วัคซีน Sputnik V (สปุตนิก วี) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยาแห่งชาติกามาเลยา (Gamaleya) (ประเทศรัสเซีย) ซึ่งได้รับการอนุมัติใช้ใน 70 ประเทศทั่วโลกและมีประสิทธิภาพถึง 91.6% ตามผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 3 ซึ่งได้ตีพิมพ์บนเว็บไซต์วารสารทางวิทยาศาสตร์ The Lancet เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม วัคซีนชนิดนี้ยังคงเป็นหนึ่งในวัคซีนที่มีการส่งต่อข้อมูลที่มีความบิดเบือนความจริงเป็นจำนวนมากในโลกออนไลน์ ตั้งแต่เริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน ทางหน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริง Chequeado (ประเทศสเปน) ได้ระบุ 4 ข้อมูลที่มีเนื้อหาบิดเบือนข้อเท็จจริงที่มีการแชร์วนซ้ำ และต้องตรวจสอบพบบ่อยที่สุด ดังนี้

ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 42 วัน หลังจากได้รับวัคซีนสปุตนิก วี 

ข้อสรุป : ข่าวที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ

ข้อมูลนี้เกิดขึ้นหลังจากคำแถลงของ ทาเทียนา โกลิโควา รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2020 ซึ่งกล่าวว่า “ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรหลีกเลี่ยงการไปพื้นที่สาธารณะ และลดการบริโภคยาและแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจไปกดภูมิคุ้มกันภายในช่วง 42 วันแรก หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก”ส่งผลให้สื่อกระแสหลักไปจนถึงสื่อท้องถิ่นหลายแห่ง นำคำจากแถลงการนี้ออกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ซึ่งระบุว่า ทางการรัสเซียประกาศสั่งห้ามประชาชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 42 วัน หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก ซึ่งในสถาณการณ์ช่วงนั้นของประเทศรัสเซียได้เริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนสปุตนิก วี นั่นเอง 

สร้างความปั่นป่วนให้แก่ อเล็กซานเดอร์ กินต์สเบิร์ก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยาแห่งชาติกามาเลยา ซึ่งเป็นผู้พัฒนาวัคซีนสปุตนิก วี ต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของข้อมูลเท็จนั่น และได้ออกมาชี้แจงว่า "ไม่ได้ออกข้อห้ามสำหรับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิงในระหว่างการที่ได้ฉีดวัคซีน" แต่เป็น "ให้จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้อยู่ในบริมาณที่เหมาะสมจนกว่าร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโควิด-19"

ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณระดับปานกลางหลังจากฉีดวัคซีนสปุตนิก วี หรือวัคซีนอื่น ๆ ไม่ได้ส่งผลต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน 

ด้านศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยา Jorge Geffner ได้ออกมาอธิบายยืนยันว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณระดับปานกลางนั่นไม่ได้ไปกดภูมิคุ้มกัน นอกเสียจากว่าจะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มในปริมาณที่มากเกินไปจนมันสามารถที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะโรคตับแข็งในรูปแบบเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของตับลดลงได้”

ทั้งยังมีข้อมูลส่งเสริมและสนับสนุนข้อเท็จจริงจาก Eva Acosta นักวิจัยจาก Conicet และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ระบุว่า “มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บอกว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำและมากเกินไปจะไปลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากวัคซีน แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าห้ามไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยสินเชิง” 

พบผู้เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนสปุตนิก วี

ข้อสรุป : ข่าวที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ

หลังจากการเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนในอาร์เจนตินาเมื่อปลายเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2020 กลับมีข้อความชุดหนึ่งเริ่มแพร่กระจายบนโลกออนไลน์ซึ่งระบุเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องว่า มีพยาบาลและสิบโทของกองทัพอาร์เจนตินาเสียชีวิตลา หลังจากได้รับวัคซีนจากประเทศรัสเซีย ซึ่งก็คือวัคซีนสปุตนิก วี ของรัสเซีย

หลังจากนั้นไม่นานทางกองทัพอาร์เจนตินาได้ออกมาแถลงสยบข่าวลือนี้พร้อมยืนยันว่า พยาบาลที่ตกเป็นข่าวลือนั่นได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลซาปาลาเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2021 เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลันซึ่งเป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด" และ "ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 "

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจังหวัด Neuquén (นิวเกวน) คุณ Andrea Peve ได้ออกมายืนยันผ่านบัญชี Twitter ส่วนตัวว่า "เกี่ยวกับข่าวลือที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง และขอย้ำว่า พยาบาลคนดังกล่าวยังไม่ได้รับวัคซีนสปุตนิก วี"

อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีการเผยแพร่ที่กล่าวไปข้างต้นนั่นไม่ใช่ข้อมูลเท็จเพียงอย่างเดียวที่มีการนำไปเชื่อมโยงกับผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและการเสียชีวิตเกี่ยววัคซีนสปุตนิก วี ที่รัสเซียพัฒนาขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นเอง ก็มีเนื้อหาเท็จแพร่ระบาดไปทั่วว่า แพทย์ของสำนักงานตำรวจสหพันธ์เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนสปุตนิก วี และวัคซีนดังกล่าวถูกระงับการฉีดในรัฐโรซาริโอ ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีน เนื้อหาเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นเท็จทั้งหมด

ความจริงก็คือ วัคซีนสปุตนิก วี มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 

สำหรับอาการที่ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนสปุตนิก วี ที่พบบ่อยที่สุดคือ : ปวดศีรษะ มีไข้ และปวดบริเวณที่ฉีด

วัคซีนสปุตนิก วี จะเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม (DNA) ของมนุษย์

ข้อสรุป :  ข่าวที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ

มีความเชื่อแบบผิด ๆ ที่สร้างความกลัวมากมายว่า วัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่าอาจจะเข้าไปเปลี่ยน DNA ของมนุษย์ได้ ซึ่งนี้เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ผิด ๆ ที่พบบ่อยที่สุดในโลกออนไลน์ และพบมากที่สุดในวัคซีนชนิด mRNA (ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา) รวมไปถึงวัคซีนชนิด viral vector (ไวรัสเวกเตอร์) อย่างสปุตนิก วี แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัคซีนโควิด-19 ไม่สามารถดัดแปลงหรือมีผลกระทบต่อสารพันธุกรรม (DNA) ได้ 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด (ไวรัสเวกเตอร์และ mRNA ) จะทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ขึ้นมา จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา แม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด

ด้านนักวิชาการได้ออกอธิบายเพิ่มเติมว่า สำกรับการดัดแปลงพันธุกรรมนั่น จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับการสอดแทรก DNA แปลกปลอมเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ของมนุษย์โดยเจตนา และไม่มีทางที่วัคซีนจะทำเช่นนั้นได้

การทำของวัคซีน คือ การฝึกระบบภูมิคุ้มกันให้รู้จักเชื้อโรคที่พยายามแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่ทำได้โดยการฉีดแอนติเจนของไวรัสหรือไวรัสที่อ่อนแอซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผ่านการผลิตแอนติบอดี

เว็บไซต์ของวัคซีนสปุตนอก วี เผย ฉีดวัคซีนโดสแรกเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานจะมีประสิทธิภาพลดลง

ข้อสรุป : ข่าวที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ

ข้อมูลได้เผยแพร่เป็นวงกว้างผ่าน Instagram ที่ใช้ภาพหน้าจอของเว็บไซต์ sputnikvaccine.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของผู้พัฒนาวัคซีนสปุตนิก วี ซึ่งมีภาพแสดงกราฟชื่อ “ข้อดีของการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน” เกี่ยวกับภาพนั้นมีการระบุเนื้อหาไว้อย่างไม่ถูกต้องคือ "บนหน้าเว็บไซต์ของวัคซีนสปุตนิก วี แสดงให้เห็นว่า การรับยาโดสแรกเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการสูญเสียประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง"

แต่ทางเว็บไซต์ของวัคซีนสปุตนิก วี ที่โพสต์นั่นอ้างถึง กลับไม่ได้ระบุว่าวัคซีนโดสแรก "จะสูญเสียประสิทธิภาพลง เมื่อเวลาผ่านไป" ส่วนภาพกราฟที่แนบมาด้วยก็เป็นข้อมูลที่ผิด ขณะเดียวที่ภาพกราฟที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของวัคซีนสปุตนิก วี ไม่ได้แสดงข้อมูลว่า มีการสูญเสียประสิทธิภาพจากการฉีดวัคซีนเพียงแค่โดสแรก ด้วยเช่นกัน

ภาพนั่นแสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีแบบไวรัสเวกเตอร์ของไวรัส 2 ชนิดในแต่ละโดส (Ad26 + Ad5) ช่วยเพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังการให้โดสที่สอง แตกต่างจากวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เวกเตอร์เดียวกันสำหรับทั้งสองขนาดหรือครั้งเดียว 

ด้าน Pablo Scapellato  หัวหน้าแผนกโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาล Santojanni กล่าวว่า “ไม่มีการทดลองใดที่มีการศึกษาช่วงการให้ยาที่แตกต่างกันแบบ 'ตัวต่อตัว' ดังนั้นข้อความเกี่ยวกับการหมดอายุของประสิทธิภาพวัคซีนในโดสแรกนั่น เป็นเท็จแน่นอน”

ซึ่งเราทราบดีกันอยู่แล้วว่าวัคซีนเข็มที่ 2 ของวัคซีนทั้งหมด แม้แต่วัคซีนไวรัสโควิด-19 อื่น ๆ ที่ต้องใช้ 2 โดส จะเสริมสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และทำให้แข็งแกร่งและทนทานยิ่งขึ้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อวัคซีนจหายไปตามกาลเวลาแต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่จะระบบภูมคุ้มกันจะมีความอ่อนกำลังลงต่อการต้านเชื้อไวรัส  ซึ่งวัคซีนส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ด้วย

 

 

 

ภาพจาก @sputnikvaccine บัญชี Twitter official Sputnik V

อ้างอิง https://chequeado.com/el-explicador/cinco-desinformaciones-sobre-la-vacuna-sputnik-v-contra-el-coronavirus/