภาษีเงินได้ในระบบ อาจ suffer หน่อย เพราะเค้าอาจจะหยิบฐานภาษีมากำหนดเปอร์เซ็นต์ร่วมช่วยรัฐ แต่อาจต่อรองให้ใช้ค่าใช้จ่ายส่วนนั้นมาหักลดหย่อนภาษีปีถัดไปได้ อาจอ้างว่าต้องช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำ
แต่อย่างไรเสีย พวกเศรษฐีมักลอยตัวเพราะมีประกันเอกชนอยู่แล้ว และไม่อยากเสียเพิ่มหากมาใช้ระบบรัฐ
ที่น่าทำคือ รณรงค์เก็บภาษีจากกิจการไม่ดี เช่น ธุรกิจกลางคืน ของกินที่แคลอรี่และน้ำตาลสูง ตลอดจนธุรกิจที่ชวนต่างชาติที่เป็นโรคมารักษาในไทยและทำให้เสี่ยงต่อโรคระบาด แล้วตั้งกองทุนสาธารณะเพื่อสนับสนุนบริการสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ หากกองทุนโตพอ ก็จะช่วยพัฒนาสถานพยาบาลในพื้นที่ได้ด้วย
ลองติดตามดูกันว่าจะเดาถูกบ้างไหม?
ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 3 views