สยามรัฐ - นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่นพบญชัยสมบรณ์สขเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ส่งเสริมให้ร้านขายยามีการพัฒนาภายใต้วิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรม(Good Pharmacy Practice : GPP) เพื่อยกระดับมาตรฐานของร้านขายยาให้พร้อมต่อการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นอย. ได้ออกกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันพ.ศ.2556 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป เพื่อให้ร้านขายยามีการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตอบสนองสิทธิของผู้ใช้ยามากขึ้น และทำให้ผู้ใช้ยามีความปลอดภัยในการใช้ยามากขึ้น โดยปรับปรุงข้อกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ และอุปกรณ์ เครื่องมือในการควบคุมเก็บรักษาคุณภาพยา อาทิ การจัดบริเวณให้คำปรึกษาด้านยา การจัดพื้นที่ตามประเภทยาอย่างชัดเจน แยกเก็บยาอันตรายยาควบคุมพิเศษ ยาสำหรับสัตว์ เป็นสัดส่วนจากยาอื่นๆ,กำหนดให้มีการแสดงป้ายชื่อพร้อมรูปถ่ายเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ,กำหนดให้ผู้รับอนุญาต (เจ้าของร้าน) และ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (เภสัชกรผู้ส่งมอบยา)ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรม (GPP), กำหนดเงื่อนไขในการต่ออายุใบอนุญาตและการตรวจประเมิน วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรม เพื่อประกอบการพิจารณาในการออกใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตของผู้รับอนุญาต กำหนดให้ผู้รับอนุญาตร้านขายยาที่เปิดก่อนกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ ต้องปรับปรุง สถานที่ อุปกรณ์ และการปฏิบัติตาม GPP อย่างเป็นขั้นตอน ภายในระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 8 ปี นับจากกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ
เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม อย. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายยาอย่างต่อเนื่อง และได้กำกับดูแลการจำหน่ายยาประเภทยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ และ การปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรในร้านขายยาอย่างใกล้ชิด ถ้าตรวจพบว่าร้านขายยาใดมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายจะดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนทุกราย โดย หากมีการจำหน่ายยาประเภทอันตรายและยาควบคุมพิเศษในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ หรือกรณีที่เภสัชกรที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาทำการ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 - 5,000 บาท และส่งเรื่องให้สภาเภสัชกรรมพิจารณาเรื่องจริยธรรมวิชาชีพต่อไป ทั้งนี้ อย. จะประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)ให้เข้มงวดในการตรวจสอบร้านขายยา และขอให้ร้านขายยาทุกร้านทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากผู้บริโภคพบร้านขายยาที่จำหน่ายยาผิดกฎหมาย/จำหน่ายยาประเภทอันตรายและยาควบคุมพิเศษในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติการ/ไม่มีเภสัชกรประจำร้านสามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.โทร.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกจังหวัด
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557
- 148 views