หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ เผย 5 ความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง พร้อมให้รายละเอียดการกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวคนแต่ละคน ขณะเดียวกันเผยข้อมูลฉีดเข้าผิวหนังลดเสี่ยงอันตราย สร้างความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง โดยระบุว่า
ความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง คือ
1- ภูมิขึ้นเท่ากับเข้ากล้าม
2- ภูมิอยู่นานพอกัน
3- ผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างน้อย 10 เท่า
4-ฉีดสบายๆ
5-เรื่องของทีเซลล์ การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีนสองชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ที เชลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณสี่วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อ
การกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวคนแต่ละคน ที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูงกลางต่ำ ซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010 ขึ้นอยู่กับอายุและมีโรคประจำตัวหรือไม่
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน ทั้งนี้แม้แต่ SV SV AZ แม้กระตุ้นภูมิได้น้ำเหลืองได้สูงมากแต่การตอบสนองของที่เซลล์นั้นยังพบได้น้อยก็มี การลดความรุนแรงไม่ได้ขึ้นกับทีเซลล์อย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับภูมิในน้ำเหลือง และยังขึ้นอยู่กับความรวดเร็วทันท่วงทีในอวัยวะนั้นๆ นั่นคือ ทันที ถูกที่ ถูกเวลา
ตั้งแต่ 37 ปีที่แล้ว ที่มีการริเริ่มฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เจอความเข้าใจผิดว่า ภูมิขึ้นน้อย-ภูมิอยู่สั้น-ผลข้างเคียงมาก-ฉีดยาก ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเข้าใจผิดทั้งหมด และในวัคซีนโควิดเช่นกันพิสูจน์ซ้ำ ทั้งสี่ข้อ ส่วนในข้อที่ห้านั้น อาจต้องเข้าใจว่าแม้การติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติที่เป็นการสร้างภูมิที่ดีที่สุด ระบบความจำทีเซลล์นั้นก็ไม่ได้อยู่ยั่งยืนตลอดและหายไปตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปก็มี ส่วนภูมิในน้ำเหลืองหายไปภายในเป็นสัปดาห็ก็มีในบางราย
(ข่าวเกี่ยวข้อง : "หมอธีระวัฒน์" เผยภาพฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง)
ภาพจากเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
ทั้งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ยังให้ข้อมูลว่า สถานการณ์โอไมครอน ที่ดูอาการไม่หนัก ต้องระวังผลข้างเคียงจากวัคซีน เนื่องจากโอไมครอนน่าจะดูดี เพราะที่อยู่โรงพยาบาลจำนวนไม่มากจากข้อมูลประเทศอังกฤษ และอาการไม่หนักมาก เสียชีวิต 39 ราย และหลังติดเชื่ออาการเกิดขึ้นเร็วภายในสองวัน และจบภายในแปดถึงเก้าวัน กักตัวถ้าไม่มีอาการ 5 วัน
จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ โอไมครอนครองสัดส่วนเป็น 90% (จาก ดร จอห์น แคมป์เบล 29/12/64 )
ดังนั้นในประเทศไทยถ้าเป็น ตามในประเทศอังกฤษ โอไมครอนเข้ามาแทนที่ เดลต้าโดยถ้ายังไม่ยกระดับความรุนแรง จาก “ร้ายอาจกลายเป็นดี ” ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่มีสายประหลาดเกืดใหม่ด้วย เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนที่ระดมมหาศาลขณะนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยคุณต้องฉีดเป็นเข้าชั้นผิวหนัง
จากข้อมูล สปสช มีผู้ขอชดเชยค่าเสียหาย ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด 11,911 ราย เป็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ 955 ล้านบาท และยังมีกรณีที่อยู่ในการอุทธรณ์เลียชีวิต 19.15% ของ 11,911 ราย นั่นคือ มากกว่า 2000 รายเกิดจากวัคซีน แอสตร้า 6,043 ซิโนแวค 4,239 ซิโนฟาร์ม 467 ไฟเซอร์ 811 ทั้งนี้ต้องจับตา ไฟเซอร์ ที่เริ่มใช้ขณะนี้ และแอสตร้า ที่ใช้แต่แรก จนปัจจุบัน ในเรื่องผลข้างเคียงและการเสียชีวิต
- 299 views