ศบค.เผยข้อมูลผู้ป่วยโควิด ใส่ท่อช่วยหายใจแนวโน้มน่าห่วง! เปิดอัตราการครองเตียงทั้งประเทศ  ส่วนการประเมินปิดโรงเรียน หลังติดเชื้อในเด็กนักเรียน พบว่า ติดเชื้อในสถานศึกษาเพียง 5.66% พร้อมเตรียมประชุม ศบค. ชุดใหญ่ 19 ส.ค.
 
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2565  ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวภายหลังการประชุม ศบค. ว่า สถานการณ์ติดเชื้อผู้ป่วย โควิด-19 พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 2, 166 รายในจำนวนนี้ป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ 476 ราย อาการหนัก 905 ราย  มีผู้เสียชีวิต 29 ราย  ซึ่งขณะนี้ศักยภาพของรพ.ในการรองรับผู้ป่วย ยังอยู่ที่17.1%  ส่วนวัคซีนเข็ม 1 ฉีดไป   57 ล้านคน เข็ม 2 ฉีกไปแล้ว 53 ล้านคนและเข็ม 3 ฉีดไป 31 ล้านคน  จึงอยากให้มีการฉีดวัคซีนเพิ่มในส่วนของเข็มกระตุ้น 

ทั้งนี้เมื่อดูรายละเอียดแนวโน้มปอดอักเสบ ในรอบ 14 วัน พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยใส่ท่อเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนจาก 393 ราย เป็น 476 ราย คน ทั้งนี้มาจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้เสียชีวิต 21 ราย  เพิ่มมาเป็น 29  ราย เมื่อดูผู้เสียชีวิตพบว่าอยู่ในกลุ่ม 608 ถึง 97%  และหากวิเคราะห์ในจำนวนนี้ผู้เสียชีวิต วันนี้ (4 ส.ค.) จะพบว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นถึง  22 ราย  และเมื่อดูจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่มีการลงทะเบียนแบบ OPSI  หรือการตรวจ แบบATK มี รวม  ในสัปดาห์ที่ 30 หรือระหว่าง 24-30 ก.ค. 65  มี  201,554 ราย หากเฉลี่ยเป็นการติดเชื้อรายวันจะมี 28,793 ราย 

"คาดการณ์ว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ในส่วนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น  ดังนั้น กลุ่ม 608 ควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่วนเสียชีวิต ก็แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

ส่วนศักยภาพการครองเตียงในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน ไม่ถึง 20% ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มสีเขียวเยอะมีแค่บางพื้นที่ที่อัตราของเตียงระดับ 3 แดงบางนิดหน่อย แต่เตียงผู้ป่วยยังสามารถขยายได้ ส่วนยาและเวชภัณฑ์มีเพียงพอ โดยยาโมลนูพิราเวียร์ มีเพียงพอ ย้ำการจ่ายยาควรทำโดยแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากห่วงคุณภาพ และอาจเกิดอันตราย 
 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า  ส่วนการติดเชื้อในสถานศึกษาข้อมูลจากกรมอนามัย เห็นว่า การติดเชื้อผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 18 ปี ในช่วงวันที่ 1 ม.ค.- 31 มี.ค. จะมีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่าในช่วงวันที่ 1 เม.ย.-31 ก.ค.  และมีอัตราการติดเชื้อในสถานศึกษา คิดเป็น 10% และเมื่อมีการสัมภาษณ์การติดเชื้อในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา จากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 49,242 คน โดย กรมอนามัย พบว่า นักเรียนติดโควิด ร้อยละ 30.56 ยังไม่เคยติดเชื้อ ร้อยละ 68.53
ทั้งนี้ เมื่อดูมาตราการ 6-7-7  พบว่าได้รับความร่วมมือในส่วนบุคคล และสถานที่เป็นอย่างดี แต่อาจมีข้อจำกัดบางเรื่อง เช่น สังเกตอาการ  แต่อย่างการปฎิบัติตามเกณฑ์โควิดฟรีเซ็ตติ้งได้รับความร่วมมือถึง  90%  โดยศบค.เน้นย้ำมาตรการความปลอดภัย 6-6-7 เพื่อลดความเสี่ยงโควิดในสถานศึกษา ดังนี้

-6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด และทำความสะอาด
-6 มาตรการเสริม ดูแลตนเอง ใช้ช้อนกลางส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้าออกโรงเรียน สำรวจตรวจสอบ และกักกันตัวเอง
-7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา ทั้งการประเมิน และรายงานผลผ่าน MOE COVID อย่างต่อเนื่อง  ทำกิจกรรมแบบกลุ่มย่อย อาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ความสะอาด น้ำ ขยะ เป็นต้น

ส่วนการประเมินการปิดรร.หลังมีการติดเชื้อในเด็กนร.พบว่าเป็นการติดเชื้อจากอื่นๆมากที่สุด   รองลงมาติดเชื้อจากบุคคลในบ้าน และมีแค่ 5.66%  ที่ติดเชื้อในรร. ส่วนอาการป่วยที่พบมากที่สุดในนักเรียน คือ มีไข้  รองลงมาไอ น้ำมูก ปวดตามตัว และหากประเมินว่า เด็กนักเรียน เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในครอบครัวหรือไม่ พบว่า เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในครอบครัวแค่ 0.36% ทั้งนี้เตรียมที่ประชุมศบค ชุดใหญ่ 19 ส.ค.นี้

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org