เปิดปัญหาเตียงผู้ป่วยโควิดในกทม. ส่งผลให้ต้องใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยสีเขียวที่บ้าน และการดูแลผู้ติดเชื้อในชุมชน เหตุเพราะบุคลากรการแพทย์เหน็ดเหนื่อยกันมาก เพิ่มเตียงอุปกรณ์ได้ แต่เพิ่มบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขไม่ได้ จำเป็นต้องหาทางออกร่วมกัน
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิดใน กทม. ว่า การบริหารจัดการเตียงในพื้นที่ททม.มี 5 หน่วยงานหลัก เจ้าภาพคือกทม. กรมการแพทย์ เป็นเลขา โรงเรียนแพทย์ รพ.เอกชน และรพ.กลาโหม และตำรวจ ในพื้นที่กทม. ทั้งนี้ สถาการณ์การระบาดใน 1 เดือน ตั้งแต่ 4 มิ.ย. มีผู้ป่วยครองเตียง 1.9 หมื่น ราย แต่ข้อมูลเมื่อวันที่ 4 ก.ค. เพียง 1 เดือนครองเตียงเพิ่มเป็น 2.8 หมื่นราย เพิ่มขึ้นเกือบหมื่นราย โดยเพิ่มทุกระดับอาการ โดยสีแดงมีการเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้บุคลากรการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่อยู่หน้างานต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นขนาดไหน ทั้งนี้คนใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจากประมาณ 200 ราย เป็นเกือบ 400 ราย อัตราการเสียชีวิตคงตัวราวๆ 30-40 ราย แพทย์บุคลากรหน้างานต้องทุ่มเทมาก ในขณะที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น บุคลากรเองก็ติดเชื้อมากขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของการเพิ่มเตียงทั้งภาครัฐและเอกชน ที่พยายามเพิ่มเตียง แม้ว่าบุคลากรจะเหน็ดเหนื่อยกันมากแต่ก็พยายามเบ่งเตียงทุกสี และขอบคุณบุคลากรจากต่างจังหวัดที่เข้ามาสมทบดูแลรพ.บุษราคัมที่เปิดเพิ่มอีกกว่า 1. 5 พันเตียง เพื่อเป้าหมายในการดูแลประชาชน ปัจจุบันก็ยังมีแผนในการปรับเพิ่มเตียงทุกสีอยู่ แต่ก็ต้องยอมรับข้อจำกัดเรื่องบุคลากรด้วย ดังนั้นจึงมีแนวคิดเรื่องการทำการรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และการดูแลผู้ติดเชื้อในชุมชน (Community Isolation) ผู้ป่วยที่อาการสีเขียว ซึ่งดำเนินการแล้วในกทม. และปริมณฑล ตรวจสอบข้อมูลรพ.ในสังกัดกรมการแพทย์ทำแล้วเมื่อวันที่ 4 ก.ค. เกือบ 100 รายที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยกระบวนการมีการจกปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และแพทย์ทำเทเลเมด ติดตามอาการอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกง่านั้นแล้วแต่ระดับความรุนแรง หากอาการแรงขึ้นอาจจะมีการจ่ายยาให้ที่บ้าน ส่วนการจัดส่งอาหารนั้น สปสช. และประกันสังคม มีการจัดสรรงบประมาณให้รพ.ซื้ออาหาร ส่งถึงบ้านคนไข้วันละ 3 มื้อ คนไข้ไม่ต้องออกมาซื้อ
“ทั้ง 2 รูปแบบ เราไม่ได้อยากใช้เลย หากบุคลากรการแพทย์ไม่ตึงจริงๆ เพราะการดูแลที่บ้านนั้น สิ่งที่ห่วงข้อแรก คือ สุขภาพผู้ติดเชื้อหากไม่มีคนดูแลอาการแย่ลงอาจจะเกิดปัญหา และข้อสองเรื่องการแพร่เชื้อคนในบ้าน และชุมชนหากเขาแยกตัวไม่ดี แต่ที่ต้องทำตอนนี้เพราะต้องยอมรับว่าสถานการณ์บังคับ เพราะเพิ่มเตียงได้ เพิ่มสถานที่ เครื่องมือได้ แต่บุคลากรหน้างานเพิ่มยาก และอยู่ในภาวะเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าแล้วจึงเอาตรงนี้มาใช้” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
- 11 views