รองปลัด สธ. ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง "นพ.สสจ.ทุกจังหวัดทั่วประเทศ" เรื่องแนวทางปฏิบัติด้านการเงินการคลัง และการโอนสินทรัพย์ถาวรของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จำนวน 3,367 แห่ง ให้แล้วเสร็จก่อน 30 ก.ย. นี้ ให้เป็นไปตามแผนกระจายอำนาจ (ฉบับที่ 2)

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุขและประธานคณะอนุกรรมการการประเมินและเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้านทรัพย์สิน ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ถึง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกจังหวัด เรื่องแนวทางปฏิบัติด้านการเงินการคลัง และการโอนสินทรัพย์ถาวรของ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดยในหนังสือใจความสำคัญระบุว่า ตามแผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดให้กระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต้องดําเนินการ ถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 3,367 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 นั้น

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอเรียนว่า เพื่อให้การถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทําแนวทางปฏิบัติด้านการเงินการคลัง และการโอนสินทรัพย์ถาวร ให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ตามแนวทางปฏิบัติดังนี้

งานงบประมาณ

1. สำรวจยอดเงินประจำงวด ประจำปีงบประมาณ 2565 หากมีงบประมาณคงเหลือให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565

งานการเงิน

2. ตรวจสอบรายการเบิกเงินงบประมาณที่ยังจ่ายไม่หมด หรือยังไม่ได้จ่ายให้กับเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ให้เร่งรัดดำเนินการจ่ายโดยเร็วที่สุด

3. ดำเนินการเร่งรัดให้ลูกหนี้เงินยืมราชการ จากเงินงบประมาณ ดำเนินการชดใช้คืนเงินยืมราชการ หรือใบสำคัญ ไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

4. ให้ส่งใบเสร็จรับเงินเล่มที่ยังไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่หมด ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 คืนไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพร้อมหนังสือนำส่ง ฉบับที่ไม่ได้ใช้ให้ปรุ เจาะรู หรือตราประทับเลิกใช้ เพื่อมิให้นำมาใช้รับเงินได้อีก

งานทรัพย์สิน

5. ตรวจสอบข้อมูลสินทรัพย์ที่จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ระหว่างข้อมูลสินทรัพย์จากการบันทึกบัญชี กับทะเบียนคุมทรัพย์สิน และรายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี ให้ถูกต้องตรงกัน พร้อมแจ้งข้อมูลสินทรัพย์ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตามแบบฟอร์มรายละเอียดการโอนสินทรัพย์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายละเอียดประกอบรายงานสินทรัพย์รายตัว เพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลสินทรัพย์ในภาพรวมของจังหวัด ส่งกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัด สธ. จัดทำข้อมูลสินทรัพย์ในภาพรวมระดับกรม เพื่อส่งมอบสินทรัพย์ให้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

6. หลังจากกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ได้รับโอนสินทรัพย์จากสำนักงานปลัด สธ.เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการดังนี้

6.1 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดดําเนินการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ ของสถานีอนามัย เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาติส่งเสริมสุขภาพตําบล ที่จัดซื้อจากเงินงบประมาณ ออกจากระบบ Nety GFMIS Thai 6.2 สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตําบล ตําเนินการจําหน่ายสินทรัพย์ที่จัดซื้อจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณออกจาก ทะเบียนคุมทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้สังกัดเดิมสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยระบุในช่องหมายเหตุ " โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ตามพระราชบัญญัติฯ "

งานบัญชี

7. สอน. และ รพ.สต. ดำเนินการปิดบัญชีและจัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงฐานะการเงินและโอนทรัพย์สิน หนี้สิน ทุน ไปยกยอดบัญชีในสังกัด อบจ. ต้นสังกัดใหม่ และดำเนินการส่งงบทดลองก่อนปิดบัญชีและหลังจากปิดบัญชี งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงฐานะการเงิน แบบการโอนบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน ให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

8. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดรายงานผลการปิดบัญชีของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในภาพรวมจังหวัด ให้กองบริหารการคลัง สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทราบ

9. จัดทําหนังสือไปถึงธนาคารสาขาที่เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อขอเปลี่ยนรหัสหน่วยงาน (CIF) จากรหัสสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรหัสของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น