ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา เครือข่าย Sustainable Development Solutions Network, Thailand ได้แก่ สำนักงานสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคีอื่น ๆ ได้จัดเวที “พรีฟอรั่ม-เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” นำโดย ดร.นพ. ทักษพล ธรรมรังสี ประธานการจัดงาน

ช่วงแรกเป็นการบรรยาย โดยคุณ Kate Sutton ผู้อำนวยการ of the UNDP Regional Innovation Centre for Asia in the Pacific เรื่อง ความจำเป็นของการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วมแบบสอดประสานกันจากหลายภาคส่วน สำหรับการดำเนินงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จำเป็นต้องอาศัย 3 วิธีคิด และ 1 กลไก เพื่อเอาชนะความท้าทายใหม่ในปัจจุบัน คือ การคิดอย่างเป็นระบบ, การคิดแบบหมุนเวียน, การใช้กรอบคิดภูเขาน้ำแข็ง และกลไกสร้างการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน การแบ่งปันจุดแข็งด้านข้อมูลและทรัพยากร การเรียนรู้ความซับซ้อนของปัญหา และร่วมแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน พร้อมทั้งให้คำแนะนำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในสถานการณ์ COVID-19 ไว้ว่า ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ควรมีการกระจายรายได้และการเปลี่ยนระบบภาษี เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น, ด้านสิ่งแวดล้อม ควรนำนวัตกรรมทางสังคมเข้ามาใช้ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสถานการณ์ภูมิอากาศ และด้านนโยบายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ควรหาจุดคานงัดที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันออกไป

ช่วงที่ 2 นำโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง “ความรู้” และการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนควรมีรากฐานสองอย่างด้วยกัน คือ ความรู้ที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางเทคนิค และจริยธรรมที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางจิตวิญญาณ โดยมองว่าที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเข้ามาช่วยลดความยั่งยืนที่ปั่นป่วนที่มาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างรวดเร็ว Disruptive sustainability

และช่วงสุดท้าย วงเสวนา นับถอยหลังก่อนปี 2573 ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: บทบาทของแต่ละภาคส่วน และ การนำ “ความรู้” มาขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นำโดย ผศ. ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) เป็นผู้ดำเนินรายการ และวิทยากรรับเชิญอีก 4 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย และดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน กล่าวว่าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมาจากการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายเพื่อบรรลุผลสำเร็จการพัฒนาที่ยั่งยืน และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ตัวอย่าง เช่น SDG 3 จะประสบความสำเร็จต้องเชื่อมโยงกับ SDG1 ขจัดความยากจน SDG2 ขจัดความหิวโหย SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ SDG6 สุขาภิบาล น้ำสะอาด SDG8 งานที่มีคุณค่าและเศรษฐกิจที่เติบโต SDG10 สังคมเมืองที่ดี และที่สำคัญคือ SDG11 การลดความเหลื่อมล้ำ โควิด-19 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า โรคระบาดไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะด้านสุขภาพ แต่ส่งผลต่อทั้งสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี

ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำ เป็นหัวใจของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในสถานการณ์สังคมปัจจุบันที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน การรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วม การตระหนักความทุกข์ร้อนร่วมกัน ทั้งประเทศมหาอำนาจและ ประเทศขนาดเล็ก และทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ปัจจุบันจนถึงอนาคต โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ไม่สามารถอยู่ภายใต้การดำเนินการแบบสั่งการ หลายภาคส่วนจำเป็นต้องมีแรงจูงใจประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การร่วมมือโดยสมัครใจที่จะทำเพื่อเป้าหมายเดียวกัน และการสร้างสภาพแวดล้อมทางนโยบาย ให้สามารถพูดคุยกันได้ และมีพื้นที่แลกเปลี่ยนที่จะแชร์ความรู้ร่วมกันอย่างปลอดภัยจะทำให้เราสามารถก้าวข้ามไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

คุณวิเชียร พงศธร กล่าวว่าการสร้าง mindset ของสังคมว่าเราเป็นเจ้าของสังคมร่วมกัน กลไกสำคัญคือ “บุคคล” และการสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศนิเวศ ควรมีการผลักดันการเรียกร้องจากภาคประชาชน โดยใช้กลไกการสื่อสารสาธารณะ และชี้ให้เห็นข้อกังวลและความท้าทายที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ปะกอบด้วย ความสำนึกและตระหนักรู้ของสังคมว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ด้านความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม และคอรัปชั่น, ความพร้อมด้านการใช้งานข้อมูลความรู้ ถูกกระจายไปตามที่ต่าง ๆ มีมากน้อยเพียงใด และความร่วมมือของภาคส่วนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีจำกัด

ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ มองว่าบทบาทภาควิชาการในการขับเคลื่อน SDG มี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ “AAA” Active partner ทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์ประเทศ และประชาชน, Action based recommendation ทำวิจัยเพื่อตอบการดำเนินงาน และ Area based implementation การสร้างกลไกวิชาการระดับพื้นที่เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 โดยมุมมองและบริบทประเทศไทย แบบองค์รวมทั้ง 5 ด้าน ผู้คน, โลก, ความเจริญ, สันติสุข และการมีส่วนร่วม เพื่อบรรลุการลดปริมาณความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มคุณภาพความเท่าเทียม อย่างไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ Ad-Hoc Working Group Meeting ในเดือน พ.ย. - ธ.ค. 2564 โดยมีประเด็นหารือ 5 Entry points for transformation เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และกิจกรรม Thailand Sustainable Development Forum 2022 ในเดือน ม.ค. 2565 เพื่อ call to action กิจกรรม Ad-Hoc Working Group Meeting ทั้ง 2 ครั้งที่ และเปิดตัวรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565

เรื่องที่เกี่ยวข้อง