กรมควบคุมโรคสำรวจผลกระทบ Covid-19 กว่า 7.7 พันคน พบรูปแบบการบริโภคเปลี่ยนไป ทำอาหารปรุงเองบ่อยขึ้น ส่วน “นอนหลับ-เครียด-เดินน้อยลง 42 % เท่าเดิม 40.34% มากขึ้น 17.67%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจผลกระทบของ Covid-19 ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ(NCDs)ในช่วงการระบาดของโรค Covid-19 เดือนเมษายน 2563 ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. – 3 พ.ค.2563 มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,711 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 75.01 % เพศชาย 24.99% อายุ 31-49ปี มากที่สุด 40.75% รองลงมา 50-59 ปี 32.04% และ 60-69 ปี 13.58% ไม่มีโรคประจำตัว 61.14% มีโรคประจำตัว 38.86% ส่วนของโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูงมากที่สุด 14.97% อื่นๆ 11.28% ภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม 7.79 % เบาหวาน 6.17% และ โรคกระเพาะและทางเดินอาหาร 2.80% อาชีพหลัก ราชการ/รัฐวิสาหกิจ 51.13% รองลงมาบริษัทเอกชน 10.26 % แม่บ้าน/ไม่มีอาชีพ/ข้าราชการบำนาญ 10.17%
ผลการสำรวจแบ่งเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1.การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม กินอาหารปรุงเองบ่อยมากขึ้น 57.48 % ซื้ออาหารปรุงสำเร็จมากิน น้อยลง 57.57% ซื้ออาหารแห้ง/สำเร็จรูปมาสำรอง 69.64 % ประเภทอาหารแห้งที่ซื้อมากักตุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 56.52% เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น หมูทุบ 15.64% และปลากระป๋อง 9.23% คำนึงถึงปริมาณโซเดียมประจำ 46.29 % คำนึงถึงปริมาณน้ำตาลเป็นประจำ 52.48% เปรียบเทียบปริมาณอาหารที่กินต่อวันในช่วงระบาดและก่อนการระบาด ไม่แตกต่าง 53.63% ลดลง 23.85% เพิ่มขึ้น 18.19% และไม่แน่ใจ 4.33% กินผลไม้ เท่าเดิม 49.44% บ่อยขึ้น 39.02% น้อยลง 10.53 % ไม่แน่ใจ 1.01% กินผัก เท่าเดิม 58.04 % บ่อยขึ้น 32.93% น้อยลง 8.32 % ไม่แน่ใจ 0.71%
2.กิจกรรมทางกาย การนอนหลับ และความเครียด ปริมาณการเดิน น้อยลง 42 % เท่าเดิม 40.34% มากขึ้น 17.67% การออกกำลังกาย น้อยลง46.42 % เท่าเดิม 39.56% มากขึ้น 14.03% ประเภทการออกกำลังกาย ทำงานบ้าน 37.41% กิจกรรมด้านเกษตร 12.80% เต้นแอโรบิก 12.50% ความยากในการนอนหลับได้เป็นปกติ 77.25% ยาก16.73% ง่าย 6.02% ความเครียด ไม่เครียด 35.39 % เครียดเหมือนเดิม 26.36% เครียดมากกว่าเดิมมาก 6.58% และเครียดมากกว่าเดิม 31.67% รวมในส่วนที่เครียดมากกว่าเดิมจึงเท่ากับ 38.25 %
3.บุหรี่ แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ยาเส้น ยามวน น้อยลง 37.66% เท่าเดิม46.31 % เพิ่มขึ้น1-2มวนต่อวัน 3.31% เพิ่มขึ้นน้อยกว่า1มวนต่อวัน 3.31% เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 3 มวนต่อวัน 9.41% ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้อยลง 78.07% เท่าเดิม 17.28 % เพิ่มขึ้น 4.65 % สถานที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านขายของชำ 4.73% ร้านค้าสะดวกซื้อ 4.69 % และซุเปอร์มาเก็ต 3.61 % 4.การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และสุขภาพ เปรียบเทียบน้ำหนักก่อน-ช่วงระบาด เพิ่มขึ้น 29.26% ลด 16.51% ไม่ทราบ 10.61% เท่าเดิม 43.62 % ความตั้งใจที่จะลดน้ำหนักตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ใช่56.39% และไม่ใช่ 43.61%
และ 5.การดูแลสุขภาพ และการเข้าถึงการรักษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ก่อนมาตรการSocial distancing ควบคุมความดันโลหิตอยู่ในระดับ ควบคมได้ดี 75.40% สูงเกินเกณฑ์ 15.11% ต่ำผิดปกหติ 1.62% ไม่ทราบ 7.87 % ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ไม่ทราบ 21.15% ไม่ดี 13 % ดี 65.84% มียาที่ต้องไปรับประจำต่อเนื่อง มี33.93% ไม่มี 66.07% และการติดตามหรือรับยาในช่วงการระบาดโควิด-19 ปกติรักษารพ.ที่ไม่แออัดอยู่แล้วและไม่มีแผนขอรับยาใกล้บ้าน 7.91% ปกติรักษาที่คลินิกใกล้บ้านอยู่แล้ว 4.55 % และปกติรักษารพ.ที่ค่อนข้างแออัดและยังไม่ได้ประสานเพื่อติดต่อขอรับยาใกล้บ้าน 2.87 %
ทั้งนี้ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับไวรัสโคโรนา2019 หรือโรคโควิด-19 ไว้ว่า ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูง อัตรการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นหากมีโรคเหล่านี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด 10.5% โรคเบาหวาน 7.3% โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 6.3% โรคความดันโลหิตสูง 6 % และโรคมะเร็ง 5.6 % คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1.อยู่ห่างจากผู้ป่วยโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 2.ควรไอหรือจามใส่ข้อพับแขนด้านในใส่หน้ากากปิดปากและจมูก
3.ล้างมือด้วยสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที 4.ควรมีเบอร์ติดต่อแพทย์ประจำสำหรับปรึกษาปัญหาสุขภาพหรือปัญหาการใช้ยา 5.สามารถโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์และให้ผู้อื่นไปรับยาแทนได้หากต้องไปตรวจตามนัด 6.หมั่นตรวจสุขภาพตนเองตามกำหนดเวลา เช่น วัดความดันโลหิตหรือวัดระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน เป็นต้น และ7.ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานยาประจำอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการป่วยฉุกเฉิน ท่านควรรีบเข้ารับการรักษาในรพ.
- 1678 views