ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อธิบดีกรมสุขภาพจิต มอบ 9 นโยบายพัฒนางานสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 68 ทั้งจัดบริการสุขภาพจิตและสารเสพติดครบวงจร ป้องกันการก่อความรุนแรงจากผู้มีอาการทางจิต และปัญหาฆ่าตัวตาย ผลักดันกลไกกฎหมายสุขภาพจิต พัฒนากำลังคนทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

 

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  ที่กรมสุขภาพจิต  นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงค์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมชี้แจงตัวชี้วัด ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต  พร้อมมอบ 9 นโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2568 ดังนี้

1 สนับสนุนงาน โครงการพระราชดําริ/ โครงการเฉลิมพระเกียรติ พัฒนาเครือข่าย to be number one ครอบคลุมทุกอำเภอ / เขตกรุงเทพมหานคร เชื่อมระบบข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่อยู่ในเรือนจำทุกแห่งภายใต้โครงการราชทัณฑ์ ปันสุขฯ ผ่านระบบหมอพร้อม และดูแลสุขภาพจิตเด็กกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มพัฒนาการล่าช้าในพื้นที่

2 จัดบริการสุขภาพจิตและสารเสพติดครบวงจร   

3 ป้องกันการก่อความรุนแรงจากผู้มีอาการทางจิต และปัญหาการฆ่าตัวตาย บูรณาการระบบการค้นหา ส่งต่อ และดูแลช่วยเหลือ จัดทีม Psychiatric Emergency และทีม HOPE Task Force

4 ผลักดันกลไกกฎหมายสุขภาพจิต ในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิต โดยการปรับแก้ไข พ.ร.บ.สุขภาพจิต เพิ่มสาระหมวดการจัดตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ บูรณาการงานสุขภาพจิตผ่าน พ.ร.บ.สุขภาพจิต และประมวลกฎหมายยาเสพติด ขับเคลื่อนผ่านคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตจังหวัด และกรุงเทพมหานคร

5 ผลิต พัฒนากําลังคน ด้านสุขภาพจิตทุกสาขา โดยพัฒนาบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพจิตและสารเสพติดในสาขาที่ขาดแคลนเพื่อกระจายกำลังคนในเขตสุขภาพอย่างเหมาะสม  ร่วมพัฒนาหลักสูตรผลิตจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช ในร.ร.แพทย์และสถาบันการศึกษา เพิ่มนักจิตบำบัดในระบบบริการให้คำปรึกษา

6 ส่งเสริม ป้องกัน ปัญหาสุขภาพจิตเด็กและเยาวชน พัฒนาทักษาะการเลี้ยงดูเชิงบวก ป้องกันปัญหาเด็กติดจอ และการบูลลี่ เพิ่มการเข้าถึงบริการและยาจิตเวชเด็กอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง

7 เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและสารเสพติดให้ทุกกลุ่มวัยมุ่งมั่น จัดการความท้าทาย สร้างเครือข่ายสื่อสารสุขภาพจิต เช่น นักสื่อสารสุขภาพจิต (MIT) นักสื่อสารสร้างสุข นักส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน เสริมทักษะป้องกันสารเสพติดและดูแลสุขภาพจิต ผ่านการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในชุมชน

8 พัฒนาระบบบริการวิกฤตสุขภาพจิต ที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว พร้อมตอบโต้ภาวะวิกฤตและฉุกเฉินในทุกรูปแบบ

9 พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความเชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพจิตที่ตอบโจทย์ ความท้าทายของสังคมอนาคต (New S-Curve of Mental Health)

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง