พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ เผยแนวทางใช้ดิจิทัลสู่สมาร์ทฮอสพิทัล พร้อมชู "distancing - 2p Safety” ในงานองค์กรแห่งดิจิทัลวันที่ 2 ธ.ค. นี้ ลั่นดึงเทคโนโลยีช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ย้ำเทคโนโลยีจำเป็นสำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 และโลกอนาคต
ล่าสุดสมาคมนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดงานประชุมวิชาการสมาคมนักบริหารสาธารณสุขปี 2564 องค์กรแห่งดิจิทัล ในวันที่ 2 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00-15.30 น. ที่ ห้องประชุมสุทธาสิโนบล ชั้น 8 สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ งานนี้ยังได้รับเกียรติจากโรงพยาบาลตัวอย่างที่มีการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาในการบริการประชาชน...
(ข่าวเกี่ยวข้อง : ชวนร่วมงานปรับรูปแบบโรงพยาบาลสู่องค์กรดิจิทัล 2 ธ.ค.นี้ การบริการประชาชนจะเปลี่ยนไป)
พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี เปิดเผยถึงการใช้ระบบดิจิทัลให้เป็นสมาร์ทฮอสพิทัล (Smart Hospital) โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า ขณะนี้โรงพยาบาลกำลังดำเนินการวางระบบเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 6 ที่ตนเคยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล โดย 5 แห่งแรก ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงคำพะเยา หนองบัวลำพูน สมุทรปราการ กาญจนบุรี และเพชรบูรณ์ ก่อนมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ที่โรงพยาบาลอุดรธานี ทั้งนี้โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ขนาด 1,000 เตียง
โดยหลักการของโรคโควิด-19 คือ เราจะต้องระวัง เรื่อง distancing หรือการเว้นระยะห่าง และเรื่องของ “2p Safety” โดย 2P Safety คือ Personnel (เพอร์เซอร์แนล) ที่ทำงานต้องปลอดภัย People (พีเพิล) ประชาชนที่มาใช้บริการก็ต้องปลอดภัย เพราะฉะนั้นในเรื่องของโรคโควิด-19 เราจะต้องใช้เป้าหมาย 2 หลัก คือ distancing กับ 2p Safety และด้วยพฤติกรรมหรือด้วยผู้มาใช้บริการที่มาโรงพยาบาลต้องมีการวางระบบว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้ผู้มาใช้บริการมีระยะห่าง มีการเฝ้าระวังและป้องกันตัวเอง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ
“ทั้งเรื่องคิว การจองคิว การดูข้อมูลสุขภาพ หรือการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการ รวมถึงการเจาะเลือด ที่สามารถให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำแทนโรงพยาบาลใหญ่ได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยก็จะเลือกมาที่โรงพยาบาลศูนย์เซ็นเตอร์ใหญ่หมด นอกกนี้ยังต้องมีการจัดระบบให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและส่งไปมาระหว่างโรงพยาบาลได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องไปรอที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งโรงพยาบาลต้องยึดหลัก 2p Safety รวมถึงต้องลดความแออัดในโรงพยาบาลด้วย”ผอ.โรงพยาบาลอุดรธานี กล่าว
พญ.ฤทัย กล่าวต่อว่า จากนั้นก็ต้องมีระบบลีน (lean) โดยมาตรฐานญี่ปุ่นที่บริษัทโตโยต้าใช้ระบบเพื่อลดขั้นตอนลดเบสความเสียหาย เช่น ผู้ป่วยสมัยก่อนต้องมีการใช้เวชระเบียนเป็นกระดาษ ปรากฏว่าพอคนไข้มาโรงพยาบาลก็ต้องใช้บุคลากร 1 คน มาค้นเวชระเบียนซึ่งใช้เวลารอใน opd Card ถึง 2 ชั่วโมง แต่ถ้าเราเอาทั้งหมดมาลงคอมพิวเตอร์เพียงแค่ค้นหาผ่านหมายเลขบัตรประชาชน ก็โชว์ขึ้นมาในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง 2 นาที ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยประหยัดทั้งเวลา คน รวมทั้งยังช่วยทำให้โรงพยาบาลมีพื้นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมทีการเก็บเอกสาร ต้องใช้พื้นที่หลายห้องก็หันมาเก็บไว้ในตัว Server แทน ก็ได้พื้นที่กลับมาบริการผู้ป่วยมีพื้นที่นั่งรอทำให้บริการบรรยากาศดีขึ้น
“นอกจากการเก็บข้อมูลจะพบว่าเวลาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลก็อยากพบแพทย์ จึงได้มีการคำนวณเวลาการพบแพทย์ของผู้ป่วย รวมทั้ง ผลแลป ผลการเจาะเลือด เราก็ไปให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจาะให้เหมือนนโยบายรัฐบาล หลังจากนั้นก็ส่ง Messenger มาที่โรงพยาบาล Center ที่คนไข้รักษาซึ่งจะมีผลแลปโชว์มาในระบบออนไลน์ ผู้ป่วยก็ไม่ต้องรอช่วยลดระยะเวลาการรอคอย จากนั้นก็มีการคำนวณเวลาของแพทย์ ว่า แพทย์1คนใช้เวลาในการตรวจผู้ป่วยได้กี่คนในเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการคำนวณ หากเป็นระบบประสาทก็จะตรวจได้ 4-5 ต่อชั่วโมง แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยกระดูกก็ประมาณ 15 คนต่อชั่วโมง ซึ่งจะสะท้อนเวลานัดให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้ เช่นผู้ป่วยกลุ่มแรกนัดมา 10-15 คนโดยใช้เวลา1ชั่วโมง การประมาณการจำนวนผู้ป่วย จะให้ผู้ป่วยไม่มาแออัดที่โรงพยาบาล ซึ่งจะเห็นว่าทุกขั้นตอนต้องใช้เทคโนโลยีทั้งหมด”ผอ.โรงพยาบาลอุดรธานี กล่าว
นอกจากนี้ ยังขยายภาพการวางระบบลดความแออัดในโรงพยาบาล พอลงลึกไปดูปัจจัยแล้วจะพบว่าขั้นตอนต่างๆถูกกำหนดจากคนทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการลีนระบบทำงานให้ตรงจุดที่สุด โดยนำเทคโนโลยีลงหน้าจออันเดียวก็สามารถเอาคนไข้ไปนอนในตึกได้ ซึ่งถือเป็นการลดกระบวนการซับซ้อน ดังนั้นจึงอยากย้ำว่าเทคโนโลยีจำเป็นสำหรับการรับมือกับโรคโควิด-19 และโลกอนาคตมาก โดยจำเป็นต้องลดแออัด เพิ่มระยะห่าง ทั้งการจ่ายเงิน ที่เชื่อมโยงกับสิทธิ์การรักษาเพื่อที่จะได้รับเงินจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)แต่พอเรามีการใช้ตู้จ่ายเงินก็ช่วยลดเวลาการรอใช้เวลาเพียงไม่ถึงนาทีก็เสร็จ
“กำลังลีนระบบและตั้งเป้าหมายว่าต่อไปนี้เวชระเบียนโรงพยาบาลจะเป็นออนไลน์ทั้งหมดไม่ว่าผู้ป่วยอยู่ที่ไหนก็สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้เพียงค้นหา ซึ่งได้หารือกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดว่าต่อไปอุดรธานี ไม่ว่าจะอยู่อำเภอไหนก็สามารถออนไลน์ได้ แต่ข้อมูลจะไม่โชว์ทุกอัน ต้องดูความปลอดภัยของข้อมูล จะโชว์แค่เรื่องวินิจฉัยเรื่องยาที่ผู้ป่วยได้รับเรื่องแลป 4-5 ชนิด แต่ผู้ป่วยและแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยจะสามารถเห็นข้อมูลได้หมด โดยในวันงานที่ 2 ธันวาคม 2563 Smart Hospital จะช่วยโควิดได้อย่างไรหลักของโควิตคือรักษาระยะห่าง 2p Safety มันจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีตั้งแต่หมอ วันที่ 2 ธันวาคมผู้ร่วมงานจะได้เห็นเทคโนโลยี โดยจะเล่าประสบการณ์ การทำให้โรงพยาบาลเป็นสมาร์ทฮอสพิทัล คนที่มาร่วมงานจะได้รับ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งโรงพยาบาลที่เคยบริหารสามารถทำได้สำเร็จทั้งหมด”พญ.ฤทัย กล่าวทิ้งท้าย
(อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : โรงพยาบาลยี่งอ จ.นราธิวาส ร่วมถอดรหัสใช้ระบบดิจิทัลอย่างไร ให้เป็นสมาร์ทฮอสพิทัล)
- 317 views