เครือข่ายด้านเด็ก สตรี แรงงาน และสวัสดิการที่เป็นธรรม ยื่นข้อเสนอ ปธ.วุฒิสภา ตั้ง 21 คณะกรรมาธิการฯ ต้องโปร่งใส เป็นธรรม ตรงกับความต้องการในการแก้ปัญหาในอาชีพ แนะคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ปัญหาปากท้องของประชาชน มากกว่าการใช้หลักการเสียงข้างมาก
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 เครือข่ายด้านเด็ก สตรี แรงงาน และสวัสดิการที่เป็นธรรม ยื่นข้อเสนอ “การตั้งคณะกรรมาธิการ ทุกชุด ต้องโปร่งใส เป็นธรรม และได้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ที่ตรงกับประเด็นอาชีพ และกลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาประชาชน” ถึง ประธานวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งมีหนึ่งในการขับเคลื่อนผลักดันตลอด คือ ประเด็นสวัสดิการและเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า ที่เครือข่ายองค์กรด้านเด็ก และสตรี กำลังขับเคลื่อน เพื่อให้รัฐบาลจัดสรรงบเร่งด่วน มาช่วยเด็ก และสตรี ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การขอให้รัฐบาลสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนาศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน และย่านอุตสาหกรรฒที่ปลอดภัย ซึ่งรวมถึงการจัดสรรให้มีสถานที่แม่ให้นมลูกได้อย่างปลอดภัยใกล้ที่ทำงาน
ด้วยประเทศไทยได้มีการจัดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก ที่มาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆที่หลากหลายของสังคม โดยการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทำให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ บัดนี้ การเลือกสรรสมาชิกวุฒิสภา ทั่วประเทศจาก 18 กลุ่มอาชีพตามรัฐธรรมนูญ 2560 จำนวน 200 คน เสร็จสิ้น และเริ่มการประชุม และมีอำนาจหน้าที่ อาทิ การพิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย อำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายทั่วไป อำนาจในการให้ความเห็นชอบเพื่อแต่งตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และให้ความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระในการจัดทำ” มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งจะมีผลการบังคับใช้ต่อนักการเมืองทั้งคณะรัฐมนตรี ส.ศ. และ ส.ว.
ในช่วงเวลาเดือนกันยายน 2567 ที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการและเลือกประธานกรรมาธิการ วุฒิสภา ทั้ง 21 คณะนั้น จึงมีความสำคัญต่อการพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นทั้งข้อกฎหมาย ที่ต้องถูกส่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร นำมาพิจารณาให้ความเห็นชอบ และการทำข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาร่างกฎหมายหรือนโยบายของประเทศ เครือข่ายเด็ก สตรี และแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่ทำงานพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิต สุขภาพ อนามัยเจริญพันธ์ สวัสดิการสังคมกลุ่มเปาะบาง และการสนับสนุนการพัฒนาพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อาทิ
ประเด็นด้านแรงงาน
ที่ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร วาระ 1 ว่าด้วยการลาคลอด 180 วัน การพัฒนาสิทธิประโยชน์ของแรงงานนอกระบบ มาตรา 40 และการขอแก้ไขกฤษฎีกาของประกันสังคม ว่าด้วยการให้แรงงานลูกจ้างทำงานบ้าน และแรงงานภาคเกษตร เข้าสู่ระบบประกันสังคม มาตรา 33 การขอแก้ไขประกศกฎกระทรวงเรื่องการให้เงินบำเหน็จชราภาพในประกันสังคมต่อแรงงานข้ามชาติ ที่ประสงค์ไม่พำนักอยู่ในประเทศไทย และการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานอิสระ กรวมถึงการเร่งออกกฎหมายว่าด้วยการรับรองอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.) ฉบับที 87 และ 98 ว่าด้วยการรวมตัวและเจรจาต่อรอง เป็นต้น
ประเด็นสวัสดิการและเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า
ที่เครือข่ายองค์กรด้านเด็ก และสตรี กำลังขับเคลื่อน เพื่อให้รัฐบาลจัดสรรงบเร่งด่วน มาช่วยเด็ก และสตรี ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การขอให้รัฐบาลสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนาศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน และย่านอุตสาหกรรฒที่ปลอดภัย ซึ่งรวมถึงการจัดสรรให้มีสถานที่แม่ให้นมลูกได้อย่างปลอดภัยใกล้ที่ทำงาน
ประเด็นรัฐสวัสดิการ
ที่กำลังผลักดัน เรื่องระบบภาษีกับการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า การศึกษาแบบเรียนฟรีที่รัฐต้องสนับสนุน ตั้งแต่อนุบาล จนจบมหาวิทยาลัย การเสนออนาคตประเทศไทยกับการจัดทำประกันสังคมแบบถ้วนหน้า การมีที่ทำกิน และที่อยู่อาศัยที่มั่นคง เป็นต้น
ข้อเสนอของเครือข่ายเด็ก สตรี แรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ สวัสดิการที่เป็นธรรม และประชากรผู้มีปัญหาสถานะบุคคล จึงมีข้อเสนอ ต่อประธานวุฒิสภา ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการฯทั้ง 21 คณะ ดังนี้
1. ขอให้ประธานวุฒิสภา และวุฒิสภา ได้พิจารณา สมาชิกวุฒิสภา ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการ วุฒิสภา ทั้ง 21 คณะ ต้องเป็นการพิจารณาอย่างเป็นธรรมตรงกับความต้องการในการแก้ปัญหาในอาชีพ ประเด็นที่วุฒิสมาชิกนั้น ๆ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถในการนำเสนอ ชี้แนะ การแก้ปัญหา หาทางออกกับกลุ่มอาชีพ ในเรื่องที่สำคัญต่อการกำหนดอนาคตของประเทศ เพื่อนำมาสู่การออกกฎหมาย นโยบาย ได้อย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ
2. ขอให้ประธานวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ และปัญหาปากท้องของประชาชน มากกว่าการใช้หลักการเสียงข้างมาก ลงมติในการเลือกวุฒิสมาชิกที่จะตั้งเข้ามาเป็นคณะกรรมาธิการ ในชุดต่าง ๆ
ทั้งนี้ เครือข่ายด้านเด็ก สตรี แรงงาน สวัสดิการที่เป็นธรรม ขอยืนยันว่าการพิจารณาการตั้งคณะกรรมาธิการฯครั้งนี้ของวุฒิสภา จะมีการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สภาสูง (วุฒิสภา) ได้เป็นที่พึ่งของประชาชนอีกช่องทางหนึ่งอย่างแท้จริง
- 249 views