งานวิจัยชี้ โควิด-19 เสี่ยงไม่หายขาด มีโอกาสกลับเข้ามารับการรักษาอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงวัยที่มีอาการป่วยรุนแรง
งานวิจัยล่าสุดของแคนาดา พบว่า 1 ใน 10 ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะต้องกลับเข้าไปรับการรักษาใหม่อีกครั้ง หรือเสียชีวิตภายในหนึ่งเดือนต่อมา โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ได้ข้อสรุปดังกล่าวจากข้อมูลในการศึกษาคนไข้ในวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในเมือง อัลเบอร์ตา และเมืองออนตาริโอ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 จำนวน 843,737 คน
ดร. ฟินเลย์ แมคอลิสเตอร์ หัวหน้านักวิจัยของมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตากล่าวว่าคนไข้ในกลุ่มดังกล่าวที่เข้ามารับการรักษาจากโรคโควิด-19 มีจำนวน 5% ที่ใช้เวลาในการรักษาเฉลี่ยที่ 8 วัน 14% รักษาในห้องผู้ป่วยภาวะวิกฤติ 18% เสียชีวิตระหว่างการรักษาพยาบาล และ 11% ของผู้ป่วยที่ให้กลับบ้านได้จะต้องเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้ง
โดยสาเหตุที่ต้องมารับการรักษาใหม่อีกครั้ง 37% เกิดจากอาการโรคโควิด-19 6% เกิดจากอาการปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ 4% มาจากอาการหัวใจล้มเหลว 3% มาจากโรคลิ้มเลือดอุดกั้นในปอด และอีก 3% มาจากภาวะสับสน อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ถึงแม้อัตราการเข้ารับการรักษาใหม่จะมาจากสาเหตุโรคโควิดค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอาการอื่นๆ แต่อัตราส่วนยังไม่ถือว่าสูงผิดปกติ
“ถึงแม้หลายคนจะเกรงว่าอัตราการเข้ารับการรักษาใหม่อีกครั้งของผู้ป่วยโควิดจะสูงกว่าโรคทั่วไป แต่จากข้อมูลการวิจัยพบว่ายังไม่มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆในช่วงระยะเวลา 30 วันที่ออกจากโรงพยาบาล ดังนั้นระบบปัจจุบันที่ให้คนไข้กลับไปรักษาตัวที่บ้านจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน” ดร. ฟินเลย์กล่าว
ในขณะที่ดร.ไรอัน มาเวส อาจารย์ด้านโรคติดต่อ ของ Wake Forest School of Medicine ในนอร์ท แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่างานศึกษาวิจัยบางชิ้นที่ศึกษาในคนไข้ที่ไม่มีอาการปอดอักเสบ พบว่าอัตราการเข้ารับการรักษาใหม่สูงถึง 25% โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งเขามองว่าอัตราดังกล่าวค่อนข้างต่ำกว่าที่คาดการณ์
งานวิจัยดังกล่าวยังระบุว่า กลุ่มที่เสี่ยงต่อการกลับเข้ามารับการรักษาใหม่นั้น คือกลุ่มผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวหลายโรค หรือคนไข้ที่ต้องกลับไปรักษาต่อที่สถานพักฟื้นคนชรา และกลุ่มคนที่เคยเข้ารับการรักษาโรคในภาวะวิกฤติ โดยดร.ไรอันได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า คนไข้ที่ป่วยรุนแรงด้วยโรคโควิด-19 มักจะมีอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างจากคนทั่วไป และอาการก็จะยาวนานถึงแม้ว่าจะไม่พบเชื้อแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า 91% ของผู้ป่วยโควิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของเมืองอัลเบอร์ตา และ 95% ในเมืองออนตาริโอ พบว่าไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงด้านความผิดปรกติของภาวะจิตใจ โดยเฉพาะด้านความเครียด วิตกกังวล และโรคอารมณ์แปรปรวนสองด้าน โดยมีความเป็นไปได้ว่าเชื้อโรควิด-19 ไปทำลายเซลล์ส่วนใหญ่ในร่างกายก่อให้เกิดความเครียดได้
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Psychiatry พบว่า คนไข้ที่มีอาการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคทางระบบประสาทภายใน 12 เดือนหลังจากมีอาการ ซึ่งอาการที่พบได้ ประกอบไปด้วย ความวิตกกังวล หลงลืม อาการทางจิตเวช ภาวะซึมเศร้า และโรคอารมณ์แปรปรวนสองด้าน โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 8 ล้านคน พบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 มีอัตราการป่วยทางระบบประสาทภายใน 12 เดือนหลังจากมีอาการ สูงกว่าคนไข้ในโรคอื่นๆ
ดร. อเล็กซ์ ดิมิท ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา กล่าวว่า คนไข้ที่มีอาการหนัก มักจะมีอาการภาวะขาดออกซิเจน ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะอื่นๆที่รุนแรง และเมื่อร่างกายเจ็บป่วย จะมีผลกระทบแน่นอนกับสมอง จากการติดเชื้อ หรือภาวะออกซิเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของเยื่อสมองถูกทำลาย
งานวิจัยอีกชิ้นที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปเช่นเดียวกัน จากการศึกษาในกลุ่มทหารผ่านศึก 153,848 คนในสหรัฐอเมริกาที่ติดเชื้อโควิด-19 เปรียบเทียวกับจำนวนประชากร 5 ล้านคนที่ไม่ติดเชื้อ และประชากรกลุ่มควบคุมอีก 6 ล้านคน พบว่าผู้ป่วยโควิด-19 มีอัตราป่วยโรคทางระบบประสาทสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ รวมถึงคนไข้ที่ป่วยจากไข้หวัดทั่วไปด้วย
Source: About 1 in 10 People Hospitalized with COVID-1 Are Readmitted Organization Die Within 30 Days, www.healthline.com
People Hospitalized for COVID-19 Have Higher Risk for Anxiety, Depression, Bipolar Disorder, www.healthline.com
Photo: WHO
- 542 views