สวรส. จัดงานเปิดการประชุมวิชาการ 30 ปี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 : ร่วมกันวิจัย ยกระดับคุณภาพชีวิต” ที้งนี้ในเวทีการประชุมมีหัวข้อน่าสนใจที่หลากหลาย อาทิ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพที่นำเสนอประสบการณ์และบทเรียนของการกระจายอำนาจ ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปขับเคลื่อนให้เกิดแนวทาง รวมถึงการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น สวรส. จัดงานเปิดการประชุมวิชาการ 30 ปี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 : ร่วมกันวิจัย ยกระดับคุณภาพชีวิต” ทั้งนี้ในเวทีการประชุมมีหัวข้อน่าสนใจที่หลากหลาย อาทิ การกระจายอำนาจด้านสุขภาพที่นำเสนอประสบการณ์และบทเรียนของการกระจายอำนาจ ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปขับเคลื่อนให้เกิดแนวทาง รวมถึงการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยหัวข้อเสวนาคือ " ประชาชนได้อะไรจากการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ? " ศาสตร์ตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ร่วมบรรยายในหัวข้อนี้ด้วย อภิปรายดังนี้
ศาสตร์ตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การกระจายอำนาจจริงๆ คือความสำเร็จอันเกิดที่ทำให้องค์กรท้องถิ่นตอบปัญหาความต้องการของประชาชนมีการพัฒนาไปสู่อนาคตที่มีเป้าหมายระยะยาวภายใต้ของความคิดธรรมาภิบาลดังนั้นหลังการถ่ายโอน รพ.สต. จะไม่จบที่จำนวนบุคลากร ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการถ่ายโอนเรื่องการศึกษา นั้นได้เขียนแผนการถ่ายโอนไว้จำนวนมาก ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีระบบ สปสช.
ทั้งนี้ สำหรับตอนนั้นได้ออกแบบการกระจายอำนาจเรื่องสุขภาพให้มีคณะกรรมการ คือ กสพ. ซึ่งให้จังหวัดจัดการเอง กำหนดขอบเขต กำหนดรูปแบบรวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากรเอง แล้วตอนนั้นยังไม่มี สปสช. ทำให้การถ่ายโอนหยุดชะงักไป
ศ. วุฒิสาร ตันไชย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญในการถ่ายโอนคือ จำเป็นต้องถามความสมัครใจของบุคลากร เพราะปัญหาที่สำคัญที่สุดคือบุคลากร อย่างการถ่านโอนโรงเรียนนั้น งานไปคนก็ต้องไปด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบที่ยังต้องไปปรับแก้ให้ครอบคลุมด้วย และเรื่องของการจัดระบบความสัมพันธ์ที่ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก เป็นการจัดระบบภายใน ว่าอำนาจขอบเขตในการปฏิบัติงานมีแค่ไหนเมื่อไปปฏิบัติงานตามระดับจังหวัดหรืออำเภอจะมีแค่ไหน ซึ่งคล้ายๆกันกับ รพ.สต. ว่าถ่ายโอนไปแล้วจะมีอำนาจแค่ไหนในการบริหารจัดการ ซึ่งเราจะมาเชื่อมโยงว่าความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับกระทรวงจะเป็นอย่างไร.....
เราต้องมองปัญหาและต้องจัดการกับปัญหาให้ได้ ซึ่งเบื้องต้น การตัดสินใจไปนั้นบางครั้งอาจจะคิดว่าขาดแคลนอุปกรณ์หรือขาดแคลนงบประมาณเข้าใจว่าถ้าโรงเรียนถ่ายโอนไปแล้วจะมีการสนับสนุนอย่างดีจากท้องถิ่น เป็นต้น และเมื่อถามว่าเงื่อนไขความสำเร็จคืออะไร ตนคิดว่า คือการปรับตัวของบุคลากรและกลุ่มบุคคล เพราะวัฒนธรรมการทำงานไม่เหมือนกันและแตกต่างกันไป อย่างเช่น วันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดยาวของครูกระทรวงศึกษาธิการ แต่เป็นวันทำงานหนักของครูเทศบาล เป็นต้น
ด้านนายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า เดิมแผนฉบับที่ 1 ได้เขียนไว้ว่าให้ถ่ายโอนสถานีอนามัยให้กับองค์กรปกครองบริหารส่วนท้องถิ่นให้เข้ามาจัดการดูแลในเรื่องนี้ จนกระทั่งเมื่อเริ่มใช้แผนฉบับที่ 2 เมื่อปี 2551 ปรากฏว่าไม่มีการถ่ายโอนสถานีอนามัยแม้แต่แห่งเดียว เมื่อดูแล้วคณะกรรมการกระจายอำนาจฯจึงมีการเร่งรัดให้ถ่ายโอนสถานีอนามัย ซึ่งชื่อปัจจุบันคือ รพ.สต.
สำหรับ วิธีการทำงานของเราจะมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานไม่ว่าจะเป็นฝั่งกระทรวงสาธารณสุขเองหรือกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แม้กระทั่งตัวแทนของ ผอ.รพ.สต. ที่เข้ามาร่วมกันทำงาน โดยเราได้ลงพื้นที่ไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วภูมิภาค 5 ภูมิภาค 5 จังหวัดที่เราไปรับฟังเพื่อมาสรุปและนำเสนอต่อคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ เพื่อเห็นชอบและประกาศใช้ในวันที่ 8 กันยายน 2564
นอกจากนี้ เมื่อถามว่า การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่องค์การบริหารส่วนปกครองท้องถิ่น ประชาชนได้อะไรนั้น ? สิ่งที่สำคัญในการถ่ายโอนในครั้งนี้คือ กสพ. ที่เราต้องขับเคลื่อนให้มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ เรายังมองเห็นอุปสรรคและปัญหามาโดยตลอด เราจึงมีแนวทางให้มีคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีกชุดคือ อนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุข ที่คอยมาเป็นพี่เลี้ยงคอยแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเราถ่ายโอนไปแล้วคือประชาชนจะต้องได้รับประโยชน์และสวัสดิการที่ดีขึ้น
และเมื่อถ่ายโอนไปแล้วสิ่งที่จะต้องดีกว่าเดิมอีกอย่าง ที่เราเห็นคือ คนหรือบุคลากร ซึ่งเมื่อถ่ายโอนโดยการสมัครใจมาแล้วนั้น สิทธิสวัสดิการ ค่าตอบแทนทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องได้ไม่น้อยกว่าเดิม... นายเลอพงศ์ กล่าว
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
- 825 views