คุณเคยสูด้านหนึ่งของเทศกาลที่นอกจาการความสุข สนุนกสานของการเฉลิมฉลอง มันคือ ‘โศกนาฎกรรม’ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ไม่ว่าจะเป็น เสียชีวิต พิการตลอดชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ฯลฯ จากการดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว ประมาท “อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 พบ สถิติอุบัติเหตุ 3,841 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 432 ราย ผู้บาดเจ็บ 4,005 คน” ญเสียคนในครอบครัวหรือคนรักจากอุบัติเหตุช่วงปีใหม่หรือไม่ ? ใช่, ไม่มีใครอยากตอบคำถามนี้ เพราะบาดแผลของการสูญเสียยังคงฝังลึกในจิตใจ ของครอบครัวของผู้สูญเสีย ผู้ก่ออุบัติเหตุ ผู้ได้รับผลกระทบอีกมากมาย

ทางศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ได้สรุปสถิติเอาไว้ เพียงแค่ 4 วัน แต่การสูญเสียช่วงเทศกาลนั้นมากมายเหลือเกิน โดยสาเหตุของอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 48.67 และขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 26

ความพยายามกว่า 10 ปี ที่ทาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านอุบัติเหตุ ด้านแอลกอฮอล์ อย่าง ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ รวมไปถึงการผนึกกำลังกับภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เพื่อทำงานรณรงค์อย่างเข้มข้น โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับ อปท. รวมทั้ง ชุมชน หมู่บ้าน อาสาสมัครต่างๆ และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งจากคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด โดยเกิดความปลอดภัยในการเดินทางทุกมิติ และให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เคร่งครัด และต่อเนื่อง

‘กันไว้ดีกว่าแก้’ เพื่อป้องกันการสูญเสีย ดังนั้นการรณรงค์และบังคับใช้กฎหมายยังต้องทำอย่างเนื่อง เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง และไม่ประมาทในการขับขี่รถ สำหรับปี 2562 ที่จะถึงนี้เอง การประชุมของกระทรวงสาธารณาสุข ล่าสุด มีมติเห็นชอบร่างแนวทางการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยผนึกกำลังอย่างเข้มข้นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน มีมาตรการ ดังนี้

1.ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์เรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมาไม่ขับ ห้ามบริโภคขณะขับขี่และขณะโดยสารใน/บนรถ

2.ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในพื้นที่จุดเสี่ยงจุดอันตราย หรือจุดที่มีอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เข้มงวดมาตรการดื่มไม่ขับ

3.ตั้งด่านชุมชน สกัดกลุ่มเสี่ยงและลดพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย

4.ให้สำนักงานขนส่งทุกจังหวัดเข้มงวดตรวจสอบผู้ขับขี่รถประจำทางห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและขณะขับรถเด็ดขาด ห้ามขับรถเร็ว และห้ามขายสิ่งของและจอดรถบริเวณไหล่ทาง

5.เชิญชวนจิตอาสาจากสมาชิกของชุมชนร่วมทำความดีด้วยหัวใจ สอดส่อง เฝ้าระวัง และตักเตือนผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง และรณรงค์ให้คนในหมู่บ้านตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจรและรักษาวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด

6.ตรวจสอบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบริการ สถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ โดยเฉพาะการขายในบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และห้ามขายรอบสถานศึกษา

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการกองทุน สสส. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้พิจารณาแนวทางการจัดการความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 โดยเฉพาะแนวทางการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาดื่มแล้วขับ ช่วง 7 วันอันตราย

“สสส. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลักดันให้เกิดมาตรการสำคัญ คือการ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกคน เป็นขยายมาตรการตรวจวัดที่เข้มข้นขึ้น และส่งผลต่อโทษฐานความผิดที่หนักขึ้น รวมถึงเร่งทำงานกับ 283 อำเภอ ที่มีสถิติอุบัติเหตุสูงอย่างเข้มข้น และประกาศวาระ “อำเภอปลอดภัย” โดยร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ(พชอ.)เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เกิดขึ้นตลอดปี” พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

6 เทคนิค ขับขี่ปลอดภัย

1.ไม่ขับรถเร็ว

2.ดื่มไม่ขับ

3.คาดเข็มขัด

4.เตรียมร่างกายให้พร้อม

5.เคารพกฎจราจร

6.พักรถเป็นระยะ

‘อุบัติเหตุ’ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ หรือใครลิขิต แต่เป็นเรื่องที่ 'ป้องกันได้' ไม่ว่าจะดื่มไม่ขับ ไม่ประมาท ทำตามกฎจราจร ตรวจเช็คสภาพรถ รวมไปถึงการพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะไม่มีใครอยากเห็นคนที่ตนรักจากไป ไม่มีใครอยากเห็นคนที่ตนรักถูกจองจำในคุก ไม่มีใครทนเห็นคนรักอัมพาตตลอดชีวิต และไม่มีใครทนเห็นคนรักนอนเป็นเจ้าชายนินทรา

ปีใหม่นี้...ขับรถกลับบ้านปลอดภัยนะคะ

เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ Team content www.thaihealth.or.th

ข้อมูลบางส่วนจาก : ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) / กระทรวงสาธารณสุข /เครือข่ายลดอุบัติเหตุ