สาธารณสุขเผย 7 ชนิดยอดนิยม อันดับหนึ่ง รถด่วน ตามด้วยตั๊กแตนทอด ชี้คุณค่าโภชนาการสูงก็จริงแต่เสี่ยงปนเปื้อนอันตรายจากสารเคมี โดยเฉพาะตั๊กแตนปาทังก้า
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนนิยมหันมาบริโภคแมลงมากขึ้น โดยเฉพาะนำมาทอดเป็นอาหารว่าง ทั้งนี้ พบว่า การบริโภคแมลงทุกชนิดในไทยตกปีละประมาณ 2 ตัน แมลงที่นิยมนำมาทอดกินมี 7 ชนิด ได้แก่ ดักแด้หนอนไหม หนอนไม้ไผ่ แมงดานา ตั๊กแตน แมลงกระชอน จิ้งโกร่ง และ จิ้งหรีด โดยนิยมกินดักแด้หนอนไหมทอดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ตั๊กแตนทอด อย่างไรก็ตาม แม้อาหารประเภทนี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากมีโปรตีนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับสารอันตราย คือ สารกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะตั๊กแตน ส่วนดักแด้หนอนไหมทอดจะพบสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ตกค้างอยู่มากถึง 875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดคือ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
“สารฮีสตามีนนี้ความร้อนไม่สามารถทำลายได้ ดังนั้น เมื่อรับประทานแมลงทอดที่มีฮีสตามีนสูง จะทำให้ไปเพิ่มปริมาณฮีสตามีนในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางด้านผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ เช่น ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง เป็นลมพิษ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และหอบหืด เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดจะมีอาการหนักมากจนถึงขั้นเสียชีวิต” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ตั๊กแตนที่นำมาทอดขายส่วนใหญ่เป็นตั๊กแตนปาทังก้า เป็นศัตรูพืชประเภทกัดกินใบ ซึ่งเกษตรกรมักจะใช้ยากำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นเพื่อกำจัด โดยสารเคมีที่ใช้จะเป็นสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บาเมต (Carbamates) เช่น Carbaryl หรือ 1-naphthyl methylcarbamate ดังนั้น สารกำจัดศัตรูพืชจึงตกค้างทั้งบริเวณปีก ลำตัว ขา รวมถึงสะสมในตัวของตั๊กแตนด้วย เมื่อนำมาปรุงจึงมีโอกาสเสี่ยงรับสารกลุ่มนี้ อาการและความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นกับปริมาณ วิธีการ และระยะเวลาที่ได้รับสาร หากได้รับไม่มากอาการจะไม่รุนแรง เช่น เหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน คลื่นไส้ และมองภาพไม่ชัด ระดับปานกลาง ได้แก่ ปวดศีรษะ เหงื่อแตก น้ำตาไหล น้ำลายไหล อาเจียน สายตาแคบและกระตุก หากได้รับมากจนมีอาการรุนแรงมากถึงขั้นเป็นตะคริวที่ท้อง ปัสสาวะราด ท้องเสีย กล้ามเนื้อสั่น ม่านตาหด ความดันต่ำ หัวใจเต้นช้า หายใจขัด หากไม่ได้รับการรักษาทันทีจะเสียชีวิต เมื่อกินตั๊กแตนทอดแล้วมีอาการดังกล่าวภายใน 4 - 24 ชั่วโมง ควรรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเลือกซื้อแมลงทอดให้ปลอดภัยต้องเลือกแมลงที่รู้จัก และเป็นแมลงที่มีคนนำมากินได้ และควรเลือกชนิดของแมลงที่อาศัยอยู่กับต้นไม้ อยู่กับป่าละเมาะ สวนป่าธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ไม่มีการใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช หรือแมลงที่นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย เช่น จิ้งหรีด แมลงที่จับมาทอดจำหน่ายควรยังมีชีวิตอยู่และนำมาปรุงเป็นอาหารทันที ควรปรุงให้สุกด้วยความร้อน เช่น คั่ว ทอด ต้ม เป็นต้น และขณะกินควรเด็ดปีก ขน ขา หรือ หนามแข็งของแมลงทิ้งไป เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อจากผู้จำหน่ายที่มีการปกปิดอาหาร ม่ใช้มือหยับจับอาหารโดยตรง ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า เหม็นบูด เหม็นหืน หากกินแล้วรู้สึกรสชาติผิดปกติ เช่น ขม เปรี้ยว ต้องหยุดกินทันที และดูลักษณะน้ำมันที่ใช้ทอดต้องไม่เห
- 773 views