เดินหน้าแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2566-2570 จากไทยบรรลุเป้าแผนฉบัยแรก สามารถลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในมนุษย์ลง 33.6% และลดการใช้ในสัตว์ลง 39.3 % เผยผลสำรวจประชาชนได้ข้อมูลยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จากบุคลากรทางการแพทย์ ด้านกรมควบคุมมลพิษ พบยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดไขมัน สะสมในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพคร่าชีวิตปีละ 1.3 ล้านคน
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการเป็นประธานเปิดการสัมนาระดับชาติ เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ ครั้งที่ 4 และบรรยายพิเศษ เรื่อง “ความมุ่งมั่นและการเป็นผู้นำทางการเมือง:กุญแจสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ”ตอนหนึ่งว่า ว่า การดื้อยาต้านจุลชีพหรือAMRเป็นวิกฤติร่วมกันของทุกประเทศทั่วโลก หากไม่แก้ไขจะมีคนเสียชีวิตปีละกว่า 1.3 ล้านคน และอาจเพิ่มเป็น 10 ล้านคนในอีก 30 ปี
นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบวงกว้างทั้งในคน สัตว์ อาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ทุกคนอยู่ในความเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา และความน่ากังวลอีกอย่าง คือ ขณะที่อัตราการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับไม่มียาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ๆ ในการรักษาเชื้อดื้อยามานานกว่า 30 ปีแล้ว เพราะการคิดค้นชนิดใหม่ถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า หมายความประชาชนทุกคนกกำลังอยู่กับความเสี่ยง หากติดเชื้อดื้อยาก็จะไม่มียารักษา และอาจเสียชีวิต
รัฐหนุนแผนจัดการปัญหาดื้อยาของไทยฉบับที่ 2 ปี 66-70
รัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย 2560-2565 ฉบับที่1 ได้กำหนดเป้าหมายไว้สูงและท้าทายอย่างมาก ที่ผ่านมาบรรลุเป้าประสงค์ 3 จาก 5 ข้อ แม้จะไม่ได้บรรลุทั้งหมดแต่การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายทช่วยผลักดันการทำงานให้ก้าวหน้ามากกว่าที่คาดหวังไว้
สำหรับแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2566-2570 จะเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนฯฉบับแรก โดยมีเป้าประสงค์สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกในหลายข้อ เช่น เป้าหมายระดับโลกกำหนดเรื่องการให้ใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเอ็นเสดไม่น้อยกว่า 80 % ในปี 2030 ในส่วนของประเทศไทยกำหนด ไม่น้อยกว่า 60% ภายในปี 2027 และเป้าหมายการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ระดับโลกกำหนด ลดลง30 % ในปี 2030 ของประเทศไทยกำหนดไม่น้อยกว่า 50 %ภายในปี 2027
“ผมคิดว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้ทั้งระดับประเทศและระดับโลกควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และวัดผลได้ ในการประชุมปีนี้จึงควรสนับสนนุให้ปฏิญญาทางการเมืองเรื่อง AMR มีการกำหนดเป้าหมายร่วมที่สำคัญและมีกรอบการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้การทำงานระดับโลกและระดับประเทศมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันมากขึ้น รวมถึง ความมุ่งมั่นของฝ่ายการเมืองระดับประเทศและระดับโลกสำคัญอย่างยิ่ง หากเข้มแข็งจะสามารถส่งต่อนโยบายที่ชัดเจนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาในทุกระดับ และเสนอให้มีการติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นร่วมกับประชาคมโลกเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามของการดื้อยาต้านเชื้อจุลชีพ”นายสมศักดิ์กล่าว
ไทยบรรลุเป้าแผนปี 60-65 ลดใช้ยาต้านจุลชีพในมนุษย์ 33.6%
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ผลการดำเนินการในช่วงปี 2560-2565 ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดใช้ยาต้านจุลชีพในมนุษย์ 33.6% และในสัตว์ 39.3% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20% และ 30% ตามลำดับ นอกจากนี้ สมรรถนะของประเทศในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพผ่านเกณฑ์การประเมินขององค์การอนามัยโลก
ประชาชนได้ข้อมูลยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จากบุคลากรทางการแพทย์
นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า จากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น 22.6% ในปี 2564 จากเดิม 17.8% ในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้น 4.8% แต่ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคี รณรงค์สื่อสารต่อสังคมเรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยพัฒนาแคมเปญ “เทรนด์ใหม่ เป็นหวัดเจ็บคอ เช็กให้ชัดว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย จะได้ไม่เกิดเชื้อดื้อยา” รูปแบบคลิปวิดีโอ อินโฟกราฟิก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Social Marketing Thaihealth by สสส. มีผู้เข้าถึงกว่า 9 ล้านคน รวมถึงเร่งยกระดับการทำงานภาคีเครือข่าย ให้เกิดกลไกเฝ้าระวังในพื้นที่ และพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารสร้างความรอบรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในพื้นที่และแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 -2570 ที่เน้นให้ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและความตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
ยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดไขมัน สะสมในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
ขณะที่นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า 7ปีที่ผ่านมา ทส.ร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ 2560-2565 และดำเนินการต่อเรื่องถึงปัจจุบันในแผนฯฉบับที่ 2 โดยกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานหลักเฝ้าระวังการดื้อยาในด้านสิ่งแวดล้อมา การปนเปื้อนยาต้านจุลชีพในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกทั้งการปนเปื้อนในน้ำทิ้งจากชุมชน ,รพ.และน้ำผิวดิน ได้แก่ ยาแก้ปวด แก้อักเสบ และยาลดไขมันที่ใช้ในการรักษาคนและสัตว์ ยาเหล่านี้เป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศและพบมีการสะสมเพิ่มมากขึ้นในระดับสิ่งแวดล้อม
ทส.มอบให้กรมควบคุมมลพิษ รวมบรวมข้อมูลและเฝ้าระวังจากแหล่งน้ำเสียชุมชน และรพ. ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบันได้ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพในสิ่งแวดล้อมจากแหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม้น้ำท่าจีน และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน เพื่อสำรวจการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ นำผลมาจัดทำแนวทางมาตรการเพื่อควบคุม ป้องกันและแก้ปัญหา และเป็นข้อมูลสนับสนุนในการดำเนินงาน โดยตรวจวัดวิเคราะห์เชื้อดื้อยา 3 ชนิด เพื่อหาการปนเปื้อน การแพร่กระจายและความชุกชุมของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในแม่น้ำ
กรมปศุสัตว์ลดใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ได้ 30 %
น.สพ.ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งประเทศไทย พ.ศ.2560-2565 ในยุทธศาตร์ที่ 4 การป้องกัน ควบคุมเชื้อดื้อยาและการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ จากการดำเนินการสามารถลดการใช้ยาในสัตว์ได้ลงมากกว่า 30 % ซึ่งเกิดจากการดำเนินการ่วมของอนุกรรมการตจัดการตื้อยาในภาการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์และทุกภารส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการดื้ยาอย่างบูรณาการ ภายใต้หลักการสุขภาพหนึ่งเดียว
ที่ผ่านมา ภาคปศุสัตว์มีการยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิดในการเลี้ยงสัตว์ทั้งสารเร่งการเจริญเติบโต มีการออกกฎหมายและการกำกับดูแลการใช้อาหารสัตว์ที่ผสมยา ที่จะใช้ยาปฏิชีวนะผสมลงในอาหารสัตว์มีกฎหมายควบคุม มีการสั่งใช้ยาโดยสัตวแพทย์ทั้งในการเลี้ยงสัตว์หรือสถานบำบัดโรคสัตว์ มีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ ควบคู่กับการติดตาม เฝ้าระวังยาต้านจุลชีพโดยแล็ป
ภาคการประมง มีการส่งเสริมให้นักวิชาการให้ความรู้ผู้ลี้ยง ภาคเกษตร ให้ความรู้เกษตรกรในการใช้ยาต้านจุลชีพโดยเฉพาะการกำจัดโรคคลีนนิ่งในส้ม ภาคมาตรฐานสินค้าเกษตร มีการออกใบรับรองมาตรฐานการเกษตรผลิตที่ดีทั้งในสัตว์บก สัตว์น้ำ และพืช ภาคสัตว์เลี้ยง บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษาสัตวแพทย์บัณฑิตในการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่จบการศึกษาและไปประกอบวิชาชีพทั้งด้านสัตว์เลี้ยง ภาคอุตสาหกรรมมีความรู้ในการใช้ยาอย่างมีเหตุและมีผลในกากประกอบวิชาชีพ
- 485 views