เพจสมาพันธ์แพทย์แชร์ข้อมูลหมอโพสต์เสียดายแพทย์ขาดโอกาสประชุมวิชาการ เหตุถูกเบียดโควต้าการเดินทาง ต้องให้ผู้บริหาร และผู้ติดตามใช้ ทั้งที่ไม่ได้ร่วมประชุม
การไปประชุม AMEE ในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาการด้านแพทยศาสตร์ ศึกษากับนานาชาติ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกหลายแห่งมีโควต้า อาจารย์แพทย์ที่มีผลงานนำเสนอเข้าร่วมประชุมเพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการเรียนการสอนทางคลินิก ขณะเดียวกันผู้บริหาร,ผอ.รพ. และผู้ติดตามก็ใช้โควต้า ดังกล่าวแต่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งทำให้จำนวนอาจารย์แพทย์ที่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมลดลง จึง ขอให้ท่านเข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่อเป็น ตัวอย่างที่ดี(role model)ของอาจารย์แพทย์ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาโรงพยาบาลต่อไป
ช่วงนี้สถานการณ์โควิดโอไมครอนเข้าสู่ช่วงขาลงแล้วพร้อมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น(endemic disease) ในเดือนกรกฎาคม65นี้ ทุกจังหวัดจึงต้องมีแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องอัตราการฉีดวัคซีนในการควบคุมอัตราการป่วยและตายเพื่อรองรับความเสี่ยงของการเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสหากประชากรในชุมชนมีherd immunity ไม่เพียงพอ ช่วงนั้นเราคงเปิดประเทศและประชาชนสามารถเดินทางไปกลับทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเสรี
ศูนย์แพทย์เองก็คงต้องวางแผนการไปประชุม AMEE&OTTAWA ซึ่งหลายศูนย์แพทย์ก็ได้ส่งpaper และได้รับการ submit เป็นส่วนใหญ่ อาจเป็นเพราะจำนวนpaper รวมที่เข้าสู่การพิจารณามีน้อย สำหรับผอ. ศูนย์แพทย์ก็คงต้องปวดหัวกับการคัดเลือกอาจารย์แพทย์ไปประชุมต่างประเทศและยังต้องบริหารจัดการกับทางฝั่งของโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีที่ว่างสำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาลและผู้ติดตาม ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความลำบากใจของ ผอ. ศูนย์แพทย์
คำถามคือผู้บริหารของกระทรวง สธ. ในฐานะ policymakers มีความจำเป็นต้องไปประชุมศึกษาดูงานหรือไม่ ผมคิดว่าจำเป็นมากหากเป็นการไปศึกษาดูงานอย่างจริงจังเพื่อให้เข้าใจมุมมองของแพทยศาสตรศึกษา ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ให้เป็น professional competently 21st century doctors อันจะทำให้ ศูนย์แพทย์เกิดการพัฒนางานด้านการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ของโครงการCPIRD แต่ข้อเท็จจริงที่เรามองเห็นคือผู้บริหารเมื่อไปประชุมต่างประเทศจะแยกตัวออกไปไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่ conference hall จัดเอาไว้
ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากหากเป้าหมายการไปประชุมของผู้บริหารมันตรงข้ามกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ healthcare sectorด้านserviceเชื่อมโยงกับ educational sector ด้านการเรียนการสอน เพื่อส่งมอบ Quality healthcare ที่ตรงกับ need, demand และ Challenge ของผู้ป่วยและ Community สามารถ implement จากระดับ Global ลงสู่ระดับ Glocalization ของประเทศไทย medical education landscape ที่จะต้องเปลี่ยนไปในช่วง post covid era พฤติกรรมในการพบแพทย์และความต้องการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป Medical student journey ,การใช้ Telehealth และ Test &Treat at point of care แบบ One stop service และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค meta-verse ซึ่งต้องใช้
เทคโนโลยี เช่น AR,VR,Sim based ฯลฯนำมาใช้ในการสอนเนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนผู้ป่วยที่ลดลงและเป็นเรื่อง patient safety& practical procedure เราควรจะมีมาตรการ commitment ก่อนไปประชุมต่างประเทศกับผู้บริหารว่ามีกิจกรรมที่ต้องทำอะไรบ้าง เราคงไม่ปฏิเสธว่าการไปศึกษาดูงานต่างประเทศมักพ่วงกับการทัศนศึกษาเชิงศิลปะวัฒนธรรมของประเทศนั้น มันเปรียบเสมือน การ เรียนรู้ Art&Science เป็นของคู่กันและส่งเสริมให้เกิด creativity& imagination
ที่สามารถนำกลับมาพัฒนาประเทศเราได้ การไปประชุมครั้งนี้เป็น AMEE Conference ไม่ใช่AMEE Tour แต่ผู้บริหารไปประชุมแล้วได้แต่ Art ไม่ได้ Science กลับมาเลย ผมว่าเป็นการลงทุนที่สูญเสียงบประมาณของแผ่นดินเป็นอย่างมาก return on investment(ROI) แทบจะเป็นศูนย์เมื่อเปรียบเทียบกับคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์เราจะเห็นความแตกต่างและความตั้งใจในการเข้าประชุมศึกษาดูงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ก็เปรียบได้กับคณบดี ต้องกำกับดูแล ขับเคลื่อน3 พันธกิจ ซึ่งเป็นเสาหลักของโรงพยาบาลคือ Service, Teachings & Research
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงมีหน้าที่ connecting the dots เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ของโรงพยาบาล เมื่อมุมมองด้านTeaching ขาดไปก็จะทำให้โรงพยาบาลศูนย์เสียโอกาสในการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับคณะแพทยศาสตร์ซึ่งมีการพัฒนาไปเร็วมากอย่างก้าวกระโดด การพัฒนาด้าน medical education จึงต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็น policymakers ลงสู่ระดับปฏิบัติการที่ศูนย์แพทย์ เมื่อหัวไม่ส่ายหางก็ไม่กระดิก
ผมคิดว่าผู้อำนวยการศูนย์แพทย์หลายแห่งคงมีความลำบากใจในการ approach กับผู้อำนวยการโรงพยาบาล บางครั้งก็พูดไม่ออก บอกไม่ถูก มันเป็นสิ่งที่ต้องเก็บไว้ภายใน ความถูกต้องความ ยุติธรรม ธรรมาภิบาลอยู่ที่ตรงไหน?ใครจะช่วยพวกเราบ้าง หากพวกเรายึดมั่นค่านิยม MOPH ก็จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น งานของศูนย์แพทย์ก็จะไม่พัฒนา อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องมีสำนึกรับผิดชอบต่อการจัดสรร budget ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ stakeholder ของเราคือนักศึกษาแพทย์และ postgraduate
ผอ. ศูนย์แพทย์จึงต้องมองภาพเชิงระบบและมองไปข้างหน้าแบบTelescopic,macroscopic และ microscopic ให้รอบด้าน สามารถกำหนดแผนแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณ(budget management&plan) เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างการใช้ทรัพยากรร่วมกันของศูนย์แพทย์และโรงพยาบาล พวกเราต้องอย่าลืมว่างบประมาณเงินอุดหนุนของศูนย์แพทย์ทั้งหมดมาจาก งบรายหัวของจำนวนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกทั้ง 3 ชั้นปีในอัตรา 300,000 บาทต่อคนต่อปี เป็นงบประมาณของแผ่นดินมาจากภาษีอากรของประชาชนจึงต้องใช้จ่าย อย่างเหมาะสม โปร่งใสและตรวจสอบได้อย่างมี ธรรมาภิบาล ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ ผอ.ศูนย์แพทย์ กรณีการไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ ศูนย์แพทย์บางแห่งอาจต้องแต่งตั้ง แพทย์ใช้ทุน, แพทย์พี่เลี้ยง,ผู้บริหาร กระทรวงสธ.ให้เป็นอาจารย์แพทย์ตามคำสั่งที่ได้รับมา
โดยความเห็นส่วนตัว มันมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งเพราะแม้ว่าจะถูกต้องตามระเบียบที่เขียนไว้แต่การเป็นอาจารย์แพทย์ไม่ใช่มีเพียงแต่ตำแหน่งแต่มันต้องมีหน้าที่คือหลักฐานการสอนนักศึกษาแพทย์เป็นจำนวนชั่วโมงให้ปรากฎชัด เจนและที่สำคัญคือโครงการร่วมผลิตกับคณะแพทย์จะมีคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์พิเศษดังนั้นคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์โดยมีระยะเวลากระชั้นชิดจึงย่อม ผิดปกติจึงมีความเสี่ยงหากต้องถูกตรวจสอบโดย สตง. ปัจจุบันสังคมสาธารณะมีการตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยราชการผมจึงมีความเป็นห่วงสำหรับน้องฯ ผอ.ศูนย์แพทย์ที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ควรทำทุกเรื่องให้ถูกต้องและโปร่งใสครับ การทำสีดำให้เป็นสีขาว อย่าทำเด็ดขาด(must not) มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การทำสีเทาให้เป็นสีขาวสามารถทำได้ (should be considered)หากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและส่วนรวม แต่ดีที่สุดคือทำสีขาวให้เป็นสีขาว (do The thing right)ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตัว
ผมอยากจะเรียนว่าผมได้มีโอกาสไปประชุมAMEE สมัยเป็นผอ. ศูนย์แพทย์ได้เห็นท่านอาจารย์วราวุธ สุมาวงศ์ ซึ่งท่านยังคงมาร่วมประชุม วิชาการเพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาด้านแพทย์ศาสตร์ศึกษาแม้ว่าท่านจะเดินเหินลำบากโดยมีไม้เท้าและคนประคอง ผมไม่รู้จะบอกว่ารู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น สิ่งเหล่านี้ น่าจะเป็นตัวอย่าง(role model)ของอาจารย์แพทย์อาวุโส ที่ยังคงติดตามองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องและเป็น Life long learner จริงฯ สมควรที่พวกเราจะเรียนรู้เป็นแบบอย่าง
อาจารย์ คงไม่ได้คิดว่า knowledge is power เหมือนผู้บริหารบางท่านที่หวงความรู้เพื่อใช้เป็นอำนาจต่อรอง (Maslow hammer)ซึ่งความเป็นจริงแล้ว Application of knowledge is true power ต่างหากเพราะมันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทั้ง personal and professional อย่างแท้จริง
โดยสรุปแล้วผมคิดว่าสถานการณ์โควิดคงจะได้ Disrupts และให้บทเรียนกับภาคส่วนต่างๆทั้ง economic, social, Health public ไม่เว้นแม้แต่ Educational sector ถึงเวลาแล้วที่พวกเราคงต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในการ reform การบริหารจัดการทรัพยากร
Resource sharing ระหว่างศูนย์แพทย์และโรงพยาบาลให้เกิดความสมดุลย์เพื่อช่วยให้การดำเนินงานของศูนย์แพทย์เกิดการพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมย์ของการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทต่อไป
ผศ.(พิเศษ) นพ. จุลพงศ์ จันทร์ต๊ะ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม รพ. เชียงรายประชานุเคราะห์
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : "หมอไชยเวช" แจงหลังดรามา "หมอท้อ" ถูกผู้ติดตามใช้โควต้าเดินทางประชุมนานาชาติ ตปท.
- 2004 views