หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ และหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ สสจ.8 จังหวัด เขตสุขภาพที่ 4 ประชุมหารือกับ สปสช.เขต 4 สระบุรี เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบัตรทองร่วมกัน ในปี 2559
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรี จัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ปีงประมาณ 2559 ครั้งที่ 2 โดยมี นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผอ.สปสช.เขต 4 สระบุรี นางพนิต มโนการ รอง ผอ.สปสช.เขต 4 สระบุรี หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ และหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 8 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรีและนครนายก เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สปสช.เขต 4 สระบุรี โดยมีวาระสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 1 เรื่องการคำนวณปรับปรุงการจัดสรรปี 57 และการจัดสรรผลงานปี 58 (SET ZERO) เมื่อ 5 ตุลาคม 2558
นพ.ชลอ กล่าวว่า จากการประชุมหารือกับหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ และหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ สสจ.ทั้ง 8 จังหวัด มีเรื่องสำคัญในการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการหักกลบการจ่ายเงินเกินผลงานปี 57 และก่อนปี 57และปิดงบปี 58 สำหรับหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Set Zero) ซึ่งคณะกรรมการกำหนดแนวทางการใช้จ่ายเงินกองทุน ฯ ของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระดับประเทศ (คณะกรรมการร่วม สป. และ สปสช.) เห็นชอบในหลักการในการคำนวณการจ่ายงบปี 2557 ใหม่ โดยให้หักกลบการจ่ายเงินเกินผลงาน (ได้รับเงินโอนมากกว่าผลงานจริงของหน่วยบริการ) ด้วยงบที่สำรองไว้จ่ายตามผลงานภาพรวมของหน่วยบริการ สังกัด สป.สธ.ปีงบประมาณ 2558 และได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ครั้งที่ 11/2558 วันที่ 7 ก.ย.58 อนุมัติหลักเกณฑ์และผลการคำนวณทบทวนการปรับลดค่าแรงฯ ของหน่วยบริการ สป.สธ. ปีงบประมาณ 2557 อนุมัติหลักเกณฑ์และผลการคำนวณการหักกลบการจ่ายเงินเกินผลงานสะสม ด้วยงบที่คำนวณปิดผลงานปี 58 และงบปี 58 รายการอื่น (QOF, OP individual และIP Quality) โดยให้ปรับเกลี่ยการหักกลบภายในเขต
สำหรับบทบาทของ สปสช.เขต มีประเด็นที่สำคัญตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 ได้แก่
1.บริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อในและนอกจังหวัด และบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินในจังหวัด ให้หน่วยบริการเรียกเก็บจากหน่วยบริการประจำตามอัตราที่มีการเห็นชอบร่วมกัน ระหว่างหน่วยบริการที่ให้บริการกับหน่วยบริการประจำ โดยอาจจะให้ สปสช.เขต ร่วมบริหารจัดการและอาจกันเงินค่าบริการผู้ป่วยนอกทั่วไปไว้จำนวนหนึ่งแบบบัญชีเสมือน (Virtual account) รายจังหวัด สำหรับการหักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจำตามข้อเสนอของ สปสช.เขต
2.การใช้บริการกรณีสำรองเตียงตามเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด ให้เป็นไปตามอัตราที่มีการเห็นชอบร่วมกันระหว่างสถานบริการอื่นกับ สปสช.เขตโดยกำหนดอัตราจ่ายไม่เกิน 15,000 บาทต่อ adjRw
3. การใช้บริการภายในเขต ให้อัตราจ่ายต่อ adjRw เป็นอัตราเดียวในแต่ละ Global budget ระดับเขต โดยอัตราจ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน Global budget ระดับเขตแต่ละเขตกับจำนวนผลงานที่เป็นค่า adjRw ของแต่ละเขต และสามารถกำหนดอัตราจ่ายเป็นอย่างอื่นเพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการภายในเขตได้
และ 4.ในปี งบประมาณ 2559 ให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมการรับส่งผู้ทุพพลภาพไปกลับหน่วยบริการ โดยการบริหารจัดการภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามความเหมาะสม
ส่วนรายการที่ต้องจ่ายผ่านมติ อปสข. เช่น การบริหารเป็นวงเงินแบบมีเพดานตามเขตความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่จำเป็นภายในเขตพื้นที่และมีการจัดบริการครบถ้วนสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในเขตพื้นที่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามยังมีข้อเสนอจากหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ. เกี่ยวกับภารกิจงานประกันสุขภาพที่เชื่อมกับ สปสช. เช่น การจัดการกองทุน 3 กองทุน ระบบบัญชี การบริหารจัดการ เสนอทำข้อตกลงให้ชัดเจนในระดับเขต และกำหนดแผนร่วมกัน รวมทั้งหารูปแบบในการใช้เงินสนับสนุนภาครัฐ ซึ่งต้องเสนอผ่านหน่วยบริการเท่านั้น ทั้งนี้ กลุ่มหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ. ขอให้ สปสช.เขตช่วยของบแทน ส่วนการชี้แจงการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ ขอให้จัดชี้แจงในระดับอำเภอ และขอใช้งบประมาณรวมกับ สปสช.เขต
ทั้งนี้ สปสช.เขต 4 สระบุรี ได้วางแผนบูรณาการทำงานร่วมกันกับ สธ. โดยในปี 60 จะมีภาคส่วนกลุ่มงานประกันสุขภาพของ สสจ. เข้าร่วมทำแผนการดำเนินงานของเขตด้วย
ขณะเดียวกัน นพ.ชลอ ได้กล่าวถึงการประชุมร่วมกับหัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 8 จังหวัดในพื้นที่ เพื่อบูรณาการแนวทางการทำงานร่วมกัน สำหรับงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากกระบวนการ set zero ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (7x7) ว่า ผลการปรับเกลี่ยงบบัตรทอง เพื่อช่วยหน่วยบริการ ดังนี้ รพ.พระนั่งเกล้า 58 ล้าน รพ.สิงห์บุรี 52 ล้าน รพ.พระนครศรีอยุธยา 51 ล้าน รพ.นครนายก 41 ล้าน รพ.พระพุทธบาท 29 ล้าน รพ.อินทร์บุรี 22 ล้าน และ รพ.สระบุรี 5.9 ล้าน
- 14 views