เดลินิวส์ - เมื่อวันที่ 3 ม .ค. นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่มีการส่งข้อความเผยแพร่ผ่านทางสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับเด็กสาวบริโภคสาหร่ายทอดกรอบในปริมาณมากทุกวัน จนทำให้ม่านตาเสีย
เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง และแพทย์แจ้งว่าอาจเกิดจากการบริโภคเกลือ และโซเดียมกลูตาเมทนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยเด็ก ๆ เกรงจะได้รับอันตราย จึงขอให้ผู้ปกครองแนะนำบุตรหลานถึงการบริโภคขนมกรุบกรอบ รวมทั้งสาหร่ายทอดกรอบ เนื่องจากสาหร่ายอบแห้งธรรมดา เมื่อนำมาปรุงรสด้วยรสชาติต่าง ๆ จะมีการใส่เกลือโซเดียม และโซเดียมกลูตาเมทหรือผงชูรสเป็นส่วนผสม เพื่อให้รสชาติของสาหร่ายอร่อย ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า
นพ.บุญชัยกล่าวต่อว่า สาหร่ายทอดกรอบมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคหรือเทียบเท่ากับเกลือ 250 มิลลิกรัม ในขณะที่การบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่มีรสจัด ทำให้ได้รับปริมาณโซเดียมสูงในแต่ละวัน จะทำให้เกิดอันตรายต่อเด็ก ที่สำคัญผลเสียของการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ทำให้ความดันโลหิตสูง รวมทั้งเกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และไตเสื่อมเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม อย. ได้เฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ สาหร่ายทั้งชนิดปรุงรสและชนิดที่ใช้ปรุงอาหาร เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปรอท ตะกั่ว และสารหนูอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-ปัจจุบัน พบว่ามีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และหากตรวจสอบแล้วพบสารปนเปื้อนเกินที่กฎหมายกำหนด จะจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท นอกจากนี้ หากตรวจพบสารปนเปื้อนดังกล่าวในปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เลขาธิการฯ อย. เปิดเผยถึงปริมาณเกลือ และโซเดียมให้ผู้บริโภคทราบด้วยว่า ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) 6 กรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือแกงแบบร่วนละเอียดประมาณ 1 ช้อนชา นอกจากจะได้รับโซเดียมจากเกลือแล้ว ผู้บริโภคยังอาจได้รับโซเดียมจากผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) ที่อยู่ในรูปของเครื่องปรุงรส/ ผงปรุงรส อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะบริโภคอาหารสำเร็จรูป ขนมต่าง ๆ สาหร่ายทอดกรอบ
หรือสาหร่ายปรุงรส ขอให้ผู้ปกครองอ่านฉลาก แนะนำบุตรหลานอ่านฉลากด้วย ว่ามีปริมาณโซเดียมเท่าใด และควรใช้วิจารณญาณในการบริโภคว่าร่างกายควรได้รับอาหารดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ซึ่งขณะนี้ อย. ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้แสดงข้อมูลโภชนาการในรูปแบบจีดีเอ (**Guideline Daily Amounts : GDA) หรือฉลากหวาน มัน เค็ม เพื่อนำไปสู่การ ลด หวาน มัน เค็ม จากการบริโภคอาหาร โดยกำหนดให้แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ใน
1 ซอง/ห่อ และเทียบเป็นค่าร้อยละ (%) ของปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับในแต่ละวัน บนด้านหน้าฉลากกับอาหารขบเคี้ยว
5 ชนิด
อาทิมันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ และอยู่ระหว่างขยายให้ครอบคลุมอาหารอื่น ได้แก่ ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ขนมอบ อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย และผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวอื่น ซึ่งก็รวมถึงสาหร่ายทอดกรอบด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย สามารถตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ อย่างไร ก็ตาม
"ขอแนะผู้บริโภคให้ยึดหลัก 3 ฉ. สนองสุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่ คือ ฉลาก ฉลาด และเฉลียว โดยอ่านฉลาก ทุกครั้ง ฉลาดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ และเฉลียวใจในการดูสภาพของผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบไม่ให้มีสิ่งใดปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย หรือไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบการกระทำความผิด"เลขาธิการฯ อย.กล่าว
ที่มา: http://www.dailynews.co.th
- 461 views