The Guardian : นับเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่รัฐบาลออสเตรเลีย โดยการนำของ นายโทนี่ แอ๊บบอต ได้พยายามที่จะหยิบเรื่องการร่วมจ่าย (copayment) ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งก็วนกลับเข้าสู่คำถามเดิมอีกครั้งว่า “ทำไมเราต้องทำเรื่องนี้ ?”
สำหรับสาเหตุของการไม่เห็นด้วยกับนโยบายการร่วมจ่าย (copayment) ในครั้งที่ 2 นั้น เนื่องจากผู้ที่มีสิทธิได้แสดงความไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก กลุ่มแพทย์ก็ทำการต่อต้านอย่างชัดเจน สุดท้ายแล้วในที่สุด ก็ไม่ผ่านการลงมติของวุฒิสภา ซึ่งผลพวงทั้งหมดนี้ก็ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากสำหรับการโฆษณาหาเสียงในการเลือกตั้งที่รัฐควีนส์แลนด์ ของนายแคมเบลล์ นิวแมน
เหตุผลในการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกครั้งจะต่างจากในครั้งแรกๆ ซึ่งในตอนนั้นมีหลายเหตุผลและเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสับสนพอสมควร เหตุผลดังกล่าว อาทิ การต้องการเก็บเงินคืนเข้ากองทุน และต้องการนำเงินไปสนับสนุนกองทุนวิจัยด้านการแพทย์ เพื่อลดการไปใช้บริการที่ไม่จำเป็น รวมทั้งเพื่อบังคับให้ผู้มีอำนาจจ่ายต้องจ่ายเงินค่ารักษาบริการเอง และเพื่อการควบคุมค่าใช้จ่ายในระบบเพื่อความยั่งยืนของระบบในระยะยาว
“ระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ออสเตรเลีย จะไปไม่รอดในระยะยาวแน่ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้มันยั่งยืน” ซูซาน เลย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุขคนใหม่กล่าว ซึ่งเป็นการพูดซ้ำเรื่องเดิมที่รัฐบาลได้เคยพูดมาแล้วก่อนหน้านี้ และในปีงบประมาณที่ผ่านมา เธอต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่ค่อยมีคนยินดีสักเท่าไหร่ (เงินคืน 5 ดอลลาร์ ($5) ที่ถูกหักไว้สำหรับเดือนกรกฎาคมจะยังคงอยู่)
ซูซาน เลย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุขออสเตรเลีย (ภาพจาก www.bordermail.com.au)
“ในทศวรรษที่ผ่านมาการใช้จ่ายเงินในระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ออสเตรเลีย ได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 8,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2004 (พ.ศ.2547) เป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ ($ 20 bn) ในปัจจุบัน แต่เรามีเงินเพิ่มในระบบเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ ($ 10 bn) จากการจัดเก็บภาษีประกันสุขภาพระบบเมดิแคร์ ซึ่งคาดว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นไปถึง 34,000 ล้านดอลลาร์ ($ 34 bn) ในทศวรรษถัดไป จนถึงปี 2024 (พ.ศ.2567” เธอกล่าว
แต่มีข้อเท็จจริงบางประการที่ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า เหตุผลหรือที่มาดังกล่าวเข้าท่าหรือไม่
สตีเฟน ดักแกต ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแกรตเทน (Grattan Institute’s health program) ชี้ว่า ถ้าตัวเลขที่มีการปรับโดยการเพิ่มขึ้นของประชากรและอัตราเงินเฟ้อแล้ว ค่าใช้จ่ายในช่วง 10 ปี ไม่ได้เพิ่มขึ้นถึง 200% แต่แค่ใกล้แตะที่ประมาณ 50% เท่านั้น แต่ไม่ว่าจะ 50% หรือไม่นั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน ขึ้นอยู่กับว่าเราได้รับความคุ้มค่าสำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ทุ่มงบประมาณลงไปหรือไม่ ซึ่งมันก็มีหลักฐานเชิงประจักษ์ชี้ให้เห็นว่าคุ้มค่าจริง ออสเตรเลียมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงถึง 17.7% ของ GDP ขณะที่ออสเตรเลียอยู่ที่ 9.5%) และออสเตรเลียมีอายุคาดเฉลี่ยสูงกว่า หรือกรณีใช้ตัวชี้วัดอื่น ก็เช่นว่า อัตราการตายก่อนวัยอันควร (การตายจากโรคที่สามารถป้องกันได้) ลดลงอย่างต่อเนื่อง และงบประมาณที่ใช้ไปกับบริการปฐมภูมิซึ่งเป็นบริการที่ป้องกันคนจากการล้มป่วยเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เมื่อเทียบกับต้องใช้งบประมาณไปกับการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
ฉะนั้นแล้ว ทำไมเราถึงจะคิดว่าเราจะประหยัดงบประมาณจากแพทย์ทั่วไปด้วย ?
ความจริงที่ว่าการจัดเก็บภาษีระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ เพิ่มขึ้นเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ ($ 10 bn) จากที่ต้องใช้ถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ ($ 20 bn) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการปั่นตัวเลข ฟังดูแล้วก็ดูเหมือนว่าจะเป็นอะไรที่ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ควรลืมไปว่าการจัดเก็บภาษีระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์นั้น ไม่ได้ใช้ไปทั้งหมดสำหรับระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ แต่สัดส่วนที่จ่ายไปสำหรับปี 2014 (พ.ศ.2557) นั้นต่ำกว่าปี 2003 (พ.ศ.2546) เล็กน้อย และสูงกว่าปีที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ข้อมูลดังแสดงในตารางซึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารในห้องสมุดของรัฐสภา
อย่างไรก็ดี ข้อมูลทั้งหมดก็ไม่ได้บอกชัดเจนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลียต้องใช้ภาษีที่จัดเก็บได้มาในสัดส่วนเท่าใดในระบบเมดิแคร์ ซึ่งในปัจจุบัน 55% ของภาษีที่มีการจัดเก็บจากระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ถูกใช้ไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ โดยที่ไม่ได้น้อยกว่าปีที่ผ่านๆ มากเท่าใดนัก
ซึ่ง ซูซาน เลย์ ได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์การ์เดียน ออสเตรเลีย ว่า “เห็นชัดว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีในระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์นั้นเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัดส่วนของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ทันกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ที่สูงขึ้น”
ที่มา : เอกสารห้องสมุดรัฐสภาออสเตรเลีย
แต่ข้อเท็จจริงได้ชี้ให้เห็นว่าระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ของออสเตรเลียไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤต ต้นทุนที่สูงขึ้นยังสามารถควบคุมได้ แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่าง แต่มีเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้นที่ระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ออสเตรเลีย จะล่มสลายไปก็คือการที่รัฐบาลจงใจที่จะล้มล้างระบบดังกล่าว
หาก ซูซาน เลย์ เริ่มที่จะหาวิธีในการออมเงินจากการจ่ายงบประมาณสำหรับระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ออสเตรเลีย โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้บริการการแพทย์ทั่วไป เธออาจจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เนื่องจากในภาพรวมแล้วประเทศออสเตรียก็ไม่ได้ใช้จ่ายงบประมาณไปกับด้านสุขภาพจนไม่สามารถควบคุมได้ แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่เรายังสามารถทำได้ บางทีเงินคืน 5,000 ล้านดอลลาร์ ($ 5 bn) อาจเปลี่ยนเป็นการจ่ายสมทบ (copayment) 5 ดอลลาร์ ($5) สำหรับทุกคนยกเว้นเด็กและกลุ่มเกษียณก็เป็นได้
เอกสารที่เผยแพร่โดย ซีน พาร์แนล แสดงให้เห็นว่ากลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียได้แนะนำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณโดยการตัดสิทธิประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่า (ยาและการบำบัดบางอย่าง) ออกไป ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้ถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ ($15bn) ต่อปีเลยทีเดียว
ดักแกต ได้แนะนำว่า รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ 1,000 ล้านดอลลาร์ ($1bn) โดยการลดความไม่มีประสิทธิภาพในโรงพยาบาลรัฐ ปีละ 5000 ล้านดอลลาร์ ($ 500 m) จากการปฏิรูปด้านกำลังคนในโรงพยาบาลรัฐ หรือปีละ 400 ล้านดอลลาร์ ($ 400 m) ถึง 500 ล้านดอลลาร์ ($ 500 m) จากการใช้มาตรฐานราคายาสามัญ
The Australian Council of Social Service (สภาออสเตรเลียเพื่อการบริการสังคม) แนะนำว่า รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณได้ปีละ 6,600 ล้านดอลลาร์ ($ 6.6 bn) จากการยกเลิกการคืนเงินให้กับโรงพยาบาลภาคเอกชน แม้ว่ารัฐบาลจะมีแนวคิดอย่างแรงกล้าในการสนับสนุนโรงพยาบาลภาคเอกชนก็ตาม และประหยัดปีละ 400 ล้านดอลลาร์ ($ 400 m) จากส่วนอื่นๆ ของระบบประกันสุขภาพเมดิแคร์ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยกลุ่มที่มีความต้องการมากกว่า แม้ว่าบางครั้งจะมีค่าใช้จ่ายการออกจากโรงพยาบาลสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม
ถ้า ซูซาน เลย์ ได้มีการรืออย่างกว้างขวางในประเด็นดังกล่าว และคำตอบที่จะได้จากคำถามที่ว่า “ทำไมเราทำสิ่งนี้ ?” นั่นก็คือ “เพื่อใช้เงินงบประมาณของรัฐบาลที่มีอยู่ให้ประชาชนชาวออสเตรเลียมีสุขภาพดีขึ้น” เธออาจหาวิธีการประหยัดงบภาครัฐได้โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนและอาจผ่านมติของรัฐสภาก็เป็นได้
แต่ถ้าเธอทำได้เพียงแค่รอเวลาจนกว่ารัฐควีนส์แลนด์จะมีการเลือกตั้ง หรือมองหาอะไรอย่างอื่น หรือเธอคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งที่ผ่านมานั้นเป็นแค่เพียงเรื่องการเข้าใจข้อมูลที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนจะนำไปสู่ความสับสนสำหรับผู้ป่วย และหมอ (ดังที่เธอได้แถลงต่อที่ประชุม) เธอก็จะทำความผิดอีกครั้งซ้ำรอยเดิมกับรัฐบาลชุดก่อนภายใต้การนำของนายโทนี่ แอ๊บบอต เพราะมันได้เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน และนั่นอาจทำให้เธอเข้าใจผิดได้ว่าปัญหาอยู่ที่การสื่อสาร หรือการปั่นตัวเลข มากกว่าที่จะคิดว่าเกิดจากกระบวนการทำงานที่ยุ่งเหยิงและการคิดเชิงนโยบายที่ไม่เข้าท่า
- 30 views