ย้อนดูแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด19 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขฉบับล่าสุด 18 พ.ค. 65 ปรับตารางการให้ยาตานไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่ 3
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเกณฑ์การให้ยาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขฉบับปรับปรุง วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างาน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
สำหรับแนวทางฉบับปรับปรุงครั้งที่ 23 มีประเด็นหลักๆ ดังนี้
1. ปรับจำนวนวัน self-quarantine ในกลุ่มเสี่ยงสูงตามประกาศกรมควบคมโรคเป็น 5+5 วัน
2. ปรับตารางการให้ยาตานไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่ 3
รายละเอียดดังนี้
1.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกตัวกักที่บ้าน ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ อาจพิจารณาให้ยาฟาวิฯ ควรเริ่มยาโดยเร็ว หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน
ติดตามได้ตามตาราง ดังนี้
4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤94 % ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen ทั้งนี้ แนะนําให้ remdesivir เปนเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก และควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ติดตามรายละเอียดทั้งหมดได้ตามลิงค์ : https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=172
**********************************
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
- 7530 views