บทความจาก นพ.พรเทพ โชติชัยสุวัฒน ที่เขียนถึง นโยบายหมอครอบครัว ซึ่ง นพ.พรเทพ เปรียบเทียบว่า ทีมหมอครอบครัวนั้น เปรียบเหมือน นายด่านระบบสุขภาพ ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งต่อผู้ป่วย เพื่อประชาชนมีสุขภาพดี ผู้ป่วยเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง และไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยประสานงานด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ด้วย ซึ่งตอนแรก ว่าด้วยเรื่อง FCT (หมอครอบครัว) กับ building blocks’ โดยทั้งหมดจะมี 3 ตอน และต่อไปนี้เป็นตอนที่ 2 ‘หมอครอบครัว กับหลักประกันสุขภาพ’
ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงทรัพยากรด้าน การเงิน (finance) ซึ่งดำเนินการผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ประกอบด้วย กระบวนการหลัก (core business process) 6 กระบวนการ ตามภาพประกอบ
เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับทีมหมอครอบครัว หรือ Gatekeeper ที่มีความยึดโยงกับพื้นที่ (district health system or area based health system) ไปสู่เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ ตามภาพที่ 3
โดยมีการดำเนินการในแต่ละกระบวนการหลักต่างๆ ตั้งแต่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ ในบทบาทของผู้ซื้อบริการ (Purchaser) เพื่อสนองตอบความจำเป็นด้านสุขภาพ (health needs) ของประชาชนเจ้าของภาษีที่นำมาใช้ตามกระบวนการต่างๆ ดังนี้ การวางแผนยุทธศาสตร์ การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ การลงทะเบียนผู้ใช้บริการ การจัดการกองทุน การควบคุมคุณภาพบริการ และการคุ้มครองสิทธิ์ โดยสรุปดังนี้
ตารางแสดง กระบวนการหลักของระบบประกันสุขภาพ กับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว
ระบบทางการเงินเป็นส่วนสำคัญมากในการพัฒนาระบบหมอครอบครัว และการบริการปฐมภูมิที่จำเป็นต้องพัฒนา เรียนรู้ไปร่วมกับพื้นที่ และชุมชนที่ต้องเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ภายใต้การทำงานอย่างมีเอกภาพ และธรรมาภิบาลของเขตพื้นที่ นอกจากนี้ควรให้อำนาจ ความเป็นอิสระในการทำงาน เช่น การกำหนด วิเคราะห์ปัญหา ออกแบบกระบวนการ ทดลอง เรียนรู้ พัฒนาจนถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากพื้นที่ และชุมชน ลดการสั่งการจากส่วนกลาง
ตอนต่อไป ติดตาม ตอนที่3 FCT กับ ทรัพยากรด้านอื่นๆ
แหล่งข้อมูล
1. http://www.hisro.or.th/main/?name=knowledge&file=readknowledge&id=32
- 43 views