"ผศ.ดร.ณัฐสุดา - นศพ.ศุภานัน" เปิดผลสำรวจปัญหาสุขภาพจิต พบ นศ.แพทย์มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 50% ส่วนวัยทำงาน 49.1% อยู่ในภาวะฝืนทำงาน ชี้องค์กรควรสร้างความเท่าเทียม เพิ่มสวัสดิการ การตรวจรักษาสุขภาพกาย-ใจ วอนภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน เร่งแก้ปัญหาสุขภาพจิตในสังคมไทยทุกกลุ่มวัย
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ไทยพีบีเอส Live กิจกรรม HAPPY TALK HAPPY FORUM ประเด็นหาทางออกปัญหาสุขภาพจิตในสังคมไทย กับหลากหลายโครงการของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจิต เพื่อสร้างภูมิทางใจให้พ้นทุกข์เกิดสุขง่าย โดยภายในงาน นศพ.ศุภานัน เจนธีรวงศ์ ผู้แทนเครือข่ายเสริมสร้างอินเทอร์เน็ตปลอดภัยประเทศไทย (TSIC) และ ผศ. ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
นศพ.ศุภานัน กล่าวว่า “ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่าวัยรุ่นสมัยนี้ไม่อดทนเท่าสมัยก่อน และทำไมเมื่อก่อนยังไม่เคยมีโรคซึมเศร้า เพิ่งเคยได้ยินในช่วงนี้ อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นสูงขึ้นเรื่อยๆมาตลอด แม้ว่าจะมีการพยายามแก้ไขปัญหาก็ตาม วัยรุ่นมีคำว่าหมดไฟ กังวล ซึมเศร้า เป็นเพราะอะไร... ตนเป็นอีกหนึ่งคนที่โตมาอยู่ในโลกออนไลน์และอยู่บนโลกชีวิตจริงคู่กัน ซึ่ง ทุกวันนี้ถ้าหากมีเพื่อนอยู่ 7 คน พบว่าหนึ่งใน 7 มีปัญหาโรคประสาทหรือภาวะทางอารมณ์ และ 28% มีความเครียดสูง 32% เสี่ยงซึมเศร้า และ 22% เสี่ยงฆ่าตัวตาย เลขเหล่านี้ไม่น้อยเลย มากไปกว่านั้นสิ่งที่น่าตกใจคืออัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นเป็นอันดับที่สามของสาเหตุการตายของคนไทย
นักศึกษาแพทย์มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 50%
สิ่งนี้เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าตนในฐานะเยาวชนและตนเองที่เคยสูญเสียคนใกล้ตัวจากการฆ่าตัวตาย จำเป็นต้องทำอะไรซักอย่าง จึงได้เริ่มมีการทำโครงการสำรวจสุขภาพจิตนักศึกษาแพทย์ ซึ่งตอนนั้นสำรวจมา น่าตกใจมากเพราะจริงๆแล้วนักศึกษาแพทย์เองที่ถือว่ามีความรูด้านสุขภาพจิตมากกว่า 50% ของพวกเขาเหล่านั้น พบว่ามีภาวะเสี่ยงซึมเศร้าและ 50% ขึ้นไปของผู้ที่มีอาการไม่เคยพบจิตแพทย์ มองว่าสิ่งที่จะหยุดภาวะต่างๆที่ได้กล่าวข้างต้น ถึงแม้จะเกิดขึ้นไปแล้วด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม นั่นคือความร่วมมือ ซึ่งตอนนี้โชคดีมากที่มีโอกาสได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมถึงองค์กรกว่า 20 องค์กร ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน
"สุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญของสัมคมไทย และทุกคนก็รู้แล้ว เพราะฉะนั้นได้โปรดเลิกรอให้ปัญหาสุขภาพจิตภาคชีวิตของคนใกล้ตัวหรือใครซักคนนึง อาจจะเป็น เพื่อน ลูกพ่อแม่ ใครก็ตามอยากให้ลงมือทำอยากให้สังคมนี้ดีต่อใจมากขึ้นและยังมีภาคีเครือข่ายอีกมากมายที่พร้อมจะร่วมมือกัน ขอเพียงแค่ทำมันต่อไปและเชื่อว่าสังคมไทยจะดีขึ้นได้แน่นอน" นศพ.ศุภานัน กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน ผศ. ดร.ณัฐสุดา กล่าวว่า ตอนนี้ตนอยู่ในวัยทำงานและทำงานได้อย่างมีความสุข เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทำงาน สภาพแวดล้อมในครอบครัวช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข "บางคนมักจะบอกว่าโชคดีจัง แต่ไม่ชอบคำว่าโชคดี แต่อยากให้สถานการณ์นี้ไม่เกิดขึ้นเพราะโชคได้หรือไม่ ถ้าคนในที่ทำงานหรือใครสามารถมีความสุขในชีวิตมีความสุขในครอบครัวมีความสุขในการทำงานเหมือนเหมือนกันทำได้หรือไม่.." เพราะถ้ามีองค์กรที่ดีดีต่อใจ จะทำให้คุณแม่ที่ดีมีลูกเล็ก จะทำให้คนเป็นพ่อที่มีลูกอ่อน หรือกระทั่งคนที่ต้องดูแลคนอื่นในครอบครัว มีความสุขในการทำงานมากขึ้น
ตอนนี้คนวัยทำงานสิ่งสำคัญคือต้องแบกรับทั้งผู้ ผู้สูงวัยและเด็ก ซึ่งเราคงไม่สามารถไปเร่งการเกิดได้ หรือไปลดการสูงวัยได้ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้สภาพแวดล้อมภายนอกดีขึ้นเพื่อให้คุณทำงานมีความสุขและยังอยู่ในองค์กรได้ ซึ่งจากที่สำรวจไม่นานมานี้จาก 200 คน พบว่า 49.1% อยู่ในภาวะฝืนทำงาน คือ รู้ว่าไม่ไหวแต่ก็ต้องไปทำงานแม้จะเจ็บปวดทางใจ ซึ่งบางคนทำงานห้ 5-6 วันต่อสัปดาห์ เพราะฉะนั้นถ้าหากปล่อยให้อยู่สถานการณ์แบบนี้ ยังฝืนอยู่แบบนี้ ต่อให้แหล่งช่วยเหลือทางสุขภาพจิตดีอย่างไร ต่อให้วันพักผ่อนดีอย่างไร ดูแลอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น
ทั้งนี้ จากมุมมองคนทำงาน หรือ ความต้องการนั้น พบว่า 41.7% เพิ่มสวัสดิการและการตรวจรักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจและการได้รับการปรึกษาทางใจ 16.7% จัดอบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต 13.1% เพิ่มสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการลาและนโยบายการพักผ่อน 11.3% มีการสื่อสารและส่งเสริมการพูดคุยสอบถามสภาวะจิตใจและแนวทางการรับฟังซึ่งกันและกัน 10.1% สร้างเสริมบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเช่น ไม่กดดัน สร้างความเท่าเทียม และ 6.0% เพิ่มสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนเช่น ค่าอาหาร และโบนัส
- 463 views