“กัลยพัชร” ซัดกระทรวงสาธารณสุข จัดงบไม่เพียงพอ! ทำรพ.สต.ขาดกำลังคนและให้บริการต่ำกว่ามาตรฐาน พร้อมตอกถาม นโยบายผลิตแพทย์เพิ่ม ครม.ไม่เอาแล้วหรือ? หวั่นสหวิชาชีพอื่นจะถูกทอดทิ้งด้วย

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่รัฐสภา นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  อภิปรายร่างงบประมาณประจำปี 2568 กระทรวงสาธารณสุข ว่า ไม่ว่าปีนี้ สปสช. จะเพิ่มงบสมทบทุนรายหัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5% แต่ทว่า รพ.สต. ก็ยังคงได้เงินอุดหนุนจากสำนักงบประมาณไม่ครบอยู่ดี เพราะฉะนั้น รพ.สต. จึงไม่มีความเข้มแข็งประชาชนขาดความเชื่อมั่นและยังคงเป็นทางผ่านในการขอใบส่งตัวเพื่อไปรักษายังโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่าต่อไป ปัญหาต่อไปคือเรื่อง คนไม่ต่อ คือไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนคนที่จะทำงานบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยเฉพาะสุขภาพปฐมภูมิระดับท้องถิ่น ตามการจัดสรรงบประมาณ กำหนดไว้ว่าอัตรากำลังของโรงพยาบาล ขนาดเล็กต้องมี 7 คน เพื่อดูแลคนไข้ประมาณ 3,000 คน ขนาดกลางมี 12 คน เพื่อดูแลคนไข้ 8 พันคน และขนาดใหญ่ต้องมี 14 คนเพื่อดูแลคนไข้ 10,000 คน ทั้งนี้พบ 91% ของรพ.ทั่วประเทศ มีกำลังคนต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่ควรจะมี

ซัดสธ.กลางประชุมรัฐสภาปี 68 จัดงบไม่พอ ทำขาดแคลนบุคลากร!

นอกจากนั้น อบจ.ที่อยากเอางบไปช่วยอุดหนุนรพ.สต. ก็ช่วยได้อย่างจำกัด เพราะว่าติดที่พรบ.ของกระทรวงมหาดไทยที่มีมาตั้งแต่ปี 2542 เรียกว่าพรบ.ระเบียบบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่นซึ่งกำหนดให้อบจ.ไม่สามารถใช้งบประมาณเกิน 40% ของงบประมาณรายจ่ายช่วยอุดหนุนรพ.สต.ได้ สรุปก็คือ อบจ.ที่มีเงินมีกำลังอยากช่วยเหลือก็จะช่วยไม่ได้อยู่ดี ปัญหานี้แน่นอนว่าทำให้บุคลากรส่วนใหญ่ไม่พร้อมที่จะถ่ายโอนไปยังท้องถิ่นเพราะท้องถิ่นไม่สามารถทำให้เชื่อได้ว่าจะมีความเติบโตในอาชีพการงานเเล้วก็มีปัญหาเรื่องงบประมาณเช่นนี้

"นอกจากนี้จำได้ถึงนโยบายของท่านรัฐมนตรีช่วยสันติที่พูดถึงการเพิ่มแพทย์ไปบรรจุลงรพ.สต. เป็นจำนวน 30,000 คนเริ่มต้นที่ปีงบประมาณปี 68 ถึงปี 77 คือผลิตระยะเวลา 10 ปี อยากถามว่าครม.ไม่เอาแล้วใช่ไหมกับนโยบายนี้ ของท่านสันติซึ่งมีประโยชน์มาก แต่ก็ไม่มีปรากฏในร่างงบครั้งนี้" นางสาวกัลยพัชร กล่าว

นางสาวกัลยพัชร กล่าวในบางช่วงว่า ต่อมากระทั่งแพทย์ก็ไม่มีการผลิตเพิ่มและไม่มีเงินค่าจ้างแล้วแล้วสหวิชาชีพอื่น จะไม่ยิงถูกทอดทิ้งจากทุกท่านหรอ สหวิชาชีพอื่นเช่น นักจิตวิทยาชุมชน มีความสำคัญมากพวกเราก็รู้ปัจจุบันคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากขนาดไหนเยาวชนผู้สูงอายุ ที่มีภาวะเครียดก็จะปราศจากการเยียวยาการคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาหรือการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูจิตใจหลายคนต้องกลายเป็นโรคจิตเวชเรื้อรังกว่าจะถึงตอนนั้นเราจะไปรักษาก็มักจะสายไปเสียแล้ว คนไข้อาจมีอาการอารมณ์แปรปรวนทำร้ายคนอื่นหรือที่แย่ที่สุดคือทำร้ายตัวเองหรือที่จะจบชีวิตตัวเองในที่สุด

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

- “สมศักดิ์” แจงงบ68ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ดูแลปชช.-บุคลากร ทำกม. 3 ฉบับแยกตัวจาก ก.พ

- ‘ก้าวไกล’ จวกรัฐเป็นหนี้ผู้ประกันตนกว่า 6 หมื่นล้าน จี้จ่ายดอกเบี้ย 5% เพิ่มสิทธิประโยชน์

- รัฐบาลยันให้ความสำคัญงบสาธารณสุข เฉพาะยกระดับ 30บาทฯทุ่มงบกว่า 2.35 แสนล้าน