นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า สธ.เตรียมปรับค่ารักษาพยาบาล ว่า การทบทวนค่าบริการคงเป็นการคิดตามต้นทุนที่ควรจะเป็น แต่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเพิ่มค่าแรง 300 บาทหรือเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดสธ.กล่าวว่า เรื่องนี้คิดมาตั้งแต่สมัยที่ นพ.ณรงค์ เป็นรองปลัดสธ.ประมาณ 1 ปีมาแล้ว ถ้าไม่มีอะไรจะเสนอให้ปลัดสธ.ลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เร็วที่สุด นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า จะปรับค่าบริการทั้งหมด ส่วนจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์จำตัวเลขไม่ได้ ทั้งนี้เหตุที่ต้องปรับค่าบริการใหม่เพราะไม่ได้ทั้งนี้เหตุที่ต้องค่าบริการใหม่เพราะไม่ได้ปรับมา 10 ปีแล้ว ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ราคาขึ้น เชื่อว่าไม่กระทบเพราะผู้ต่างๆ ราคาขึ้น เชื่อว่าไม่กระทบเพราะผู้ใช้บริการมี 3 กองทุนสุขภาพจ่ายแทน
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ถ้าเป็นคนไข้ในระบบหลักประกันสุขภาพไม่น่ากระทบเพราะจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) และจ่ายแบบปลายปิด แต่ในอนาคตคือต้นทุนที่เกิดขึ้นในปีนี้เวลาจะทำดีอาร์จีเวอร์ชั่นต่อไปต้องใช้ต้นทุนปีนี้ พอต้นทุนขยับขึ้นตาม ถ้าจะมีผลกระทบคงอีก 3 ปีข้างหน้า
"ค่าบริการที่ปรับขึ้น สปสช.จะใช้เป็นเหตุผลในการขอค่าหัวเพิ่มปรับอัตราการจ่ายใหม่ คิดว่าโรงพยาบาลคงจะโวยแน่ๆว่า ต้นทุนแพง แต่ สปสช.จ่ายเท่าเดิมส่วนผู้ป่วยนอกเหมาหัวจ่ายอยู่แล้วคงไม่แตกต่างกัน" ทพ.อรรถพร กล่าว
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการปรับค่าบริการ เพราะสธ.ถูกมองราคาถูกมานาน ทำให้การดูแลงบประมาณค่ารักษาพยาบาลไม่ตรงกับความเป็นจริง เมื่อ 10 ปีที่แล้วสธ.เคยทำราคาค่าบริการแต่ไม่ได้ใช้ เพราะกรมบัญชีกลางไม่เห็นด้วยแย้งว่าแพงไป จากนั้นก็ไม่ได้จนบัดนี้มากว่า 15 ปีแล้ว
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 25 มกราคม 2556
- 1 view