กรรมการสภาเภสัชกรรม ชี้ปัญหาการจ่ายยาคลาดเคลื่อน ปมภาระงานที่ยังไม่ได้แก้ไขเชิงระบบ พร้อมเสนอแนวทางที่เกี่ยวข้อง

 

ภก.วัชรินทร์ แท่งทอง กรรมการสภาเภสัชกรรม เขียนข้อความ ว่าด้วยเรื่องจากข่าวการจ่ายยา ระบุว่า

 

หน้าฉลากยาเป็นยาแก้ไอ ด้านในเป็นยาทาภายนอก ซึ่งถ้าตามนิยาม จัดเป็น ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการของการจ่ายยา

(Medication errors : Dispensing errors)

กรณีเหตุการณ์อุบัติการณ์ขอแยกทีละประเด็น เพื่อเป็นกรณีศึกษา ให้ข้อมูลกับประชาชน และแก้ไขเชิงระบบ  

 

- ประเด็นแรก เรื่องของอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น Medication errors : Dispensing errors

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกๆกรณีที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาคนไข้ทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เทคนิคการแพทย์ ทุกสาขาสหวิชาชีพ เมื่อมีเหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น โรงพยาบาลจะมีระบบการบริหารจัดการแต่ละระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งในทางความเสี่ยงของการแพทย์ สิ่งที่ยากที่สุดของการทำความเสี่ยง คือ การทำให้ทุกคนนั้นมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงว่า ความเสี่ยงคือสิ่งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น แม้จะต้องการให้มันเป็นศูนย์ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะเกิดขึ้นไม่ได้ จึงได้มีการแบ่งระดับของความรุนแรงและการบริหารจัดการแตกต่างกันไปในแต่ละระดับที่แตกต่างกันไป

.

ทั้งนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ สิ่งที่ต้องทำคือ การดูแลเบื้องต้นสำหรับอุบัติการณ์นั้นที่เกิดขึ้นว่าคนไข้ได้รับการดูแลรักษาทันท่วงทีหรือไม่อย่างไร และทบทวนเชิงระบบกันภายในระยะเวลาที่กำหนดของแต่ละนโยบายของโรงพยาบาล ซึ่งการทบทวน เรียกว่า การหาสาเหตุราก (root cause analysis : RCA) ว่าแท้จริงแล้วสาเหตุนั้นเกิดขึ้นจากอะไร ซึ่งทุกสิ่งล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น โดยกระบวนการจ่ายยานั้น ตามมาตรฐานต้องมีกระบวนการ Doble check คือการทวนสอบกัน หลักๆจะมีทั้งหมด 2 จุดด้วยกัน ก่อนจะส่งมอบให้จุดสุดท้ายที่เป็นจุดสำคัญที่สุดก่อนยาจะถึงมือคนไข้นั่นก็คือ จุดจ่ายยาโดยเภสัชกรนั่นเอง

.

การจ่ายยาปัจจุบันผมเรียกมันคือสภาวะ Ideal ซึ่งเชื่อว่าในหลายโรงพยาบาลไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอแทบจะทั่วทั้งประเทศเลย เพราะกระบวนการดังกล่าวข้างต้นก่อนที่ยาจะมาถึงเภสัชกรด่านสุดท้ายก่อนจ่ายยาออกไป ใช้เภสัชกรถึง 3 ท่าน ที่ตรวจสอบทุกขั้นตอน สิทธิ์รักษาคนไข้ ส่งไปจ่ายเงินหรือไม่ ยาในบัญชีหรือนอกบัญชีโรงพยาบาลต้องสั่งซื้อไห้พิเศษหรือไม่ ปรับขนาดยาตามข้อบ่งใช้ แพ้ยาหรือไม่ ตรวจสอบปริมาณยาไห้เพียงพอวันนัด ตรวจสอบชนิดยาว่าเหมาะสมกับคนไข้หรือไม่ ถ้าเกิด Errors ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดขึ้น ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด นั่นหมายความว่า ระยะเวลาต่อเคสจะมากขึ้น

.

ทั้งหมดนี้เภสัชกรโรงพยาบาลจะได้ทำคนเดียว คือ รวบทุกขั้นตอนมาอยู่ในคนคนเดียว มากกว่านั้น ต้องรับประกันเวลาการจ่ายยาแต่ละคนที่ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนเพราะถ้าระหว่างนี้มีคนไข้ฉุกเฉินเข้ามาแทรก คนไข้ยาด่วน คนไข้แพ้ยา คนไข้นอนโรงพยาบาล และถ้ายิ่งเป็นช่วงเวลาเร่งรีบอย่าง 10.00-13.00 น. ของทุกวัน ที่ให้บริการทุกอย่างพร้อมกัน ถ้าเป็นคลินิกโรคไตที่ยามากกว่า 15 รายการต่อคน ยิ่งเป็นไปได้ยากเลยที่มาตรฐานกำหนดให้ทำทุกอย่าง

.

เหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขในเชิงระบบว่า เภสัชกรมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ (การคิดกรอบอัตรากำลังเทียบสัดส่วนใบสั่งยาต่อวันที่จ่ายออกไปน่าจะต้องปรับไปใช้วิธีอื่นได้แล้ว) ภาระงานที่ทำมากกว่าการจ่ายยา จำนวนผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินเฉลี่ยต่อวัน ค่าตอบแทนที่เป็นสัดส่วนของภาระงานที่แปรผันตามภาระงานรวมถึงขวัญและกำลังใจ (ทุกคนทำงานต่างตอบแทนได้มาซึ่งค่าตอบแทนทั้งนั้น) การปกป้องพิทักษ์สิทธิ์ของบุคคลากรทางการแพทย์และการเยียมยาทางสภาพจิตใจเมื่อเกิดอุบัติการณ์เกิดขึ้น ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ล้วนเป็น C0-founding factor ทั้งสิ้น แม้เราจะพยายามใช้ Swiss Cheese Model ในการทำ RCA เพื่อแก้ไขอุบัติการณ์และอุดรอยรั่วต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่มักจะมีรอยรั่วเล็กๆแต่เป็นเรื่องสำคัญที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติการณ์เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆอย่างต่อเนื่องและเกิดมาโดยตลอด

.

 

สิ่งที่ต้องการสื่อสารในวันนี้เป็นอีกด้านของภาระงานที่อาจเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ภารกิจบนความปลอดภัยของ 3P safety ที่ทุกภาคส่วนพยายามแก้ไข แต่มีบางอย่างที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และ ณ วันนี้เภสัชกรโรงพยาบาลต่างลาออกกันไปจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าอาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งส่วนนี้เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับสำนักงบประมาณในเรื่องของค่าตอบแทน แต่สุขภาพด้านยาซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการมีชีวิตอยู่ได้ยามเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อประชาชน นั่นขาด…เภสัชกรไม่ได้เลยเช่นกัน

 

- ด้านของผู้ใช้บริการ

ส่วนสำคัญของประเด็นนี้ สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ การไห้ข้อมูลการดูแลสุขภาพกับประชาชน เหมือนการบรรจุเรื่องการเงินเข้าไปเป็นทักษะสำคัญของการใช้ชีวิต เพราะสุขภาพเบื้องต้นพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ primary prevention (ป้องกันตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค) , secondary prevention (ป้องกันหลังจากเป็นโรคแล้ว) , การดูแลตนเองเบื้องต้นเพื่อทราบว่า Emergency หรือ รอได้ , ความสำคัญของการดูแลตนเองที่ประชาชนพึงตระหนักในทุกมาตรฐานวิชาชีพที่ตนเองมารับบริการเมื่อถูกตั้งคำถามเพื่อการรักษาทุกคำถามในโรงพยาบาล ร้านยา

.

และยังรวมถึงเรื่อง สิทธิการรักษาของคนไข้ในปัจจุบัน ตลอดจนบัญชียาของโรงพยาบาลที่พึงมีได้ในแต่ละระดับ ทั้ง ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี ก ข ค ง จ(1) จ(2) ซึ่งแน่นอนว่าโรงพยาบาลแต่ละระดับที่ถูกแบ่งเป็น F1 F2 M1 M2 S มีรายการยาที่ไห้คนไข้ได้เข้าถึงการใช้ยานั้นแตกต่างกันแน่นอน

.

ประเด็นความเหลื่อนล้ำเรื่องสิทธิการรักษา ความเหลื่อมล้ำเรื่องของบัญชียาตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์ มันเป็นความจริงของประชาชนที่บอกว่า “ยาโรงพยาบาลใหญ่ดีกว่า” และมันเป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด ซึ่งมันก็คือเรื่องเดียวกันกับจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ อุปกรณ์มีไม่เพียงพอ เพราะคำว่า “งบประมาณมีไม่เพียงพอ”

.

ซึ่งถ้าเหล่านี้ได้รับการแก้ไข เมื่อทุกอย่างพร้อม มีแพทย์อายุรกรรมในโรงพยาบาลชุมชน ที่มีอุปกรณ์การช่วยชีวิตใส่ TUBE ที่มีพยาบาล หอผู้ป่วยดูแลได้ รายการยาประชาชนเข้าถึง ควบคุมการใช้ยาอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานแต่ละวิชาชีพ และส่งต่อคนไข้ NCD เข้ารับบริการร้านยาใกล้บ้านได้ทุกร้านโดย General ที่ไม่ต้องลงทะเบียนร้านยา ทำทุกเรื่องไห้ standardized ประชาชนเข้าถึง อนาคตสุขภาพไทย ไปไกลได้ทั่วโลกเลยครับ

.

ประชาชนอ้างสิทธิของตนเองในการรักษา อย่าลืมใช้สิทธิตนเองในการทราบว่า ตนเองได้รับยาอะไร ใส่ใจ ตั้งใจในการรับยาจากเภสัชกร และใช้สิทธิ ทวงสิทธิไห้ทุกคนได้เข้าถึงสุขภาพที่ดีดีในทุก ๆ ด้าน ของตนเองด้วยนะครับ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

.

เอาหมวกทุกใบของทุกคนออกไปก่อนครับ ไม่ว่าคุณจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล กระทรวงสุข ประชาชน หรือใครก็ตาม เพื่อการแก้ไขปัญหาระยะยาว ซึ่งเชื่อว่าทุกคนทราบมันดีว่ามันคือ "เรื่องเดียวกัน" ที่เชื่อมกันมาโดยตลอด

.

ผมเองมีหมวกหลายใบในตอนนี้ครับ

วันนี้มาในนามของ "เภสัชกรคนหนึ่ง" ที่ส่งต่อ สื่อสาร สะท้อนข้อมูลให้สังคมได้ทราบเป็นเบื้องต้น เพื่อไห้ได้การแก้ไขเชิงระบบ ต่อเนื่องในระยะยาวครับ

สิ่งที่ดีที่สุด ต้องมีสติในทุกกระบวนการ ป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อน ไม่ไห้เกิดขึ้นเเละให้มันเป็นจำนวนเท่ากับศูนย์ เท่านั้นเลย ...