อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยข้อจำกัดการใช้กัญชาในกลุ่มผู้ป่วยมีอาการทางจิตเวช ต้องไม่ใช่สารก่ออาการเมา เลี่ยงใช้กัญชงแทน หรืออัตราส่วน CBD : THC เท่ากับ 20 ต่อ 1
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการใช้สารสกัดกัญชากับผู้ป่วยพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมและอื่นๆ เช่น อาการปวด การนอนไม่หลับ กังวล แม้กระทั่งโรคลมชัก เบื่ออาหาร ภาวะแข็งเกร็ง ว่า ก่อนใช้ต้องทราบว่ามีข้อจำกัดอะไร โดยเฉพาะถ้ามีอาการทางจิตในตนเอง หรือในครอบครัวจะใช้สารสกัดกัญชาชนิดที่ทำให้มีอาการเมาไม่ได้ ต้องใช้ชนิดที่สกัดจากกันชง หรืออย่างน้อยอัตราส่วนของ CBD:THC เท่ากับ 20:1 รวมทั้งต้องพิจารณาว่ามีอาการทางโรคตับที่เห็นได้ชัดหรือโรคไตหรือไม่ เนื่องจากรายงานจากคณะมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดและบราวน์ ในปี 2018 พบว่า ในผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็งแล้วขั้นรุนแรง ถ้าใช่ขนาดน้อยมาก อย่างปลอดภัยและกลับได้ประโยชน์และมีการศึกษาในสัตว์ทดลองในวารสารเนเจอร์ในปี 2018
ที่สำคัญยังห้ามในคนท้อง ห้ามในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นมีภาวะของโรคซึ่งต้องเลือกยาที่มี กลุ่ม THC น้อยที่สุด หริอ CBD:THC 20:1 และต้องสำรวจว่ามีโรคอื่นๆนอกจากโรคที่ต้องการใช้กัญชาหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาปัจจุบันควบรวมอยู่สำหรับรักษาโรคนั้นๆ กัญชาที่ให้อาจจะมีปฏิกริยากับยาทำให้ยานั้นออกฤทธ์มากขึ้น หรือน้อยลงหรือยานั้นทำให้กัญชาออกฤทธิ์มากขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการข้างเคียงที่ไม่ได้มาจากกัญชาโดยตรง โดยจะเป็นจากฤทธิ์ของยาที่ใช้อยู่ที่เพิ่มมากขึ้นไปอีก
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า ในกรณีของโรคสมองเสื่อมที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่มีสาเหตุจากเรื่องอื่นๆ ก่อนที่จะใช้กัญชาต้องหยุดยาสมองเสื่อมทั้งหมดก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคอยู่แล้ว แต่ต้องเข้าใจว่าการหยุดในช่วงแรกอาจจะทำให้ดูไม่กระฉับกระเฉง เนื่องจากไม่มีตัวกระตุ้นสมอง สำหรับในพาร์กินสันนั้น หยุดยาทุกชนิดเหลือแต่ ยาบางชนิดที่ต้องให้ในขนาดที่จำเป็น เพราะจะทำให้เคลื่อนไหวได้ ดังนั้น การใช้สารสกัดกัญชาในกลุ่มที่กล่าวมาจึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วย
- 834 views