บนโซเชียลมีการโพสต์บิดเบือนข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการแท้งบุตรจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 กล่าวอ้างถึงผลการวิจัยเบื้องต้นที่ประเมินว่าสตรีมีครรภ์ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA เป็นระยะเวลาหลายเดือน โดยระบุว่า 82% ของสตรีที่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 30 วันถึง 20 สัปดาห์ ที่ได้รับการฉีดวัคซีนประสบกับการแท้งบุตร
ซึ่งผลลัพ์อาจจะมีเนื้อหาที่บิดเบือน เนื่อจากไม่ได้ทำการวินิฉัยพิจารณาในสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมด อีกทั้งผู้เข้าร่วมรับวัคซีนส่วนใหญ่ยังคงตั้งครรภ์อยู่และยังไม่ได้ติดตามผลลัพธ์เพื่อนำออกมาตีพิมพ์ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ว่าผลการตรวจเบื้องต้นจะไม่พบความเสี่ยงการแท้งบุตรที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มขึ้น ซึ่งนักจัยทราบดีว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังมีหัวข้อที่จำเกิดร่วมถึงมีไม่เพียงพอ ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
ด้านข้อมูลที่มีการศึกษาคือ บทความเรื่อง "ผลการวิจัยเบื้องต้นของ mRNA Covid-19 Vaccine Safety ในหญิงตั้งครรภ์" (Preliminary Findings of mRNA Covid-19 Vaccine Safety in Pregnant Persons) ได้รับการตีพิมพ์โดย New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน จัดทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของการตั้งครรภ์แบบ v-safe สำหรับ โควิด-19 โดยใช้ข้อมูลจากสตรีมีครรภ์ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา และส่งรายงานไปยังระบบการรายงานของรัฐบาลกลาง 3 ระบบที่ตรวจสอบความปลอดภัยของวัคซีน นักวิจัยทำการติดต่อผู้หญิงที่ลงทะเบียนการตั้งครรภ์ไว้ และเข้าฉีดวัคซีนได้ประมาณสามเดือนแล้ว จำนวน 3,958 ราย พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 712 ราย ได้ให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพดี ส่วนอีกจำนวน 104 ราย ผ่านการแท้งบุตร และมีกรณีหนึ่งรายส่งผลให้เสียชีวิต ส่วนการนำไปสู่ภาวะเกิดการแท้งและการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้น 10 ราย ส่วนผู้เข้าร่วมที่เหลือ - มากกว่า 3,100 ยังคงติดตามผลลัพธ์อยู่
สรุปผลการศึกษาพบอัตราการแท้งบุตร 12.6% จาก 827 การตั้งครรภ์การประเมินซึ่งก็เปรียบได้กับอัตราการแท้งบุตรเฉลี่ยได้ 10-20% (ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าตัวเลขนี้อาจสูงกว่านี้ก็ได้) และอัตราการแท้งบุตร 12.6% สะท้อนถึงการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ที่ทราบในขณะที่ตีพิมพ์บทความเท่านั้น
อย่างไรก็ตามโพสต์ดังกล่าวได้เปลี่ยนตัวเลขที่ได้ทำการวิจัยเอง โดยไม่นำผลลัพธ์การวิจัยจาก 712 รายในทั้ง 827 มาอ้างอิงด้วย เพื่อคำนวณอัตราการแท้งบุตรใหม่ให้พุ่งถึง 82% และยังมีโพสต์อื่น ๆ ในโซเชียลมีเดียระบุอัตราสูงถึง 84% ด้วยซ้ำ ทำให้ Victoria Male ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาการเจริญพันธุ์ที่ Imperial College ในลอนดอนออกมาโต้แย้ง ว่า เลข 84% ไม่ใช่อัตราการแท้งบุตร พร้อมระบุว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
สำนักงานความปลอดภัยด้านการสร้างภูมิคุ้มกันของ CDC บอกว่า บทความนี้เป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลการลงทะเบียนการตั้งครรภ์แบบ v-safe และกล่าวว่าทางสำนักได้อภิปรายถึงวิธีที่ดีที่สุดในการนำเสนอจำนวนการแท้งบุตรซึ่งได้อธิบายว่าเป็น "ภาวะแท้งบุตรที่เกิดขึ้นเอง" ทาง CDC กล่าวว่า สิ่งสำคัญของการรายงานภาวะแท้งบุตรที่เกิดขึ้นเองทั้งหมดซึ่งได้รับการสังเกตที่พบเห็นจากการลงทะเบียนขณะนั้น ในเวลานี้การวิเคราะห์ยังข้อมูลที่มีความจำกัด เนื่องจากยังมีข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ทราบ เนื่องจากกลุ่มเข้าร่วมวิจัยยังไม่มีการโทรติดตามผลตามกำหนดเวลา และในรายงานฉบับต่อๆ ไป CDC วางแผนที่จะกำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเลือกวิจัยเฉพาะหญิงที่ได้รับการฉีดวัคซีนน้อยกว่า 20 สัปดาห์จากการตั้งครรภ์ และหญิงที่ผ่านวันคลอดไปแล้ว ผลลัพธ์การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวพบว่าสำหรับหญิงที่ได้รับวัคซีนนานถึง 20 สัปดาห์ในการตั้งครรภ์ มีการแท้งบุตร 27 รายในจำนวน 1,364 ราย คิดเป็นอัตราประมาณ 2% แต่นี่เป็นเพียงการวิจัยของสำนักงานความปลอดภัยด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน CDC เท่านั้น เพราะงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัด อีกทั้งไม่ทราบว่ายังคงดำเนินวิจัยต่อไปหรือไม่
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโพสต์ที่ได้กล่าวอ้างมาข้างต้น เป็นเท็จ แถมยังไปการสรุปด้วยเหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ โดยที่มองข้ามกรณีหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ผลลัพธ์ในระยะแรกไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแท้งบุตรที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิ-19 แต่จนกว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อถือได้มากกว่านี้ สถิติใดๆ ในหัวข้อนี้ควรได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
แหล่งอ้างอิง PolitiFact The Poynter Institute
- 570 views