ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ให้ข้อมูลการตรวจเชื้อหาโควิด-19 กับกรณี 2 รายที่กำลังเป็นข่าวหลัง รพ.รามาฯ พบเคส สิ่งสำคัญต้องหาติดเชื้อ หรือมีการสัมผัสเชื้อจากไหน อย่างไร ขั้นตอนไม่ยาก จัดการได้
ตามที่กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงข่าวพบคนไทย ติดเชื้อโควิด-19 เป็นหญิงทั้งคู่ โดยรายแรกเป็นหญิงอายุ 34 ปีจ.ชัยภูมิ ตรวจพบซากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ส่วนอีกรายอายุ 35 ปี จ.เลย ต้องขอตรวจเชื้อซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากพบเชื้อไวรัสน้อยนั้น
* อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : แถลงคืบหน้ากรณีตรวจเชื้อซ้ำ! หญิงจ.เลย หมอรามาเผยไม่ถือเป็นผู้ป่วยแล้ว
: สธ.แถลงร่วม รพ.รามาฯ ตรวจรายแรกพบซากไวรัส ไม่แพร่เชื้อ อีกรายขอตรวจซ้ำ!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีการตรวจเชื้อโควิด-19 ว่า การตรวจว่ามีติดเชื้อโควิด19 โดยการเจาะเลือดหาแอนติบอดีต้องมีความระมัดระวัง ทั้งนี้ ต้องทำการตรวจทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ IgM IgG และ neutralizing antibodyเพราะผู้ป่วยแต่ละราย จะได้รับเชื้อที่วันเวลาต่างกัน ในคนป่วยที่มีอาการและยังตรวจเชื้อต่อเนื่องไปในขณะที่ให้การรักษาพบว่า ยังมีเชื้อออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่มี แอนติบอดี้ 1 ชนิด หรือ ทั้ง 3 ชนิดรวมกัน ตั้งแต่ต้น ซึ่งแสดงว่าไม่ใช่เป็นซากเท่านั้นที่ออกมา
การที่ปล่อยเชื้อได้และระบุว่าเป็น “ชาก” ไปหรือยัง ไม่สามารถประเมินจากสถานะ ของ แอนติบอดีอย่างเดียว แต่ชนิดของแอนติบอดี ให้ข้อมูลเบื่องต้นถึงระยะเวลาหลังติดเชื้อได้พอควรโดยมีการติดเชื้อมาใหม่ ภายใน 4 วันที่แล้ว หรือในระยะกลางๆ หรือ นานกว่านั้น ตั้งแต่ 10-14 วันที่แล้วและการมี neutralizing antibody จากการตรวจมาตรฐานนี้จะไม่ขึ้นกับชนิดของแอนติบอดี ว่าต้องขึ้นพร้อมกับ IgG หรือ IgM หรือไม่ จึงเรียกว่า Surrogate isotype independent virus neutralizing antibody
“ 2 รายนี้ ที่เป็นกรณีขณะนี้ ได้ออกจากสถานที่กักตัวของรัฐ หลังจากกลับจากต่างประเทศไปอยู่บ้าน โดยตรวจไม่มีเชื้อ แต่จะไปทำงานต่างประเทศเลยตรวจและเจอเชื้อที่ต้องติดตามไม่ใช่ขณะนี้ เป็นซาก หรือไม่? ที่ต้องติดตามคือ ก่อนหน้าเป็นซาก ไปได้เชื้อจากไหน และแพร่ไปได้หรือไม่ โดย2 รายหรือจะกี่รายก็ตาม ที่ตรวจเจอ ไม่ใช่เรื่องแปลก เช็คใหม่ว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยการตรวจเลือด ถ้าเป็นจริงไม่ต้องปิดจังหวัด ปิดเมืองไม่ต้องตกใจ ค่อยๆถามว่าอยู่ที่ไหนมา ไปไหนก่อนหน้าที่จะตรวจเชื้อเจอและเมื่อทราบว่ามีใครบ้างสัมผัสใกล้ชิดก็ขอเจาะเลือดนิดเดียวปลายนิ้วส่งมาตรวจที่ แลป สภากาชาด ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ถ้าบวกก็ปฏิบัติตัวตามขั้นตอน ถ้าลบก็จบ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
- 5 views