รองนายกฯ-รมว.สธ.ลั่นรัฐบาล-นายกฯคนนี้ให้ความสำคัญเรื่องสาธารณสุขก่อนโควิด และยิ่งเรามีผลงานก็ให้ความสำคัญทั้งบรรจุขรก. ค่าตอบแทน เงินพิเศษ พร้อมเดินหน้าระบบดูแลคนสูงวัย

 

เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2563 ที่โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวเปิดงานประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 ว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่บนพื้นฐานของ 3 หลักการ คือ 1.ความเท่าเทียม 2.ประสิทธิภาพ และ3.การมีส่วนร่วม 

โดย 1.ความเท่าเทียม โดยให้คนไทยทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเห็นได้กระทรวงสาธารณสุขไม่ว่าอยู่ในรัฐบาลยุคไหนก็พยายามยกระดับและพัฒนาระบบการบริการมาตลอด อย่าง 30 บาทรักษาทุกโรคตอนที่เริ่มมาก่อนก็ยังไม่ได้รักษาทุกโรคจริงๆเราทยอยทำ อย่างตนสมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยฯ ขณะนั้นยังไม่มีสิทธิเรื่องรักษาไต ไม่มีทันตกรรมสุดท้ายก็ได้สิทธิมา และเมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีวาระหนึ่งพิจารณาเรื่องโรคหายาก ซึ่งต้องครอบคลุมให้ทั่วถึง นี่คือความพยายามในการพัฒนามาตลอด แสดงให้เห็นว่าภายในส่วนลึกที่ทุกคนมาทำงานให้พี่น้องประชาชนคิดตลอดเวลาว่าจะทำยังไงการบริการครอบคลุมเพื่อเกิดประโยชน์กับคนไทยมากที่สุด ทุกวันนี้เรียกได้เต็มปากว่า 30 บาทรักษาทุกโรคจริงๆ ทั้งหมดก็เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนและลดภาระค่ารักษาพยาบาลที่ประชาที่รัฐบาลต้องจ่ายเกื เกือบ3-4 แสนล้านบาท แต่แต่สิ่งสำคัญต้องทำให้ประชาชนตอนหนักในการดูแลสุขภาพด้วย

 

2.ประสิทธิภาพ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 12% หรือหลายหมื่นล้านบาทในการนำความรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนดูแลตัวเองโดยใช้หน่วยบริการท้องถิ่นให้ความรู้เพื่อให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งส่วนนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ ได้ร่วมมือกับ สปสช.ด้านต่างๆ โดยสปสช.จ่ายเงิน เราพัฒนาระบบบริการ และ3. การมีส่วนร่วม แม้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะเป็นนิติบุคคล แต่ก็แยกกันไม่ขาดกับ สธ. รักกันบ้าง งอนกันบ้าง แต่แยกกันไม่ได้ และสธ.พร้อมยืนเคียงข้างสปสช.เพื่อประชาชน ขณะเดียวกัน สปสช.ก็ดูแล สธ.เต็มที่ อย่างกรณีมีนโยบายที่ต้องให้กระทรวงฯเพิ่มการบริการ ทางสปสช.ก็เข้ามาช่วยและดูแลเต็มที่เช่นกัน 

"รมว.สธ.ในฐานะเป็นประธานบอร์ด สปสช.ก็ไม่สามารถเข้าข้างฝ่ายใดได้ อย่างมีอะไรก็ต้องคุยทั้งสองฝ่าย ทั้งส่วนสธ.ก็ต้องเชิญปลัดสธ. ส่วนสปสช.ก็เชิญเลขาฯ เราต้องวินวิน มาตบตีกันไม่ได้ เราต้องทำงานร่วมกัน เราทำงานเพื่อสวัสดิภาพของคนไทย เราต้องไม่เอาชนะกัน เราต้องเดินไปด้วยกัน แต่ถ้าเราทะเลาะกันคนที่ได้รับปัญหา คือ ประชาชน  พวกเราไม่ได้มาทำงานเพื่อตัวเอง เรามาทำเพื่อพี่น้องประชาชน พี่น้องประชาชนเลือกผมเข้ามาทำงาน ผมเลือกปลัด เลขาฯผ่านการคัดสรร ถ้าพิจารณาแล้วนายจ้างคือคนเดียวกัน คือ ประชาชน" นายอนุทิน กล่าว

นายอนุทิน กล่าวว่า นอกจากนี้ในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่างกรณีคุณพ่อของตนป่วยอยู่ การเดินเหินก็ลำบาก ท่านก็มีความหงุดหงิดว่าดูแลตัวเองไม่ได้ ซึ่งตนมองว่าขนาดพ่อตนยังไม่สะดวก จึงคิดว่าแล้วผู้สุงอายุทั่วไปจะทำอย่างไร เรื่องนี้สำคัญเราต้องจัดดูแลและดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของชาติในการเตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ ต้องมีระบบดูแล ต้องให้พวกเขาอยู่ได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่กระทบแค่ผู้สูงอายุ แต่ครอบครัวด้วยจะส่งผลต่อการทำงาน เพราะต้องมาดูแลจุดนี้ ดังนั้น เราต้องมีระบบการดูแลผู้สูงอายุด้วย ส่วนลูกหลานก็ยังทำงานได้พร้อมๆกับการดูแลสภาพจิตใจของบุพการีได้เช่นกัน

"ตั้งแต่มีรัฐบาลมานายกรัฐมนตรีคนนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องสาธารณสุขมากที่สุด ตั้งแต่ก่อนมีโควิดเสียอีก ดังนั้นท่านนายกฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญเพราะมีโควิด แต่เล็งเห็นความสำคัญมานานแล้ว และสำหรับกระทรวงสาธารณสุข การทำงานเราให้อิสระเต็มที่ รัฐมนตรีคุ้นเคยข้าราชการกระทรวงมานาน รู้จักหมด และผมคิดว่าผมรู้เรื่องงานสาธารณสุขดี แม้จะไม่ใช่เรื่องทางการแพทย์ แต่การจัดการ เรื่องคน รู้ว่าควรให้ใครทำงานอะไรอย่างไร อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ความสำคัญกระทรวงฯ เพราะเรามีผลงาน อย่างการบรรจุข้าราชการกว่า 4 หมื่นคน เงินค่าตอบแทน เงินสนับสนุน อสม. ท่านก็ให้ ที่ให้ก็เพราะเราทำงาน เขาเห็นผลงาน ตำแหน่งรมว.สธ.เมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกท่านทำให้ประชาชนเทียบไม่ได้เลย" รมว.สธ.กล่าว

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้านโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่นั้นเป็นสิ่งที่ดี บางคนกังวลว่าจะแห่ไปรพ.ใหญ่ ไม่หรอก ถ้าเรามีระบบจัดการดี เพราะถ้าไปรพ.ใหญ่ ก็ต้องไปรอคิวอีก ดังนั้น อย่างรพ.สต.หน่วยปฐมภูมิต่างๆมีบริการทันตกรรม ก็ถือว่าดีมาก ตรงนี้พัฒนาได้ แต่มีเรื่องงบประมาณก็ดำเนินการขอ ส่วนหมอขาดแคลน อย่างอัยการเกษียณ 70 ปี แต่ทำไมหมอต้อง 60 ปี หลายคนยังทำงานได้ แน่นอนว่าเมื่อพ้นอายุ 60 ปีจะออกจากฝ่ายบริหาร ออกจากส่วนราชการ แต่สกิลความสามารถเรายังมี จึงสามารถดึงมาช่วยงานได้และน่าจะได้ค่าจ้างด้วย อย่างไปช่วยออกบริการตรวจรักษาหน่วยปฐมภูมิ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ก็ยังทำได้ สิ่งเหล่านี้ต้องรองรับ 30 บาทรักษาทุกที่ ถ้าไม่เตรียมพร้อม ประชาชนดีใจ แต่หมอจะร้องไห้เอา อย่างไรก็ตาม เรื่องปัญหาแพทย์ขาดแคลน ได้มอบนโยบายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาการจ้างแพทย์เกษียณอายุราชการมาให้บริการประชาชนที่ รพ.สต.หรือโรงพยาบาลชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนวางใจมารับบริการ เนื่องจากเป็นแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์ นอกจากจะช่วยลดปัญหาขาดแคลนแล้วยังช่วยให้ความรู้ประสบการณ์แก่แพทย์รุ่นใหม่ๆ ที่ผลิตออกมาอีกด้วย

"เราต้องพัฒนาระบบบริการให้ดี ยกระดับเป็นวีไอพีให้คนทุกคน ต้องไม่มีผู้ป่วยอนาถา ไม่ใช่นอนๆมีสุนัขมาอยู่ข้างๆ อย่างในรพ.ต้องไม่มีสุนัข เพราะพวกนี้ก็มีเชื้อโรค ก็ต้องจัดการให้ดี รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือต้องพร้อม ทันสมัย มีระบบส่งยาถึงบ้าน อำนวยความสะดวก ทำทุกอย่างให้เป็นระบบ ปัจจุบันเรามีทำคีโมที่บ้านด้วย นี่คือวีไอพี" รมว.สธ.กล่าว