ผอ.รพ.ศรีนครินทร์ เผยสาเหตุของการขาดทุนในโรงพยาบาล สําหรับผู้ป่วยบัตรทอง พร้อมแนะทางรอดจากภาวะขาดทุน
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โพสต์เฟซบุ๊กว่า สาเหตุและทางรอดครับ ฝากพิจารณา คิดต่างได้ครับ เพื่อหาทางรอดที่ดีกว่าปัจจุบัน
สาเหตุของการขาดทุนในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ สําหรับผู้ป่วยบัตรทอง
1. การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามแนวทางของ สปสช. (ค่า adjust RW) ต่ํากว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาก (charge cost)
2. โรงพยาบาลมีการใช้ยานอกบัญชี และหัตถการที่สิทธิการรักษาไม่ครอบคลุม
3. สปสช. ห้ามไม่ให้มีการร่วมจ่ายส่วนเกินในขณะที่สิทธิข้าราชการร่วมจ่ายส่วนเกิน
4. สปสช. มีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียน ถ้าขาดหลักฐานไป หรือไม่ทํา ตามแนวทางของ สปสช. ที่กําหนดไว้ ก็ไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลคืนให้
5. สปสช. มีการตรวจสอบเวชระเบียน ถ้าพบการเบิกจ่ายไม่ตรงตามหลักฐานที่มี ก็เรียกเงินคืน โดยการหักจากเงินงวดต่อไปที่ รพ.ต้องได้รับ
6. ผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีความคาดหวังสูงจากการรักษา จึงสู้สุดชีวิต ทําให้เกิดค่ารักษาที่สูงขึ้น (ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ป่วยและญาติ)
7. เนื่องจากเป็นโรงเรียนแพทย์ จึงต้องใช้การรักษาใหม่ ๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีประสิทธิภาพดี และเพื่อการเรียนรู้ แต่ยังไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ จึงเบิกคืนไม่ได้
8. ผู้ป่วยอาการหนักกว่าโรงพยาบาลทั่วไป จึงมีค่ารักษาที่สูงกว่านอนรักษาเป็นเวลานาน
ทางรอดจากภาวะขาดทุนของโรงพยาบาลรัฐ
- สปสช.ต้องคิดค่าเหมาจ่ายรายหัวให้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นมากในปัจจุบัน
- รัฐบาลควรจัดหางบประมาณให้เพียงพอต่อ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข
- เพิ่มค่าตอบแทนการรักษาพยาบาลทั้งส่วนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
- ลดระยะเวลานอนรักษาใน รพ. ใหญ่ พัฒนาระบบส่งกลับ เพื่อดูแลต่อ รพ.ใกล้บ้าน
- คํานวณต้นทุนในโรคที่พบบ่อยในโรงพยาบาลแต่ละระดับ เพื่อหาช่องทางประหยัดค่าใช้จ่ายลง
- ส่งเสริมการตรวจเพิ่มเติมทางห้อง lab, x ray และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
- เพิ่มความสมบูรณ์และความถูกต้องของเวชระเบียน ส่งเบิกให้เร็วครบถ้วน
- ประชาชนควรเข้ารับการรักษาที่ รพ.ใกล้บ้านก่อนเสมอ ส่งเสริมการรักษาด้วยระบบแพทย์ทางไกล
- สนับสนุนการใช้ยาชื่อสามัญ และสนับสนุนให้มีการผลิตยา ใช้ได้เองภายในประเทศ
- จัดตั้งหน่วยงานที่ประเมินความคุ้มค่าของการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และทํางานอย่างรวดเร็ว
หมอสมศักดิ์ เทียมเก่า อายุรแพทย์ระบบประสาท
- 3502 views