ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravin) ออกฤทธิ์ด้วยการ ยับยั้งเอ็นไซม์ RNA-dependent RNA polymerase ซึ่งสามารถยับยั้ง ไวรัสโควิด-19 ในหลอดทดลองได้ จากประสบการณ์ใช้ยาและเก็บ ผลการรักษาย้อนหลังพบว่าได้ผลการรักษาในผู้ป่วยโควิด-19 ได้ดี แต่ ประโยชน์ในการลดการเสียชีวิตหรือป่วยหนักยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ยังไม่มี การวิจัยแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าเทียบกับการไม่ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อดูประโยชน์ของการใช้ยาในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการเล็กน้อยหรือ ปานกลาง
วิธีวิจัย : การศึกษา (Confirmatory Study) ระยะที่ 3 แบบเปิดและมี การสุ่ม (Randomized Controlled Trials) ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มี อาการไม่หนักและยังไม่มีภาวะปอดอักเสบ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ วันละ 2 ครั้ง ขนาด 1,800 มก./dose ในวัน แรก และ 800 มก./dose ในวันต่อมา (62 ราย) และกลุ่มควบคุม (31 ราย) โดยประเมินผลการรักษาจาก NEWS ซึ่งเป็นการประเมินอาการ ตามมาตรฐานสากล โดยดูจากอุณหภูมิ อัตราการหายใจ การเต้นของ หัวใจ ความดันโลหิต ภาวะออกซิเจนในร่างกาย
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยในโครงการเริ่มยาเฉลี่ยที่ 1.7 วันหลังจากเริ่มมีอาการเมื่อประเมินอาการโดย NEWS ในช่วงเวลาการรักษา 14 วันพบว่า กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้น 79% ขณะที่กลุ่ม ควบคุมมีแค่ 32.3% กลุ่มฟาวิพิราเวียร์อาการดีขึ้นเร็วกว่าอย่างมีนัยสําคัญ โดยครึ่งหนึ่ง ของผู้ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 ของการ รักษา เมื่อเทียบกับ 14 วันในกลุ่มควบคุม จํานวนไวรัสในผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ลดลงไม่แตกต่างจาก กลุ่มควบคุม
จนกระทั่งวันที่ 13 และ 28 ของการรักษา ซึ่งจะ พบว่า กลุ่มที่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์จะมีปริมาณไวรัสต่ํากว่า ผลข้างเคียง: พบการขึ้นของระดับกรดยูริคในผู้ป่วยที่ได้รับยาฟา วิพิราเวียร์อย่างมีนัยสําคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม ไม่พบอาการ ข้างเคียงอื่นที่แตกต่างกัน
ข้อสรุปและคําแนะนํา : ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสก่อโรคโควิด-19 ยาฟาวิพิราเวียร์ ขนาด 1,800 มก. เช้า-เย็นในวันแรก และ 800 มก เช้า-เย็นในวันต่อมา เป็นการรักษาที่ควรเริ่มทันทีที่มีอาการยังไม่หนัก : ยาฟาวิพิราเวียร์รูปแบบยากิน มีราคาไม่แพงและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากังวล • ผลการศึกษานี้ไม่ได้แสดงประสิทธิภาพในผู้ป่วยอาการหนัก • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์เพราะอาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก
การศึกษานี้ของศูนย์วิจัยคลินิกศิริราชต้องขอขอบพระคุณอาจารย์สุวิทย์ซึ่งช่วยในการเจรจาให้เขายอมสนับสนุนให้ยามาทำการศึกษานี้เพราะในขณะนั้นยาซื้อไม่ได้ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาที่เราต้องการรักษาแต่คนไข้ที่ไม่หนักแบบนี้เขาไม่อยากสนับสนุนในเบื้องต้นแต่ด้วยการเจรจาของอาจารย์จึงทำให้เราได้รับการสนับสนุนยามาใช้ในการศึกษา
การศึกษาที่เราทำนั้นเป็นกลุ่มผู้ป่วยอาการเบาถึงปานกลางและเริ่มยาเร็วมากคือเฉลี่ย 1.7 วันหลังจากเริ่มมีอาการและวัดผลโดยใช้ NEWS ซึ่งเป็นระบบสกอร์ที่ไม่ได้ใช้ความรู้สึกของผู้ป่วยเป็นตัววัดผล การศึกษานี้จะคล้ายกับการใช้ยาโอเซลถ้ามีเวียในการรักษาไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้อาการดีขึ้นเร็วกว่าไม่ให้ยา ผู้ป่วยกลุ่มนี้แหมไม่ให้ยาอะไรเลยก็น่าจะหายเองอยู่แล้วค่ะเป็นส่วนใหญ่แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ได้ประโยชน์ลดการดำเนินโรคแต่การศึกษานี้ไม่สามารถแสดงสิ่งนั้นได้ แต่การศึกษานี้ไม่ได้เปรียบเทียบกับการใช้ยาฟ้าทะลายโจร รวมทั้งไม่ได้ทำในผู้ป่วยหนักจึงไม่สามารถบอกได้ว่าแตกต่างกันหรือไม่
สำหรับที่ฟูจิฟิล์มเค้าหยุดการศึกษารับอาสาสมัครเพิ่มในการศึกษาก็เพราะว่าเมื่อมีการระบาดของโอไมครอนผู้ป่วยหายเองเป็นส่วนใหญ่อาการไม่หนักทำให้แผนการศึกษาที่วางไว้จะไม่เห็นผลตามที่คาดประมาณไว้ จึงหยุดรับอาสาสมัครเพิ่มค่ะ รวมทั้งเมื่อมียาโมลนูพิราเวียและ paxlovid เข้ามาซึ่งเป็นตัวเลือกในการรักษาที่น่าสนใจกว่าจึงคงจะไม่อยากลงทุนต่อในการศึกษาแล้วเพราะน่าจะสู้ผลิตภัณฑ์อื่นไม่ได้
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
- 69432 views