สภาเภสัชกรรมออกจม.เปิดผนึก ฉบับที่2 แจง 5 ประเด็นจ่ายยา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ย้ำเป็นโครงการบริการสาธารณสุขที่ได้ผลและปลอดภัยระดับนานาขาติ ส่วนไทยผลตอบรับดี ปชช.พอใจ
จากกรณีศาลปกครองรับฟ้องคำร้องของแพทยสภา กรณีการจ่ายยาตาม 16 กลุ่มโรคอาการ โดยสภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 ไปแล้วนั้น
(ข่าวเกี่ยวข้อง : สภาเภสัชฯออกจม.เปิดผนึกปมแพทยสภาฟ้องศาลปกครอง “จ่ายยาเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ”)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน สภาเภสัชกรรม ออกจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 กรณีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวเนื่องกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ระบุว่า
จดหมายเปิดผนึก (ฉบับที่ 2) กรณีการฟ้องศาลปกครองเกี่ยวเนื่องกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ โดยเภสัชกรร้านยา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ตามปรากฏเป็นข่าว ทางสื่อมวลชน ต่อกรณี แพทยสภา ฟ้อง สปสช. และสภาเภสัชกรรม เกี่ยวกับโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ โดยร้านยาคุณภาพ และทางสภาเภสัชกรรมได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 แล้วนั้น ปรากฎว่าได้มีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูล จากส่วนต่าง ๆ ทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลายนั้น
สภาเภสัชกรรมในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมร่วมหาทางออกในปัญหาความไม่เข้าใจดังกล่าว ที่ปรากฎในสื่อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและการดูแลสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมขอยืนยัน ข้อเท็จจริงที่สำคัญ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ไม่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังต่อไปนี้
สภาเภสัชกรรมในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมร่วมหาทางออกในปัญหาความไม่เข้าใจดังกล่าว ที่ปรากฏในสื่อ และพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและการดูแลสุขภาพของประชาชน
ทั้งนี้ สภาเภสัชกรรมขอยืนยัน ข้อเท็จจริงที่สําคัญ เพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง ไม่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังต่อไปนี้
1. การดําเนินการในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ๆ โดยเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แพทยสภา สปสช. และสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนในคณะกรรมการดําเนินการของ สปสช ได้มีการพูดคุย หารือ ประเด็นงานบริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ในประเด็นที่แพทย์บางท่านไม่เข้าใจในกฎหมายในส่วนของพระราชบัญญัติยา และบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรร้านยา แพทย์หลายท่านมีความเข้าใจ แต่ก็มีบางท่านที่ไม่ได้มา พูดคุยหารือด้วย และไม่เข้าใจ ว่า เภสัชกรจําเป็นต้องซักประวัติเพื่อทราบข้อมูล เพื่อคัดกรองอาการของผู้ป่วย ตามบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรตามพระราชบัญญัติยาและพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม มิได้เป็นการก้าว ล่วงวิชาชีพเวชกรรมแต่อย่างใด โดยก่อนที่จะมีการฟ้องศาลปกครอง แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และ สปสช. ได้มี การหารือในประเด็นที่ทางแพทยสภามีปัญหาว่า โครงการนี้เป็นการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งสภาเภสัชกรรมก็ได้ ชี้แจงว่าการดําเนินการดังกล่าวร้านยามีการดําเนินการมามากกว่า 50 ปีแล้ว ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติยา ไม่ได้มีการ ก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม การซักประวัติของเภสัชกรเพื่อการเลือกสรรยาที่ถูกต้องกับอาการเจ็บป่วย และเป็นการ ดําเนินการถูกต้องตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 ซึ่งท้ายสุด นายกแพทยสภายังสรุปว่าก็ไม่น่าจะเป็นการก้าวล่วงวิชาชีพเวชกรรม และก็เป็นการดําเนินการเฉพาะร้านยาคุณภาพ ที่สภาเภสัชกรรมรับรอง ไม่ใช่ร้านยาทุกร้าน แต่มีกรรมการแพทยสภาท่านหนึ่งเสนอว่า อย่างน้อยก็อยากให้ขอ ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้เกิดความชัดเจน ซึ่ง แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และ สปสช. ก็ได้ไปชี้แจง ข้อมูลกับคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ท้ายสุดคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 ก็ได้มีหนังสือแจ้งกลับมาว่า
เห็นควรไม่รับข้อหารือไว้พิจารณา แต่ได้ให้ความเห็นมาว่า เรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นปัญหาที่มีความเกี่ยว ดําเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรฐานวิชาชีพของตนภายใต้กรอบกฎหมายของแต่ละวิชาชีพ และการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สภาเภสัชกรรม และสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะต้องร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับขอบเขตการดําเนินการของแต่ละวิชาชีพ และเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดและความปลอดภัยของประชาชนเป็นสําคัญ นอกจากนี้ยังได้มีการไปชี้แจงรายละเอียด โครงการฯ ต่อกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ซึ่งกรรมาธิการสาธารณสุขก็ไม่ได้มีประเด็นอะไร นอกจากนั้น กรรมาธิการยังมีความเห็นว่ายินดี ที่ สปสช. ได้จัดให้มีโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ที่ร้านยา เพราะได้สนใจศึกษาเรื่องการบริการปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าร้านยามีบทบาทในการให้บริการปฐมภูมิมาตลอด ตอนนี้ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการในสิทธิบัตรทอง ก็เป็นสิ่งที่ดี และหลังจากนั้น สภาเภสัชกรรม จึงทราบว่า แพทยสภาได้มีการฟ้อง สปสช.และสภาเภสัชกรรมไปยังศาลปกครอง
2. เภสัชกรรักษามาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและการใช้ยาของประชาชน
บุคลากรด้านสุขภาพทุกวิชาชีพล้วนให้ความสําคัญเรื่องความปลอดภัยของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ในการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยนั้น ประชาชนอาจเลือกดูแลตนเอง อาจพบเภสัชกรเพื่อขอคําปรึกษาตามโครงการนี้ ซึ่งเป็นบริการของรัฐที่ให้กับประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรืออาจเลือกพบแพทย์ก็ได้ ดังนั้นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของประชาชนโดยเภสัชกรที่เป็นผู้มีความรู้เรื่องยาโดยตรงจึงเป็นสิ่งสําคัญ มีประโยชน์ และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และวิชาชีพเภสัชกรรมก็มีกระบวนการและมาตรฐานในการประเมินความเหมาะสมในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้อง สมเหตุสมผล และไม่เกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา การดําเนินการในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยนี้จึงมิได้เป็นการลดมาตรฐานความปลอดภัยแต่อย่างใด แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกที่ยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยอีกทางหนึ่ง
3. เภสัชกรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านยาเป็นอย่างดี
วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นหลักสูตรการศึกษา 6 ปี มีความรู้เรื่องยาในทุกมิติ สามารถผลิตยา ควบคุมและประกันคุณภาพยา เลือกสรรยา จ่ายยาและให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ให้คําแนะนําการใช้ยาที่สมเหตุสมผล ตลอดจนการติดตาม อาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการคุ้มครองผู้บริโภค และมีการควบคุมกํากับดูแลด้านจรรยาบรรณอย่างเข้มงวด ในการประกอบวิชาชีพ โดยสภาเภสัชกรรม อีกทั้งในโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยฯโดยร้านยา คุณภาพ ก็มีการควบคุม กํากับ ติดตามโดยสภาเภสัชกรรมและ สปสช. เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย และความถูกต้องของกรอบการดําเนินงานของ “ร้านยาคุณภาพ” และประชาชนได้รับยาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เภสัชกรในโครงการร้านยาคุณภาพ ยังมีการติดตามผลการใช้ยาเมื่อครบ 72 ชั่วโมง หากมีปัญหาใดๆ ก็สามารถส่งต่อ ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายเพื่อรักษาต่อได้ เภสัชกรในโครงการร้านยาคุณภาพยังมีมาตรฐานในการจ่ายยา อาทิ ยาที่จ่ายเป็นแผงระบุชื่อยา ความแรง วันหมดอายุ มีฉลากยาครบถ้วน ซึ่งถือว่ามาตรฐานดีที่สุด ทําให้ประชาชน ทราบข้อมูลของยาที่ได้รับอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบ และตรวจสอบย้อนกลับได้
4. โครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยโดยเภสัชกรเป็นรูปแบบบริการสาธารณสุขที่ใช้กันอย่างได้ผลและปลอดภัยในระดับนานาชาติ
รูปแบบการให้บริการนี้สอดคล้องกับทิศทางการบริการสาธารณสุขในระดับนานาชาติ เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ภาครัฐมีดําเนินการโครงการ “Pharmacy first” เพื่อให้ประชาชนพบเภสัชกรเพื่อรับยากรณีการเจ็บป่วยเล็กน้อย คล้ายคลึงกับโครงการของประเทศไทย และยังสามารถจ่ายยาปฏิชีวนะ ซึ่งถือเป็นยาควบคุมพิเศษของประเทศสหราช อาณาจักรได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและกรอบของโครงการได้เพื่อให้ได้รับข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้อง https://www.fip.org/file/5624 ซึ่งของประเทศไทย เภสัชกรร้านยาคุณภาพ จ่ายเฉพาะยาอันตรายที่เภสัชกร สามารถจ่ายยาเองได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ นอกจากนี้ แนวโน้มของประเทศต่างๆ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิเช่น ประเทศออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกหลายประเทศ อีกทั้งยังมีการให้บริการที่กว้างขวางขึ้นในร้านยารวมถึงการฉีดวัคซีน และที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 เภสัชกรร้านยาคุณภาพของประเทศไทย ก็ได้มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงการคัดกรองตลอดจนการดูแลรักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงให้ได้รับคําแนะนําที่เหมาะสม และช่วยลดภาระของโรงพยาบาลได้อย่างมาก
5. การประเมินผลการให้บริการในโครงการนี้พบว่าเป็นที่น่าพอใจและให้ผลดีกับระบบสุขภาพของไทย
ในการให้บริการที่ผ่านมาตามโครงการนี้ ตั้งแต่ 31 ตุลาคม 2566 ถึง ปัจจุบัน ได้มีการการดําเนินการอย่างรอบคอบ และค่อยๆ ขยายพื้นที่ในการให้บริการ มีผู้ที่ได้รับบริการแล้วทั้งสิ้นจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 จํานวน 1,771,758 คน และ 4,912,114 ครั้ง ไม่มีประชาชนคนใดเสียชีวิตจากการให้บริการจากโครงการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยโดยร้านยาคุณภาพแต่อย่างใด และสภาเภสัชกรรมได้ตรวจสอบการให้บริการแล้วว่าประชาชนปลอดภัย ได้รับประสิทธิภาพการดูแลอาการตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในทุกกรณี นอกจานี้ ทางสภาเภสัชกรรมได้ ทําการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนที่เข้ารับบริการในโครงการนี้พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด จึงได้มีการขยายกรอบโครงการจากที่ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ เป็น 32 กลุ่มอาการเพื่อให้บริการที่ดีขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้ สอดคล้องกับผลการสํารวจความเห็นของประชาชนต่อเภสัชกร ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และสภาเภสัชกรรม ที่พบว่าประชาชนให้ความเชื่อถือและมั่นใจในการปรึกษาปัญหายากับเภสัชกรอย่างมาก
ท้ายที่สุดนี้ สภาเภสัชกรรม มีความเห็นโดยสุจริตว่า ในการดําเนินการใดๆ สภาเภสัชกรรมจะคํานึงถึง พระราชดํารัสของพระราชบิดาที่ว่า "ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" เป็นสําคัญ และ ทางสภาเภสัชกรรม ขอความร่วมมือสมาชิกเภสัชกร ร่วมกันสร้างบรรยากาศอันดี มีการแสดงความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์อย่างสุภาพ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่
ผู้ป่วยและประชาชน
สภาเภสัชกรรม
17 พฤศจิกายน 2567
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- นายกสภาเภสัชฯ ยันจ่ายยาเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ เป็นไปตามพ.ร.บ.ยา พร้อมร่วมหารือ 13 พ.ย.
- 58 views