โควิดเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการระบาด องค์การอนามัยโลกแนะ 6 มาตรการยังคงต้องคุมมาตรการป้องกันโรค
แนวโน้มสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกลดลง หลังจากมีการระบาดอย่างยาวนานมาเกือบสามปีนับตั้งแต่มีการพบเชื้อครั้งแรกในประเทศจีน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ 2562 หลายประเทศเริ่มมีรายการงานติดเชื้อที่น้อยลงตามที่คาดการณ์ไว้ และในที่สุดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือไข้หวัดตามฤดูกาลต่อไป ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้ออกมาแถลงตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงถึง 28% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาห้าสัปดาห์ สอดคล้องกับรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ลดลง 22% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
เลขาธิการองค์การอนามัยโลก เตโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส ออกมาแถลงว่า สถานการณ์การระบาดในขณะนี้เริ่มมองเห็นจุดจบแล้ว และควรใช้สถานการณ์นี้ในการควบคุมการระบาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้ประกาศ 6 แนวทางเพื่อให้ทุกประเทศนำมาใช้เป็นแนวทางในการยุติโรคระบาด โดยกล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้เสียชีวิตต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ 2563 ซึ่งเราไม่เคยอยู่ในภาวะที่ดีแบบนี้มาก่อน ถึงแม้ว่าเรายังไปไม่ถึงจุดที่การระบาดของโรคสิ้นสุดลง แต่ก็ใกล้ที่จะเห็นเต็มที และเมื่อนักวิ่งมาราธอนจะไม่ยอมหยุดวิ่งเมื่อเห็นเส้นชัย แต่จะใช้พลังงานที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อให้ถึงเส้นชัย ดังนั้นเราจำเป็นต้องทำแบบนั้นด้วยเช่นกัน ดร.เตโดรสกล่าว
องค์การอนามัยโลกระบุว่าตัวเลขของการติดเชื้อใหม่มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนทั่วโลก ยกเว้นในทวีปแอฟริกาที่มีการเพิ่มขึ้นประมาณ 10% และประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อสูงสุดคือ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน และกลุ่มประเทศแถบกลุ่มแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งมีอัตราลดลงที่สูงที่สุดอยู่ที่ 36% โดยประเทศที่มีการติดเชื้อลดลงน้อยที่สุดคือ ประเทศในทวีปยุโรปที่อัตราการติดเชื้อลดลงอยู่ที่ 15% ส่วนอัตราการตายลดลงสูงสุดอยู่ที่ 31% และประเทศในเขตเมดิเตอเรเนียนตะวันออกมีอัตราการตายที่ลดลงต่ำสุดที่ 10%
อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่า การรายงานการติดเชื้อโควิด และการเสียชีวิตในปัจจุบันอยู่ที่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรายงานการติดเชื้อตามยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้การรายงานการติดเชื้อ และการตรวจพบเชื้อมีแนวโน้มที่ลดลง ทั่วโลกรายงานการติดเชื้ออยู่ที่ 610.14 ล้านคน และจำนวนผู้เสียชีวิต 6.5 ล้านคน จากรายงานของมหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอบสกิ้น นอกจากนี้ การแพร่กระจายของสายพันธุ์ย่อย BA.5 ของโอไมครอน เพิ่มขึ้นจาก 82.4% เป็น 90% ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.4 มีแนวโน้มลดลงจาก 8% เหลือ 6.1% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3.2% แต่ BA.2.75 มีอัตราการแพร่กระจายที่ค่อนข้างต่ำที่ 2.2%
องค์การอนามัยโลก ได้ออกคำแนะนำแนวทางที่สำคัญ 6 ประการในการควบคุมโรค ประกอบไปด้วย การตรวจหาเชื้อ มาตรการดูแลรักษา การเข้าถึงวัคซีนตามเป้าหมายที่กำหนด มาตรการการควบคุมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการจัดทำข้อมูลการระบาด ดร.เตโดรส กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังในช่วง 32 เดือนที่ผ่านมา เพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุดในการป้องการโรคระบาด อีกทั้งลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเขาขอความร่วมมือให้ทุกรัฐบาลเน้นย้ำมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดอย่างเข้มข้น
โดยเฉพาะการลงทุนในการจัดหาวัคซีน 100%ให้กับกลุ่มเสี่ยง ทั้งกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงการตรวจหาเชื้อไวรัสในกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเชื้อของไข้หวัดใหญ่ด้วยเช่นกัน และการสื่อสารที่ชัดเจนให้กับประชาชนเมื่อมีการเปลี่ยนนโยบายในการควบคุมโรคโควิด-19 นอกจากนี้ยังรวมถึงการฝึกอบรมบุคลกรด้านสาธารณสุขให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ผิดพลาด และพัฒนาศักยภาพในด้านการบริหารจัดการข้อมูลในระบบดิจิตัลอย่างเหมาะสม
“ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด-19 องค์การอนามัยโลกไม่เคยหยุดพัก เรายังคงทำงานอย่างต่อเนื่องการให้เครื่องมือ ที่จะทำให้ประชากรทั่วโลกปลอดภัยจากโรค และทำให้สังคมเดินต่อไปได้” เลขาธิการองค์การอนามัยโลก เตโดรส กล่าว
ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี โจ ไบเดนได้ประกาศว่า โรคโควิด-19 ได้ยุติการระบาดแล้วในประเทศ ถึงแม้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม จากข้อมูลทางสถิติพบว่าชาวอเมริกันเสียชีวิตเฉลี่ย 400 คน/วัน โดยเขากล่าวว่าสถานการณ์การระบาดดีขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะยังมีการใช้มาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มข้น และในขณะนี้ไม่มีใครใส่หน้ากากกันแล้ว และก็ดูเหมือนว่าพวกเขายังคงปลอดภัยจากการไม่ติดเชื้อ และนั่นเรามองว่ามันคือจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
แต่อย่างไรก็ตาม ทางด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารกล่าวว่า คำสัมภาษณ์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณใดๆในการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากการเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขออกไปจนถึงวันที่ 13 ตุลาคม
ปัจจุบัน ประชากรอเมริกาเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอบส์กิ้น ระบุว่าโดยเฉลี่ยในหนึ่งสัปดาห์มีคนเสียชีวิต 400 คน ซึ่งมากกว่า 3,000 คน เสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียงสัปดาห์เดียว และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว มีคนเสียชีวิตมากกว่า 23,000 คนในระยะเวลาแค่หนึ่งสัปดาห์เดียวเท่านั้น มีการคาดการณ์กันว่า ประมาณ 65% ของประชากรได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างไรก็ มีนักวิชาการบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับคำประกาศดังกล่าว เนื่องจากตัวเลขผู้เสียชีวิตยังคงสูงอยู่มาก โดยกล่าวว่า “เรายังไม่ได้ไปถึงในจุดที่เรียกว่า เราสามารถอยู่กับไวรัสได้”
ส่วนสหราชอาณาจักรนั้น พบว่าการติดเชื้อรายใหม่อยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุด ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1 ล้านคนในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยอัตราการติดเชื้อลดลงจาก 1 ต่อ 70 ประชากร เมื่อเปรียบเทียบกับ 1ใน 15 ประขากรในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และในเขตพื้นที่อื่นๆของอังกฤษพบว่าอัตราการติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มที่ลดลงเช่นเดียวกัน แต่อัตราการติดเชื้อในกลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 17-24 ปี และผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปยังไม่มีแนวโน้มการติดเชื้อที่ลดลง
ส่วนในแคนาดานั้น มีรายงานข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน รายงานว่ารัฐบาลแคนาดากำลังจะประกาศยกเลิกข้อบังคับการฉีดวัคซีนก่อนเข้าประเทศภายในสิ้นเดือนนี้ รวมถึงการสุ่มตรวจการติดเชื้อโควิดอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลแคนาดาถูกโจมตีอย่างหนักในการบังคับใช้มาตรการอย่างเข้มข้นในการควบคุมโรค ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
Source: CIDRAP: Global Covid-19 cases fall 28%; deaths drop 22%
BBC: Covid-19 pandemic is over in the US-Joe Biden
BBC: UK Covid infections lowest since last October
Reuters: Canada to drop Covid vaccine requirement to enter country on Sept 30-source
Photo: BBC
- 997 views