โรงพยาบาลรามาธิบดีฯ "เพิ่มพื้นที่ เพิ่มความหวังในการรักษาทุกชีวิต" พร้อมเป็นแหล่งผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สร้างงานวิจัย เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถดูแลผู้ป่วยนอกได้ 2.5 ล้านคนต่อปี รองรับผู้ป่วยในได้ 1000 เตียงหรือ 55,000 รายต่อปี และผู้ป่วยสามารถเบิกจ่ายตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือประกันสังคมเหมือนอาคารเดิม
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 โรงพยาบาลรามาธิบดี และมูลนิธิรามาธิบดีฯ ได้เปิด "โครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี" ซึ่ง แถลงข่าวบนเวที ในหัวข้อ “อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งใหม่ เพิ่มพื้นที่ เพิ่มความหวังในการรักษาทุกชีวิต” โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ศ.ดร.พญ.อติพร อิงค์สาธิต รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมพิธีด้วย
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เป็นระยะเวลา 58 ปี อาคารหลักของโรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งนี้เปิดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่องค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดและเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย รวมถึงการเตรียมความพร้อมรองรับโรคที่อุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้เพิ่มพื้นที่โรงพยาบาล ให้มีความพร้อมด้านการรองรับเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอต่อความต้องการ
โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี มิเพียงแต่เป็นสถานที่ให้การบริการทางการแพทย์เท่านั้น เนื่องจากโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นห้องเรียนและแหล่งค้นคว้าวิจัยที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะแพทย์ในระดับหลังปริญญา (Post-graduation) เพื่อสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน และเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) ศูนย์รวมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากการผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND CENTER) พื้นที่ Co- Working Space และ Clinical Research Center เป็นต้น เพื่อร่วมพัฒนาต่อยอดในด้านสาธารณสุขของประเทศให้มีศักยภาพในระดับสากล สามารถแข่งขันได้ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)”
ด้าน ศ.ดร.พญ.อติพร อิงค์สาธิต รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธีให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ให้มีมาตรฐานพร้อมรองรับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของโรค ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในปี พ.ศ 2571 แม้จะได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐแต่ยังคงขาดงบประมาณด้านการก่อสร้างอาคารประมาณ 3,000 ล้านบาท และการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ทันสมัยที่มีมูลค่าสูงประมาณ 6,000 ล้านบาท
อาคารหลักของโรงพยาบาลได้มีการเปิดให้บริการมาอย่างยาวนาน ซึ่งแม้จะมีการปรับปรุงพัฒนามาเรื่อยๆ แต่ด้วยข้อจำกัดในหลายด้านจึงอาจจะไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วย ขณะนี้ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัด และเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยรวมถึงการเตรียมความพร้อมรองรับโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีเพิ่มพื้นที่โรงพยาบาลให้มีความพร้อมด้านการรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอต่อความต้องการ
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธีไม่ใช่เพียงแต่เป็นสถานที่ให้การบริการทางการแพทย์เท่านั้น เนื่องจากโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นห้องเรียนและแหล่งค้นคว้าวิจัยที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะแพทย์ในระดับหลังปริญญาเพื่อสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน และเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID)
ศูนย์รวมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากการผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND CENTER) พื้นที่ Co- Working Space และ Clinical Research Center เป็นต้น เพื่อร่วมพัฒนาต่อยอดในด้านสาธารณสุขของประเทศให้มีศักยภาพในระดับสากลสามารถแข่งขันได้ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้การดูแลผู้ป่วยนอก 2.3 ล้านครั้ง ซึ่งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ผลิตนักศึกษาแพทย์ปีละ 200 คน ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่า 40-50 คน รวมถึงมีการผลิตพยาบาลปีละ 250 คน และในปี2566 นี้ มีแพทย์จะเพิ่มการผลิตพยาบาลปีละ 300 คน โดยพยาบาลที่ผลิตนั้นจะเน้นการเป็นพยาบาลเฉพาะทางเป็นหลัก
อีกทั้ง มีการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และมีนักศึกษาฉุกเฉินการแพทย์ ปีละ 40 คน ซึ่งปี 66 นี้จะเพิ่มเป็นปีละ 60 คน และนักศึกษาสื่อความหมาย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงมีห้องปฎิบัติการ มีห้องวิจัยที่ทันสมัย
"อาคารใหม่แห่งนี้ จะรองรับสิทธิผู้ป่วยเหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยจะสะดวกสบายมากขึ้น จะไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันจะเป็นอาคารที่นอกจากรองรับผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกรรมในการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือผลิตยาจากสมุนไพรร่วมด้วย"ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าว
สำหรับด้านศักยภาพของการบริการรักษา พยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั้นผ่านการออกแบบโดยคำนึงถึงแนวคิด "เข้าใจเขา เข้าใจเรา เข้าใจทุก(ข์)คน" เพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด อาทิ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก (OPD) จำนวน 4 ชั้น ห้องตรวจจำนวน 325 ห้อง ที่คำนึงถึงการส่งเสริมประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วยให้มีความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ ศูนย์ "Imagine Center" ที่บริการตรวจด้วยเครื่อง X-ray ให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อลดระยะเวลารอคอยการตรวจผู้ป่วยในจำนวน 826 เตียง ถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว ลดความแออัด และควบคุมหรือลดการแพร่เชื้อได้ดียิ่งขึ้น
ห้อง ICU จำนวน 240 เตียงจากเดิม 100 เตียง ซึ่งออกแบบตามแนวคิด Healing Environment ให้ผู้ป่วยมองเห็น สภาพแวดล้อมภายนอก ช่วยเสริมสร้างกำลังใจและกระตุ้นให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น รองรับการเจ็บป่วยในสถานการณ์ผู้สูงอายุ ห้องผ่าตัด(OR) 52 ห้อง รองรับการผ่าตัดโรคซับซ้อน พร้อมนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดและห้องสวนหลอดเลือดหัวใจ รองรับผู้ป่วยวิกฤติที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะ
อาคารแห่งใหม่นี้ จะมี 3 หัวใจหลักเพื่อดูแลผู้ป่วยทุกคน ดังนี้ 1. การบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย รองรับผู้ป่วยนอกได้ 2.5 ล้านคนต่อปี รองรับผู้ป่วยในได้ 1,000 เตียง หรือ 55,000 รายต่อปี ผู้ป่วยสามารถเบิกจ่ายตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือประกันสังคมเหมือนอาคารเดิมได้ 2. การเรียนการสอนบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทุกตารางนิ้วของโรงพยาบาลแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนขนาดใหญ่ที่บ่มเพาะผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยผลิตนักศึกษาจำนวน 950 คนต่อปี 3. การวิจัยทางการแพทย์ และผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และชีวการแพทย์ที่สามารถนำไปต่อยอดและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณสุขของไทย
- 2544 views