สปสช.ลงพื้นที่เยี่ยมชมการใช้งานอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ผ่า "ถุงทวารยางพารา" /การตัดใส่รากฟันเทียม ของโรงพยาบาลยะลาและโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ชี้เป็นผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมโดยฝีมือคนไทย ช่วยลดค่าใช้จ่ายผู้ป่วยได้ถึง 24% ต่อปี ประหยัดงบประมาณภาครัฐฯ
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคณะผู้บริหาร สปสช. เขต 12 สงขลา เดินทางลงพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.สงขลา ดูงานและเยี่ยมชมการจัดบริการสนับสนุนอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้และระบบบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม ของโรงพยาบาลยะลาและโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ เป็นผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทย ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี นายแพทย์วิเศษ สิริโสภณ นพ.สสจ..ยะลา พญ.นิตยา ภูวนานนท์ ผอ.รพ.ยะลา และรศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอและแลกเปลี่ยน ชุดอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียเกี่ยวกับลำไส้โดยใช้นวัตตกรรมจากบัญชีนวัตกรรมโดยฝีมือคนไทย
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า บัญชีนวัตกรรมไทยคือรายการสินค้าหรือบริการที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยพัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ และต้องผ่านการทดสอบรับรองโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สปสช. ให้ความสำคัญกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมเป็นอย่างมาก หากมีรายการจัดซื้อหรืออนุมัติสิทธิประโยชน์ใดที่มีผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรม ก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสของผู้ผลิตให้ผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมชมการใช้ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรม 2 ชนิด คือชุดอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้และรากฟันเทียม เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฎิบัติงานและนำฟีดแบคที่ได้สะท้อนกลับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น
ด้านนพ.สุวิทย์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า บัญชีนวัตกรรมไทยคือรายการสินค้าหรือบริการที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยพัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ และต้องผ่านการทดสอบรับรองโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สปสช. ให้ความสำคัญกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมเป็นอย่างมาก หากมีรายการจัดซื้อหรืออนุมัติสิทธิประโยชน์ใดที่มีผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรม ก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นการประหยัดงบประมาณรัฐและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยด้วย
ขณะที่ รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีทวารเทียมเฉพาะในระบบหลักประกันสุขภาพมีประมาณ 5.4 หมื่นคน และถ้ารวมผู้ป่วยทุกสิทธิทั่วประเทศจะมีประมาณ 1.5 แสนคน และตัวเลขยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ เนื่องจากได้รับการผ่าตัดยกทวารเทียมเปลี่ยนทางเดินให้อุจจาระออกมาที่ผนังหน้าท้อง จึงมีของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลาเนื่องจากไม่มีหูรูดเหมือนทวารหนัก จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมตลอดเวลา อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย แป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่าย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมนี้คือความขาดแคลน ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการของชุดอุปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัดและมีราคาสูง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง การหลุดลอกของชุดอุปกรณ์ก่อนเวลาอันควร ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากปัญหาดังกล่าว ทางทีมผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมโดยใช้ยางพาราซึ่งสามารถผลิตเองได้ในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยได้พัฒนาชุดอุปกรณ์ให้มีรูปแบบที่เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้องของคนไทย จนผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภท หน่วยงานภาครัฐ (Government Sector) ประจำปี 2563
"เดิมอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100% ผู้ป่วยรายหนึ่งต้องใช้ 5 ชุด/เดือน ราคาเฉลี่ยชุดละ 250-300 บาท เรามีผู้ป่วยที่มีทวารเทียมในระบบบัตรทองประมาณ 5.4 หมื่นราย ต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายอย่างน้อย 2.72 ชุด/ปี และถ้าดูผู้ป่วยทุกสิทธิทั่วประเทศจะมีจำนวน 1.5 แสนคน ผู้ป่วยเหล่านี้ถ้าใช้งานอุปกรณ์ใน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่าย 2,250 ล้านบาท แต่อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายที่เราผลิตจากยางพารามีราคาอยู่ที่ 190 บาท หากผู้ป่วยที่งหมดหันมาใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ ใน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่ายรวม 1,710 ล้านบาท สามารถประหยัดงบลงได้ถึง 540 ล้านบาท ลดการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ และสร้างความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ให้ก้บไทย "รศ.นพ.วรวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้งานผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เก็บของเสียจากลำไส้ จากบัญชีนวัตกรรมไดยฝีมือคนไทย ที่โรงพยาบาลยะลา ได้เล่าประสบการณ์ในการใช้งานอีกด้วย
ซึ่ง น.ส.ฮัฟเสาะห์ กาเดร์ อายุ 38 ปี ผู้ดูแลแม่ อายุ 78 ปีที่ได้รับการผ่าตัดกระเปาะลำไส้อักเสบจนต้องใส่ถุงทวารเทียมที่หน้าท้องมา 1 ปี แล้ว เล่าว่า ก่อนหน้าที่แม่จะใช้ถุงทวารเทียม แม่มีปัญหาถ่ายเป็นเลือด ที่กระเปาะลำไส้เป็นหนองต้องตัดทิ้งและให้ลำไส้มาโผ่ที่หน้าท้องแทนทวารหนัก ช่วงแรกๆค่อนข้างยุ่งยาก แม่ก็จะเครียด ตนก็เครียด เพราะไม่รู้ว่าจะมาดูแลแม่ได้หรือไม่ แต่โชคดีได้ทำงานใกล้บ้านการเดินมามาดูแลแม่ค่อนข้างสะดวก สถานที่ทำงานเพื่อนที่ทำงานเข้าใจและเป็นกำลังใจให้เสมอ แม่ก็มีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น เมื่อให้แม่ใช้ถุงทวารเทียมที่หน้าท้องมาได้สักระยะรู้สึกว่าใช้ได้ดี ทำความสะอาดง่ายเพราะถุงจะมีความลื่น ถึงแม้ว่าอาจจะมีเสียงดังบ้างเวลาขยับตัว แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับแม่ และอีกอย่างไม่ค่อยมีกลิ่นอีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวได้ด้วย
นอกจากนี้ ในวันที่ 19 ก.ค. 2566 คณะได้เดินทางดูแผนกทันตกรรมที่รพ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตกรรมฝีมือคนไทย คือรากฟันเทียม ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิทันตนวัตกรรมและมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปีแล้ว นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า คนเราเมื่ออายุมากขึ้นก็จะประสบปัญหาการสูญเสียฟัน จากข้อมูลของกรมอนามัย พบว่าลผู้สูงอายุ 60-74 ปี มีฟันแท้เฉลี่ย 18 ซี่/คน และเมื่ออายุ 80-85 ปี ลดลงเหลือเพียง 10 ซี่/คน และยังพบผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากถึง 8.7% แน่นอนว่าการสูญเสียฟันนั้น เมื่อไม่มีฟันสำหรับบดเคี้ยว ทำให้ต้องทานเฉพาะพวกอาหารนิ่มๆ มีแต่แป้ง ทำให้ได้สารอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง อีกทั้งทำให้ขาดความมั่นใจไม่กล้าออกไปพบปะสังสรรค์กับผู้คน
ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของโครงการฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติในหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ซึ่งจะมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ในการรณรงค์ให้ผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากมากรับการฝังรากฟันเทียมเพื่อใช้เป็นฐานยึดฟันเทียมให้แน่นและสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงฟันปกติ และรากฟันเทียมที่นำมาให้บริการในโครงการนี้ ก็คือรากฟันที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ และผู้ป่วยจะได้รับบริการนี้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
ด้านทพ.อรรถพร กล่าวว่า รากฟันเทียมที่ใช้ในโครงการนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากฝีมือของบริษัทไทย ขึ้นทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทย ทำให้มั่นใจได้ว่ามีคุณภาพ เพราะผ่านการพิสูจน์จาก อย.และ สวทช. มีราคาไม่แพง ในปีนี้มีกลุ่มเป้าหมายให้บริการ 3,500 ราย และปี 2567 อีก 3,700 ราย สปสช.ได้เพิ่มเป็นสิทธิประโยชน์รากฟันเทียมให้กับผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ตั้งแต่ปี 2564 ทำให้โรงพยาบาลสามารถเบิกจ่ายค่าบริการได้ โดยเบื้องต้นโครงการนี้จะให้บริการเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทองก่อน เพื่อจัดระบบบริการทั้งบุคลากรและเครื่องมือ ก่อนจะขยายผลต่อไป.
- 336 views