รพ.ราษฎร์ยินดี ใช้ระบบเบิกจ่ายประกันสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล "iClaim" ดำเนินการสำเร็จ 99.37% สามารถตรวจสอบสิทธิค่ารักษาพยาบาลกับบริษัทประกันได้ ติดตามสถานะและผลการเคลม แบบ Realtime ได้ ประชาชนไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาทั้ง OPD , IPD
นอกจากนี้ ระบบ "iClaim" ยังมีประโยชน์ดังนี้ คือ 1. ประชาชนสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ได้ทั้งบนแอพพลิเคชั่นและที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านยา และไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาทั้ง OPD , IPD. 2. โรงพยาบาลใช้ระบบ SIM-B คิดค่าใช้จ่ายราย item เก็บค่ารักษาตามความเป็นจริง และช่วยให้ระยะเวลาในการเคลมและอนุมัติการเคลมเร็ว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เตียง 3. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อโรงพยาบาล ,คลินิก, ร้านยาทั่วประเทศ และบริษัทมีระบบข้อมูลดิจิทับการเคลมแบบเรียวไทม์ จากโรงพยาบาล, คลินิก, ร้านยา ทั่วประเทศ
ความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ "iClaim" ขณะนี้มี 51 โรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และมี 10 บริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการ พบ 3 บริษัทประกันดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือกำลังดำเนินการ ซึ่ง 10 บริษัทมีดังนี้ 1. บริษัทเอไอเอ กรุ๊ป ลิมิเต็ด 2. บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 3. บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 4. บริษัทโตเกียวมารีนประกันชีวิตจำกัด (มหาชน) 5. บริษัทเอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 6. บริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 7. บริษัทพูเด็นเชียลประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 8. บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 9. บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 10. บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ผลสรุปจำนวนยอดเคลมต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 65 - 24 พ.ย. 65 จำนวนการเคลมสะสมคือ 3,452 ครั้ง มี 3 โรงพยาบาลที่มียอดเคลมสะสมมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ 1. โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี 3,257 เคส 2. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 150 เคส 3. โรงพยาบาลเฉลิมฯระยอง 19 เคส และบริษัทที่มีการเคลมมากที่สุดตามลำดับคือ 1. เอไอเอ 3,103 เคส 2. ไทยประกันชีวิต 258 เคส 3. เมืองไทยประกันชีวิต 73 เคส (ข้อมูลวันที่ 24 พ.ย. 65 )
รายงานสรุปยอดการเคลมทั้งหมดของโรงพยาบาลราษฎร์ยินดี พบดังนี้ 1. บริษัทเอไอเอ 4,302 เคส 2. บริษัทไทยประกันชีวิต 451 เคส 3. บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต 60 เคส 4. บริษัทโตเกียวมารีน 25 เคส 5. บริษัท FWD ประกันชีวิต 8 เคส
นอกจากนี้ เป้าหมายการพัฒนาระบบ "iClaim" ในระยะถัดไป คือ "iClaim" สามารถเชื่อมต่อกับระบบการขนส่ง ,ระบบ Telemedicine และ คลินิก/Lab/ร้านยา โดยการนำ AI เข้ามาช่วยในการเชื่อมต่อข้อมูลด้วย ทั้งนี้สิ่งที่โรงพยาบาลต้องเตรียมคือ 1. ลงนาสัญญาเงินเชื่อมกับบริษัทประกัน โดย ผอ.รพ. (รช. 1 ,รช. 2) 2. อัพเดต HIS (Hospital Information Systems) หรือ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เพื่อเชื่อมต่อ API กับบริษัทประกัน / ใช้ Portal iClaim 3. จัดเตรียม ICD-10 และ SIMB เข้าสู่ระบบ HIS ของโรงพยาบาล
- 1535 views