รมว.สธ.มอบนโยบาย 4 ด้าน ดูแลสุขภาพจิตคนไทย ล่าสุด สปสช.เพิ่มวงเงิน 70 ล้านใช้บริการตรวจรักษาจิตเวชทางไกล ( Telepsychiatry ) เริ่ม 1 ต.ค.นี้ ขณะที่อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมเสวนาบทบาทช่วยประชาชนฝ่าวิกฤตภัยธรรมชาติ – ความรุนแรงทางการเมือง
เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานและมอบนโยบาย การขับเคลื่อนเพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนคนไทย จากบทเรียนในอดีต การพัฒนาเพื่อปัจจุบันและความมั่นคงสู่อนาคต” ภายใต้กิจกรรม 3 ทศวรรษ กรมสุขภาพจิต ดูแลจิตใจ ทุกวัย ทุกคน โดยมีนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารกระทรวง เข้าร่วมงาน
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า นโยบายในการขับเคลื่อนสุขภาพจิตในอนาคตจะเน้นไปที่ 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. การคุ้มครองส่งเสริมสุขภาพจิตเชิงรุก เน้นการป้องกัน ให้ความรู้และสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลจิตใจตนเองได้ รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชนในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเยาวชน 2. การพัฒนาบริการสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคนอย่างครอบคลุม สร้างระบบบริการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมทั้งการให้คำปรึกษา การบำบัดการรักษา ฟื้นฟู ทั้งผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติดที่ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบททางสังคม
3. การลดการตีตราและเพิ่มความเข้าใจในปัญหาสุขภาพจิต ร่วมมือกันสร้างสังคมที่เปิดกว้างและเข้าใจปัญหาสุขภาพจิต ลดการตีตรา เพื่อให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ กล้าที่จะเข้ารับบริการโดยไม่รู้สึกอับอายหรือกลัวว่าจะถูกมองว่าเป็นภาระ4. ความมุ่งมั่นสู่อนาคต สร้างสังคมที่ทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีคุณภาพชีวิต ที่สมดุล เดินหน้าพัฒนาระบบสุขภาพจิตให้ยั่งยืน และยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
นายสมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์อีกว่า กรมสุขภาพจิตมาถึงวันนี้มีพัฒนาการหลายอย่าง และปีหน้าต้องรับการบำบัดสุขภาพจิตผู้ติดยาเสพติดด้วย เป็นการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสากล ส่วนการดำเนินการได้มีการสอบถามถึงเตียงสำหรับดูแล บำบัด รักษา ฟื้นฟูผู้ติดยา ซึ่งตนยืนยันว่ามีเพียงพอแน่นอน เพราะมีประมาณ 9000 เตียง ดูแลได้แสนคนในแต่ละปี ทั้งนี้เมื่อรัฐบาลได้วางแนวทางการปราบปรามยาเสพติด ถ้าผู้ค้าลดลง ก็จะทำให้จำนวนผู้เสพลดลงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เรื่องสุขภาพจิต ประชาชนอาจมีความวิตกกังวลจากเรื่องอื่นๆ เช่น น้ำท่วม ดังนั้นการเป็นแพทย์จิตเวชอาจมีการงานมาก สปสช.ก็ได้เพิ่มวงเงินการใช้บริการตรวจรักษาจิตเวชทางไกล หรือ Telepsychiatry จึงเพิ่มงบฯ ปีนี้ที่จะเริ่ม 1 ต.ค.นี้อีก 70 ล้านบาท
เมื่อถามถึงการผลักดันนโยบาย NCDs นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตั้งเป้าหมายไว้ว่า 3 ปี ต้องเห็นผล เพราะปีแรกต้องตั้งไข่ก่อนแต่พร้อมลงมือทันที มีบุคลากรที่ทำงานมาระยะหนึ่งแล้ว โดยช่วงต้นอาจจะมีคนที่กำลังจะเป็น คงหยุดยั้งไม่ได้ แต่คนที่มาเข้าโปรแกรมแล้วต้องหยุดเป็นโรคเหล่านี้ ส่วนที่ไม่เข้าโปรแกรมแล้วยังป่วย ทีมงานกำลังคิดว่าจะให้รางวัลหรือลดการช่วยเหลืออย่างไร
นอกจากนี้ ภายในงานได้จัดเสวนา “กรมสุขภาพจิตกับภาวะวิกฤตในสังคมไทย โดยมี นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต บรรยาภายใต้หัวข้อ“การดูแลจิตใจประชาชนภาวะวิกฤต ทั้งจากวิกฤตธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ ประเด็นแรกการเกิดภาวะเหตุการณ์สึนามิและปัญหาความไม่สงบและการก่อความรุนแรงในจังหวัดชายว่า เมืองไทยก่อนมีสึนามิ มีพายุเก คนเสียชีวิตเป็นพันคน ทำให้กรมสุขภาพจิตมีบทบาทโดยการตั้งศูนย์สุขภาพจิตจังหวัด เพื่อดูแลประชาชนชาวชุมพร เมื่อถึงเหตุการณ์สึนามิมีการเรียกประชุมด่วน เพราะเปิดตำราไม่ทัน แต่ต้องดูแลสุขภาพจิต พร้อมสุขภาพกาย มีการส่งทีมแพทย์ลงพื้นที่ ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ กรมสุขภาพจิต ตั้งศูนย์ Mental Health Center Thai Tsunami Disaster ระดมคน ส่งไปจุดเกิดเหตุกระจาย 8 ทีม ใช้คำว่า First Aid เป็นครั้งแรก ศูนย์สุขภาพจิตดูแลอยู่ 2 ปี ได้มีการทำการศึกษา องค์กรอนามัยโลกได้เข้าร่วม มีการจัดทำไกด์ไลน์ แนวทางในการทำงาน มี แผนเตรียมพร้อมภัยพิบัติ จัดทำวารสารตีพิมพ์ ได้บทเรียนและถอดองค์ความรู้
ภายหลังเหตุการณ์ได้สรุปบทบาทการเผชิญเหตุของแต่ละประเทศทำได้ดีแค่ไหน ซึ่งประเทศไทยดี 3 ด้าน บาดเจ็บเสียชีวิตน้อย ไม่มีโรคระบาด แม้ว่าจะเสียหายเยอะ ภาวะหลังภัยพิบัติ ไม่มีการฆ่าตัวตาย โดยปกติหลังภัยพิบัติใหญ่ผู้ประสบเหตุจะซึมเศร้า แต่ของไทยไม่มี อาจเพราะคนไทยวัฒนธรรมการให้ความช่วยเหลือ อย่างตอนเกิดเหตุมีเด็กกำพร้า 900 คน สุดท้ย ไม่มีคนดูแลเพียง 2 คน นอกนั้นญาติพี่น้องรับดูแล เป็นการดูแลภาวะทางกาย ใจ บริบทวัฒนธรรมต้องทำด้วย ทั้งนี้ 30 ปี กรมสุขภาพจิต เรียนรู้เยอะ เหตุกาณณ์อาจเกิดขึ้นอีก เรามีบุคลากรคุณภาพสูงมาก จึงไม่ห่วง แต่ต้องเตรียมความพร้อมไว้
ด้านนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต บรรยายเรื่อง “การเยียวยาจิตใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความเห็นต่างทางการเมือง (เสื้อเหลือง เสื้อแดง)ว่า ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น วิเคราะห์ว่าถ้าเป็นชุดความคิดที่ยุติไม่ได้ ก็ต่อเนื่องให้ใช้ความรุนแรง ตนเกิดมาทันในยุคจอมพลสฤษฎิ์ เกิดมาพร้อมเสียงปืนแตก ตอนนั้นนักศึกษาเข้าป่ากันมากสุดในช่วง 2519 บทบาทของกรมสุขภาพจิต ได้เข้าไปเยียวยา พฤษภาทมิฬ ครั้งแรก ส่วนการต่อสู้ทางความคิดเหลืองแดง แนวทางคือการสร้างความไว้วางใจ ต้องเข้าได้ทั้งสองฝ่าย เป็นกลาง ไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิติเตียนมีการเข้าไปเยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล เยี่ยมเยียนคนในชุมชน เป็นต้น พร้อมยืนยันคิดต่างแต่อยู่ร่วมกันได้
“กรมสุขภาพจิตเข้าร่วมการแก้ไขวิกฤตั้งแต่ยังเป็นกอง ยังไม่เป็นกรม ไปสร้างองค์ความรู้ สร้างความภาคภูมิใจ ทั้งจากเหตุการณ์สึนามิ ปล้นปืน ความไม่สงบใน 3 จว.ใต้ และความขัดแย้งมายาวนาน ตนมองว่าเวลาเกิดเหตุประชาชนต้องการแค่คนมากอด โพรเทค ไดเรก คอนเนก ใครเข้าถึงเหตุการณ์เร็วสุดคนนั้นต้องทำเช่น ทหาร ตำรวจ ท้องถิ่น ต้องรู้เทคนิคการสวมกอด ซึ่งเป็นอีโมจินอลช็อค ดึงสติกลับมา เข้าอกเข้าใจหรือ การปฐมพยาบาลทางใจเบื้องต้น ผ่อนจากหนักเป็นเบา”นพ.วชิระกล่าว
นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต บรรยายกรณี การดูแลประชาชนในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงเทอมินอล 21ว่า เหตุการณ์นี้เป็นการหยุดยั้งอารมณ์ไม่อยุ่ เกิดการปลดปล่อยโดยความรุนแรง ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องทำคือทำให้ประชาชน ปลอดภัย Safe ด้านร่างกาย สำหรับการดูแลสุขภาพจิต ต้องทำ 3 L 1. Listening ฟัง 2.Looking สังเกตสีหน้า และ 3.Lingking ส่งต่อ เมื่อมีความตึงเครียดต้องให้ความรู้สึก อารมณ์ลดลง เมื่อเกิดเหตุการณ์กรมสุขภาพจิตต้องถอดรูปแบบการเกิดวิกฤต เเพื่อหาแนทางป้องกัน
ภายหลังเปิดพิธีแล้วเสร็จ นายสมศักดิ์ได้รับชมการเล่นดนตรีประเภทกลอง ของ “น้องวุฒิ" เด็กพิเศษ ที่มาโชว์ความสามารถ พร้อมกับสวมกอดและมอบดอกไม้ให้ด้วย จากนั้นได้เดินชมบูธนิทรรศกาลต่างๆ ที่กรมสุขภาพจิตจัดขึ้นและได้ทดสอบความเครียดกับระบบ AI ด้วย
- 120 views