ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"สส.ศุภโชค" พรรคชาติไทยพัฒนา จี้รัฐควรหนุนงบฯ พม. แก้ปัญหาวิกฤติประชากรเร่งด่วน พร้อมเพิ่มสวัสดิการ เด็กแรกเกิด-เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  ชี้ "วันลาคลอด 98 วัน" ไม่พอต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิด 

เมื่อวันที่ 12 ก.ย. นายศุภโชค ศรีสุขจร  สมาชิกรัฐสภา กล่าวในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 2 (สมัยสามัญประจำปีครังที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ เกี่ยวกับประเด็นการลาคลอด ว่า  หนึ่งในกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกภาคส่วนดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่เชิงตะกอน คงไม่พ้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ภายใต้กระทรวงนี้ ดูแลประชาชนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ รวมกว่า 22 ล้านครัวเรือน รวมถึง ผู้พิการ กลุ่มเปราะ เรียกว่าดูแลทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การจัดทำงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ไม่เพียงพอในการทำงานเชิงรุก เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้จริง ซึ่งงบประมาณเพิ่มขึ้นปีนึงไม่ถึง 5% 

ฉะนั้นแล้ว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ควรได้รับการสนับสนุนหรือให้งบประมาณได้มากกว่านี้เพราะการที่ประเทศจะเดินไปทางหน้าคนทุกกลุ่มต้องได้รับการดูแลสนับสนุนอย่างเท่าเทียม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของชีวิตคนไทย ควรจัดเป็นเป้าหมายหลักและเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดนี้ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งสวัสดิการต่างๆ อย่าง เบี้ยเด็กแรกเกิดเดือนละ 600 บาท เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รวมไปถึง สวัสดิการอื่นๆ เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติประชากรได้โดยตรง

"การใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านหรือคิดเป็น 0.5% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนั้น ในการทำสวัสดิการเด็กแรกเกิดแบบถ้วนหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นจำเป็นสำหรับพี่น้องประชาชน และมีพี่น้องประชาชนอีกหลายกลุ่มที่ต้องพึ่งพิงสวัสดิการและเบี้ยเหล่านี้ไม่น้อยภาครัฐควรปรับกลไกสวัสดิการให้มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง วิกฤติประชากรที่กำลังเผชิญคือ คนเกิดน้อยคนตายเยอะ ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ฉะนั้นแล้วคนวัยทำงานและเยาวชนจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ากับประเทศของเรา ดังนั้นการมุ่งหน้าพัฒนาทรัพยากรบุคคลประชาชนของประเทศเราควรเป็นจุกหมายสำคัญของรัฐบาลชุดนี้" นายศุภโชค กล่าว

นายศุภโชค  กล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่สามารถบรรเทาวิกฤติประชากรของประเทศได้ คือ เรื่องจำนวนวันลาคลอด เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิกฤติประชากรเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตและความสมดุลย์ของครออบครัว  หากดูจากข้อมูลจะเห็นว่าในหลายประเทศมีการกำหนด "วันลาคลอด" อยู่ที่ 112 วัน แต่กลับกันประเทศไทยสามารถลาคลอดได้เพียง 98 วัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิด

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมีลูกอาจจะไม่ใช่เพียงวันละคลอดอย่างเดียว อาจจะเป็นเรื่องส ภาพเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายการศึกษา หรือความยากลำบากในการดูแลสมาชิกของครอบครัว ปัญหาเหล่านี้เป็นเหตุที่ทำให้การเพิ่มจำนวนวันลาคลอดหรือการพัฒนาระบบสวัสดิการต่างๆที่จำเป็น เป็นสิ่งที่สำคัญ

"จากข้อมูล "การขยายวันลาคลอด" และสวัสดิการที่เกี่ยวข้องเป็นหนึ่งในมาตรการที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาวิกฤติประชากรที่ประเทศกำลังประสบอยู่ได้ สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ นายกฯ แพรทองธาร ชินวัตร นายกคนที่ 30 ของประเทศไทย และคณะรัฐมนตรีทุกท่านในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลชุดนี้จะสามารถนำพาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ฝ่าฟันวิกฤติ ทำให้ประชาชน มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ดังที่ท่านนายกได้เคยกล่าวไว้" นายศุภโชค  กล่าวทิ้งท้าย