แพทยสภาจัดบรรยายโครงการ “หมอชวนรู้” มุมมองแพทย์กับปัญหาอุบัติเหตุจราจร แก้ไขได้อย่างไร
เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2565 แพทยสภาจัดการบรรยายพิเศษในโครงการ “หมอชวนรู้” ครั้งที่ 1 เรื่อง “อุบัติเหตุจราจร แก้ไขได้อย่างไรในมุมมองการแพทย์” ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เปิดการประชุมว่า เป็นความโศกเศร้าของครอบครัวคุณหมอกระต่าย และเป็นความสูญเสียของวงการแพทย์ เพราะเป็นหมอจักษุวิทยา และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีไม่ถึง 50 คน ไม่ว่าเป็นใครในประเทศไทยไม่ควจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บนท้องถนนเพราะเป็นทางม้าลายที่ควรปลอดภัยสำหรับคนข้าม
ทั้งนี้ แพทยสภาได้มีการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การจราจร เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญศาสตร์นี้ โดยมีภารกิจ 1.ดูแลรักษาฟื้นฟูผู้บาดเจ็บจากการจราจร สอนให้มีทักษะประเมินให้ความเห็นและรับรองสมรรถนะ รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ขับขี่ที่อาจจะมีต่อสมรรถนะการขับขี่ทางบ ทางเรือ ทางอากาศ และทางรางก่อนที่จะออกใบอนุญาตรวมถึงต่อใบอนุญาตตามกรอบกฎหมายแต่ละด้าน 2.สอนให้มีทักษะด้านการเฝ้าระวัง สอบสวนโรคภัยสุขภาพ และกระทำ Health Project โดยเฉพาะการสอบสวนอุบัติเหตุการจราจรต่าง ๆ 3.สอนให้มีทักษะด้านการบำบัดวินิจฉัยในระยะเบื้องต้น ประสานการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บาดเจ็บ เน้นการประเมินสมรรถภาพรวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ขับขี่ ทุกครั้งที่มีการสูญเสียซึ่งสังคมสนใจและหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จะเป็นคลื่นกระทบแล้วหายไป แพทยสภาพจึงให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจทั้งแพทย์ประชาชนเพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัยอย่างป็นรูปธรรม และมีระบบกำกับติดตามผลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ด้าน นพ.อำนวย กาจีนะ นายกสมาคมเวชศาสตร์การจราจร กล่าวว่า เหตุการณ์สูญเสียคุณหมอกระต่ายเป็นปัญหาความสมดุลทางคุณภาพระบบความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ในทางสากลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน จะให้ความสำคัญ 4 กลุ่มหลักที่ต้องตระหนักความสมดุลของคุณภาพที่เท่าเทียม คือ 1. คนขับรถ 2.คนขี่มอเตอร์ไซต์ 3..ผู้ขี่จักรยาน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า 3 กลุ่มแรกคือ 4.คนเดินเท้า หลายประเทศเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญว่านโยบายประเทศให้ความสำคัญความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนอย่างไร แม้ 3 กลุ่มแรกดีอย่างไร หากกลุ่มผู้ใช้ถนนยังถูกละเลย ยังไม่มีนโยบาย มีระบบดูแลความปลอดภัย แสดงว่าความสมดุล ด้านคุณภาพของผู้ใช้ถนนทั้ง 4 ประเภทยังไม่อยู่ในลักษณะที่สมดุลพอ
“เรื่องนี้ต้องมองผ่านมาตรการที่หลากหลาย คงไม่ใช่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว หลายส่วนก็มีการพูดว่าถึงเวลาที่จะต้องผลักดันให้เกิดกฎหมายคนเดินเท้า เพื่อใช้เป็นกรอบให้กับผู้ดูแลกฎหมายในแต่ละระดับ และสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้คนเดินเท้า เพราะคนเดินเท้าเป็นกลุ่มสำคัญแต่ยังมีความชัดเจนน้อยมากในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติในเรื่องการพัฒนาสร้างเสริมความปลอดภัย นอกจากนี้ ท้องถิ่นก็มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำดูแลถนนหนทาง ออกแบบถนนให้เหมาะสมกับการจัดการของท้องถิ่น” นพ.อำนวย กล่าว
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า การสูญเสียบนท้องถนนที่เกิดขึ้นทุกวัน จะเห็นถึงแบบแผนบางอย่างยังเหมือนเดิม คือ ขับมาด้วยความเร็ว มองไม่เห็นคนข้าม ไม่เห็นข้างหน้าเป็นทางม้าลาย เห็นรถชะลอข้างหน้าจึงขับขวาแซงเลย เป็นแบบแผนที่พบประจำจนเป็นปกติของคนไทย เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องหาแนวทางแก้ไขอาจจะด้วยกฎหมายจัดการอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงจากแบบแผนเหล่านี้ เมื่อไล่เลียงแบบแผนหรือความูญเสียที่เกิด เหมือนภูเขาน้ำแข็ง ยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ ภาพใหญ่ของการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เรามีคนตายรวมแต่ละปีก่อนโควิด 2 หมื่นกว่าราย ปีที่แล้วมีการระบาดโควิดลดลงเหลือ 1.7 หมื่นราย เฉลี่ยวันละ 48-49 คน ในจำนวนนี้ 6-8% หรือ 800-1,200 รายเป็นคนเดินถนน และ1ใน4เป็นลักษณะการเดินข้ามถนนทั้งข้ามทางม้าลายและไม่ข้ามทางม้าลาย หรือเฉลี่ยปีละ 300-400 คน แต่ที่มองข้ามไม่ได้คือ 5% เฉลี่ยหลักหมื่นคนบาดเจ็บรุนแรงจนพิการ
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวด้วยว่า แบบแผนสำคัญที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องเร่งแก้คือ 1.กายภาพที่ไม่ชัดเจน ทำอย่างไรให้ทางม้าลายถูกเห็นชัดเจนด้วยสัญญาณด้วยป้ายด้วยไฟ อีกอย่างหลายจุดของทางม้าลายมีหลายช่องจราจร ทำให้การข้ามมีจุดบอดบดบังสายตาระหว่างที่ข้าม อย่างเช่นกรณีคุณหมอกระต่ายที่มีด้านละ 3 เลน 2.คนขับมาเร็วไม่ชะลอ ไม่รู้ หรือฝ่าฝืน คนฝ่าฝืนและมักชนส่วนใหญ่เป็นมอเตอ์ไซต์ 3.คนเดินไว้ใจทางม้าลายเกินไปคิดว่าคงหยุด แต่รถไม่หยุด หรือบางเคสถูกดึงสมาธิเช่นดูมือถือหรือหยอกล้อแต่มีไม่มาก อย่างไรก็ตามโจทย์ใหญ่รากภูเขาน้ำแข็ง ฐานคิดที่ควรตั้วหลักให้ดี หากเรายอมรับว่าคนมีโอกาสผิดพลาด เหมือนเวลาขับรถลืมคาดเบล แต่โดยเทคโนโลยีสมัยนี้ด้วยข้อผิดพลานมีระบบเตือน แต่หลายเรื่องของทางม้าลายข้อผิดพลาดทางม้าลาย เรายังไม่มีจุดป้องกันรัดกุมพอ
นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า ทางออกเรื่องนี้ต้องหันกลับมาวางระบบแห่งความปลอดภัยเพื่อลดความสูญเสีย เช่น จัดการความเร็ว จัดการตัวถนน จัดการตัวรถ ยานพาหนะ และจัดการตัวคนทั้งผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนน ทั้งนี้ต้องสะท้อนข้อมูลสู่สังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การป้องกันเหตุและความสูญเสีย หนุนกระแสสังคมทำให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และ.ระยะยาว ออกกฎหมายจำกัดความเร็ว สร้างการเรียนรู้ในเด็กและเยาวชน อย่างเช่นสิงค์โปร์ ที่สอนเด็กมองซ้ายขวาและยกมือก่อนข้ามถนน
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิภสภา กล่าวว่า การแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องเริ่มจากการผลักดันให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายจราจราอย่างจริงจัง เพราะการละเลยไม่เข้มงวด นำไปสู่การคุ้นชินของสังคม โดยเฉพาะการไม่ต้องจอดรถให้คนข้ามทางม้าลาย แต่คนข้ามต้องหยุดให้รถผ่านทางม้าลายไปก่อน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่บังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งสร้างความตระหนักให้ผู้ใช้ถนนทั้งผู้ขับขี่และผู้เดินเท้ามีควารู้สึกและรับผิดชอบร่วมในการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาของ WHO ด้านการป้องกันการบาดเจ็บ กล่าวว่า กล่าวว่า การเสียชีวิตของคุณหมอกระต่ายจะต้องเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อความปลอดภัยของคนเดินถนนในสังคม โดยผลักดันวัฒนธรรมการหยุดรถให้คนเดินข้ามตรงทางข้าม ขับขี่รถไม่เกิน 30 กม./ชม.ในเขตชุมชนเมือง ตามข้อแนะนำในแผนโลกเพื่อความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก 2021 บังคับใช้กฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดจริงจัง ปลูกฝังสร้างวินัยเด็กเยาวชน ประชาชนให้ข้ามถนนอย่างปลอดภัยข้ามถนนบนทางท้าลาย และหยุดรถให้คนเดินข้ามผ่านระบบการศึกษาและการรณรงค์ทุกช่องทาง และปรับเปลี่ยนทางข้ามทุกแห่งทั่วประเทศให้ได้ตามแบบมาตรฐานทางข้าม ไม่ใช่แค่ทางม้าลาย
- 264 views