ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เช็กสิทธิ!!  "บัตรทอง-ประกันสังคม-ข้าราชการ" สามารถตรวจรักษาพยาบาลฟรีอะไรได้บ้าง...

สิทธิบัตรทอง 30 บาท

“บัตรทอง” หรือ “สิทธิสปสช.” คือสิทธิรักษาพยาบาล ให้กับผู้ที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้  โดยสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ ได้ฟรี ทั้งโรคทั่วไป เช่น ไอ เจ็บคอ ไข้หวัด ท้องเสีย ไปจนถึงโรคเรื้อรัง หรือโรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โรคเอชไอวี 

ตัวอย่างรายการโรคที่บัตรทองรักษาฟรี!! 1.โรคมะเร็ง 2.ผ่าตัดสมอง 3.โรคปอดระยะสุดท้าย 4.การผ่าตัดรักษาข้อเข่าเสื่อม 5.การปลูกถ่ายตับ 6.โรคหลอดเลือดสมอง แตก/ตีบ/ตัน  7.การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต 8.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 9.การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 10.โรคหายาก 11.โรคหัวใจกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลันส่วนหัวใจ 12.การผ่าตัดหัวใจ/การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ 13.โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 14.การรักษาเฉพาะ 15.โรคที่เกิดจากการดำน้ำ 16. การรักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง 

สำหรับการให้บริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนี้ 1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2. การตรวจวินิจฉัยโรค 3. การตรวจและรับฝากครรภ์ 4. การบําบัดและการบริการทางการแพทย์ 5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 6. การทําคลอด 6. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 7. การบริบาลทารกแรกเกิด 8. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 9. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 10. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 11. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ 12. ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จําเป็นต่อสุขภาพและ การดํารงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกําหนดเพิ่มเติม

สำหรับวิธีการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลของตนเองได้ง่ายๆ 4 ช่องทาง 

1. โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2

2. เว็บไซต์ www.nhso.go.th เลือก สำหรับประชาชน เลือก ตรวจสอบสิทธิ หรือ คลิก https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

3. แอปพลิเคชัน สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือก ตรวจสอบสิทธิตนเอง

4. ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR CODE หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

หรือติดตามข้อมูลข่าวสารของ สปสช. ได้ที่ เว็ปไซค์ : www.nhso.go.th Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

 

สิทธิประกันสังคม

ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดได้ที่สถานพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมสุขภาพ (ตรวจสุขภาพ) กรณีตรวจสุขภาพประจำปีจะต้องเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น และต้องโทรติดต่อสอบถามโรงพยาบาลก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง

สำหรับรายการตรวจ 14 รายการใหม่ เงื่อนไขหลักเกณฑ์ใหม่ เริ่มใช้ 1 เมษายน 2567 ใช้สิทธิ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด (ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค)  ดังนี้

1. การคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข (และสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง)
3. การตรวจตา โดยความดูแลของจักษุแพทย์ เพื่อคัดกรองความผิดปกติและค้นหาโรคทางสายตา
พร้อมทั้งการตรวจ Snellen eye Chart และการวัดความดันของเหลวภายในลูกตา
4. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
5. ปัสสาวะ UA
6. น้ำตาลในเลือด FBS (Fasting Blood Sugar)
7. การทำงานของไต Cr และ eGFR
8. ไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL cholesterol
9. เชื้อไวรัสตับอักเสบ HbsAg
10. มะเร็งปากมดลูก Pap Smear หรือ
11. มะเร็งปากมดลูก Via หรือ
12. มะเร็งปากมดลูก HPV DNA TEST
- ชนิด 2 สายพันธุ์
- ชนิด 14 สายพันธุ์
13. ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง FIT TEST
14. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray)

ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบข้อมูลรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมการตรวจสุขภาพ ได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th โดยไปที่แถบเครื่องมือค้นหา และพิมพ์ รายชื่อสถานพยาบาลรัฐบาลและเอกชนที่ให้บริการตรวจสุขภาพ 14 รายการ สำหรับผู้ประกันตน จะปรากฏข้อมูลรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมการตรวจสุขภาพ 

1. กดรูปแว่นขยายมุมขวา (ทำได้โดยไม่ต้อง login)
2. พิมพ์คำว่า ตรวจสุขภาพ
3. เลื่อนลงมาด้านล่าง เป็นหัวข้อ "บริการตรวจสุขภาพ บูรณาการระหว่าง สปส. และ สปสช. เพื่อผู้ประกันตน เริ่มแล้ว (รายชื่อสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจสุขภาพ 14 รายการ)"

 

สิทธิข้าราชการ

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นการส่งเสริมป้องกันโรค มิใช่การรักษาพยาบาล ซึ่งตามกฎหมาย เดิมได้กำหนดยกเว้นเป็นกรณีพิเศษให้เฉพาะผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ) สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ปีละ ๑ ครั้ง ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด ซึ่งแบ่งการตรวจเป็น ๒ ช่วงอายุ คือ ผู้มีอายุไม่เกิน ๓๕ ปีบริบูรณ์ ตรวจได้ ๗ รายการ และผู้มี อายุมากกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ตรวจได้ ๑๖ รายการ โดยมีสิทธิเบิกปีละ ๑ ครั้ง ตามปีงบประมาณ แต่สามารถยื่นเบิกได้ตามปีปฏิทิน (๑ ปี) นับถัดจากวันที่ปรากฏในใบเสร็จรับเงิน และบุคคลในครอบครัว ของผู้มีสิทธิไม่สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ (พระราชกฤษฎีกาฯ มาตรา ๑๘)

สิทธิประโยชน์ในปัจจุบันด้านการตรวจสุขภาพประจำปี ประกอบด้วย 1.  ตรวจได้เฉพาะผู้มีสิทธิ ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจ า และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ไม่รวมถึงบุคคลในครอบครัว คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

2. แบ่งชุดการตรวจเป็น 2 กลุ่ม คือ อายุต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ เบิกได้ 7 รายการ ดังนี้

1. ตรวจร่างกายทั่วไป (Physical Examination)

2. ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก   (Chest X-ray)

3. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด   (Complete blood count)

4. ตรวจปัสสาวะทั่วไป  (Urinalysis)

5. ตรวจหาไข่พยาธิ   (Stool exam)

6. ตรวจหาเลือดในอุจจาระ  (Occult Blood)

7. ตรวจมะเร็งปากมดลูก(เฉพาะเพศหญิง)  Pap Smear

และอายุตั้งแต่ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เบิกได้ 16 รายการ ดังนี้

1. ตรวจร่างกายทั่วไป  (Physical Examination)

2. ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)

3. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด  (Complete blood count)

4. ตรวจปัสสาวะทั่วไป (Urinalysis)

5. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar)

6. ตรวจไขมันในเลือดจากสัตว์ (Cholesterol)

7. ตรวจไขมันในเลือดจากพืชและสัตว์  (Triglyceride)

8. ตรวจการทำงานของไต (BUN)

9. ตรวจการทำงานของไต  (Creatinine)

10. ตรวจการทำงานของตับ ( Alk.Phos)

11. ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)

12. ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)

13. ตรวจกรดยูริกในเลือด  (Uric Acid)

14. ตรวจหาไข่พยาธิ  (Stool exam)

15. ตรวจหาเลือดในอุจจาระ  (Occult Blood)

16. ตรวจมะเร็งปากมดลูก (เฉพาะเพศหญิง)  Pap Smear

3.  การตรวจให้ตรวจได้ปีละ 1 ครั้ง (ตามปีงบประมาณ) 4.  การเบิก เบิกได้ตามรายการ และอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด 5.  ให้ผู้มีสิทธิทดรองจ่ายไปก่อน และนำใบเสร็จมาเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด (ห้ามจ่ายตรง) 6.  ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0422.2/ว 362 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ค่า Chest X-ray ค่าเอ็กซเรย์ปอดมีการนำระบบดิจิตัล จึงยกเลิกหลักเกณฑ์เบิกเดิม (170+50) และกำหนดให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 170 บาท โดยไม่ต้องระบุรหัส ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ     พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (กรมบัญชีกลาง) กองการบริหารงานบุคคล https://www.personnel.nu.ac.th