จากข้อมูลการสำรวจไอคิวของเด็กไทยช่วงอายุ 6-15 ปี โดยกรมสุขภาพจิตพบว่ามีไอคิวเฉลี่ยเพียง 99 จุด ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสากลคือ 100 จุด โดยในพื้นที่ กทม.มีไอคิวเฉลี่ยสูงสุดที่ 105 จุด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีไอคิวต่ำสุดที่ 96 จุด สาเหตุมาจากการขาดไอโอดีนที่มีผลต่อการพัฒนาสมอง อย่างไรก็ตามจากสภาพปัญหาดังกล่าว ได้มีการลงนามข้อตกลงหรือเอ็มโอยู ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีนภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ เพื่อให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมประกาศเจตนารมณ์ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กให้ได้รับไอโอดีนคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างสติปัญญาเด็กไทยให้เฉลียวฉลาด ทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพต่อการพัฒนาประเทศ โดยตั้งเป้าให้มีหมู่บ้านและจังหวัดไอโอดีน รวมทั้งตั้งเป้าที่จะให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90 และมีไอคิวเกิน 100 จุด ภายในกรมอนามัยปลูกฝังค่านิยม'เสริมไอโอดีน'ปี 2559
ล่าสุดทาง กรมอนามัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับจังหวัดน่าน ดำเนินการจัดตั้งจังหวัดต้นแบบ และหมู่บ้านต้นแบบตามโครงการ "สติปัญญาสร้างชาติ คนน่านไม่ขาดไอโอดีน" ของกระทรวงสาธารณสุข หลังรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข เริ่มดำเนินการในพื้นที่นี้มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนเครื่องผสมเกลือที่ได้มาตรฐานให้กับผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน ให้แก่ จ.น่าน 1 เครื่อง ติดตั้งที่ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน อ.บ่อเกลือ ที่เป็นแหล่งผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ
ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า จังหวัดน่านได้ดำเนินการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมาเป็นระยะเวลานานและมีแนวโน้มดีขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์โดยรวมของประเทศ จากเดิมพบว่าในปี 2555 ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์จังหวัดน่านอยู่ในระดับที่เพียงพอคือ 232 ไมโครกรัมต่อลิตร แต่ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อ เนื่องจากครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพเพียงร้อยละ 64.8 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ร้อยละ 90 นอกจากนี้การสำรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิตและบรรจุ จำนวน 9 แห่ง พบผ่านเกณฑ์จำนวน 7 แห่ง คิดแหล่งผลิตและบรรจุ จำนวน 9 แห่ง พบผ่านเกณฑ์จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.8 รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาผ่านกระบวนการชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน โดยได้มีการแต่งตั้ง"ทูตไอโอดีน" เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประชาชนในพื้นที่ จ.น่าน เห็นถึงประโยชน์ของไอโอดีน ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งก้าวต่อไปของ จ.น่านคือตักเกลือเหมือนเกลือทะเล จึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนที่โรงไอโอดีนกลางหมู่บ้าน ก่อนส่งต่อเกลือไอโอดีนถึงมือผู้บริโภค
ส่วน นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานการณ์การได้รับไอโอดีนปี 2555 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 90.9 ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ร้อยละ 84.6 ของครัวเรือนมีการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพตามกฎหมายกำหนด แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัย ได้ดำเนินการการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เป็นโรคขาดสารไอโอดีน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายเกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า ซึ่ง
เป็นวิธีที่ปลอดภัย ประหยัด และต้นทุนการเสริมไอโอดีนในเกลือต่ำมาก เพียง 1.30 บาทต่อคนต่อปี ทาง อย.ยังมีมาตรการเสริมคือการจ่ายยาเม็ดเสริมไอโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตลอดการตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือน การเสริมไอโอดีนในน้ำดื่มในพื้นที่ทุรกันดารตามโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี และการขับเคลื่อนให้ทุกชุมชน/หมู่บ้าน จำนวน 77,373 แห่ง เป็นชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ซึ่งปัจจุบันดำเนินการทั้งสิ้น 38,663 แห่ง อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก เด็กปฐมวัย และ เด็กวัยเรียน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนได้ประมาณปีละ 14 ล้านคน และเตรียมปรับปรุงกฎหมายให้เกลือมีสารไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัม แต่ไม่มากกว่า 40 มิลลิกรัม ตามมาตรฐานของ อย. คน และเตรียมปรับปรุงกฎหมายให้เกลือมีสารไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัม แต่ไม่มากกว่า 40 มิลลิกรัม ตามมาตรฐานของ อย.
เป็นเรื่องดีที่ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการขาดสารอาหาร ซึ่งได้ตั้งเป้าภายในปี 2558 เตรียมยก จ.น่าน เป็น "จังหวัดไอโอดีนต้นแบบ" เพื่อแหล่งเรียนรู้ด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสู่ความยั่งยืน ซึ่งการใช้มาตรการดังกล่าวนอกจากจะช่วยปกป้องเด็กแรกเกิด และประชาชนในจังหวัดน่านให้ปลอดภัยจากการสูญเสียระดับสติปัญญา ยังนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ที่มา --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--
- 23 views